การศึกษาสถานการณ์ภาวะซึมเศร้าของแม่หลังคลอดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่

Incidence of postpartum depression, Health Promotion Hospital, Chiang Mai

ผู้แต่ง

  • โกวิท เป็งวงศ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่
  • รวีวรรณ วังพฤกษ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่
  • นันทวัน จันทร์ตา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่
  • วราพร สุภา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่
  • กฤษณา กาเผือก ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่
  • เดชา ทำดี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด, แม่หลังคลอด, สถานการณ์ภาวะซึมเศร้าของแม่หลังคลอด

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าของแม่หลังคลอดในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่1 เชียงใหม่ เก็บข้อมูลจากแม่หลังคลอดที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่ ซึ่งคัดเลือกแม่หลังคลอดที่สามารถพูดคุยสื่อสารภาษาไทยและสามารถอ่านภาษาไทยได้ จำนวน 125 คน เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563 - กุมภาพันธ์ 2564 ผลการศึกษาพบว่าข้อมูลทั่วไป กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 27.7 ปี มีสัญชาติไทย นับถือศาสนาพุทธ อาชีพรับจ้าง รายได้ระหว่าง 5,001 – 10,000 บาทต่อเดือน ส่วนใหญ่อยู่ด้วยกันกับสามี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีสิทธิการรักษาพยาบาลประกันสังคม และไม่มีโรคประจำตัวหรือโรคเรื้อรัง ข้อมูลประวัติการตั้งครรภ์กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 80 ไม่มีประวัติการแท้งบุตร ร้อยละ 45.6 เป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรก ร้อยละ52 มีจำนวนบุตรปัจจุบันทั้งหมด 1 คน มีการฝากครรภ์ครบ ไม่มีโรคหรือภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ ไม่มีประวัติการดื่มสุรา สูบบุหรี่ และการใช้สารเสพติดระหว่างตั้งครรภ์ สามีไม่เข้าร่วมโครงการเฝ้าคลอด
ร้อยละ 58.4 ข้อมูลการคลอดพบว่ากลุ่มตัวอย่างคลอดปกติ ร้อยละ 69.6 อายุครรภ์ขณะคลอดส่วนใหญ่มี
อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ขึ้นไป เพศทารกร้อยละ 57.6 เป็นเพศชาย น้ำหนักแรกคลอดอยู่ระหว่าง 2,500 – 3,800 กรัม ทารกร้อยละ76.8 ไม่มีปัญหาตัวเหลืองและปัญหาสุขภาพอื่นๆ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 92.8 ไม่มีปัญหาแทรกซ้อนในระยะหลังคลอด และส่วนใหญ่มีผู้ช่วยเหลือดูแลบุตรหลังคลอด ข้อมูลจากแบบบันทึกภาวะซึมเศร้า ไม่มีความเครียดจากการดูแลบุตร ไม่มีภาวะซึมเศร้าของแม่หลังคลอด และกลุ่มตัวอย่างได้รับการจำหน่ายจากโรงพยาบาลพร้อมทารกหลังคลอด กระบวนการให้บริการก่อนกลับบ้านพบว่า คำแนะนำที่กลุ่มตัวอย่างได้รับมากที่สุดร้อยละ 100 คือ เรื่องการส่งเสริมให้ทารกได้รับนมแม่ การบีบเก็บน้ำนม และได้รับคำแนะนำเรื่องการแจ้งเกิดบุตร หลังกลับบ้านเมื่อติดตามพบว่า เรื่องที่มีการให้คำแนะนำมากที่สุดร้อยละ 100 คือ เรื่องการประเมินและดูแลสุขภาพทารกแรกเกิด ครอบคลุมการดูแลสายสะดือ และการประเมินภาวะแทรกซ้อนของมารดาและทารก กลุ่มตัวอย่างพึงพอใจระบบบริการ  ของโรงพยาบาลในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.45

สรุปผลการศึกษาสถานการณ์ภาวะซึมเศร้าของแม่หลังคลอดที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่1เชียงใหม่ จากคำแนะนำที่ให้และการเอาใจใส่จากเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่องสร้างความพึงพอใจและมีความเชื่อมั่นในการเลี้ยงดูทารกจึงมีเพียงความเครียดจากการดูแลบุตรตามภาวะปกติทั่วๆไป แต่ไม่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด และหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลกลับไปอยู่ที่บ้านระบบบริการในการติดตามเยี่ยมก็สร้างความพึงพอใจให้แม่หลังคลอดในระดับมาก

References

กรมสุขภาพจิต,สถาบันราชานุกูล. มอบความสุขนี้ให้แม่ : Happiness for Mom. ข่าวแจกสถาบันราชานุกูล. [ออนไลน์]. (10 สิงหาคม 2560.) [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 1 สิงหาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก https://th.rajanukul.go.th

Jennifer HH, Taylor CH and Itzel A. Economic and Health Predictors of National Postpartum Depression Prevalence: A Systematic Review, Meta-analysis, and Meta-Regression of 291 Studies from 56 Countries. Frontiers In Psychiatry[Internet]. 2018 February[cited 2020 July 10]; 8:248. Available from: https://doi.org/10.3389/fpsyt. 2017. 00248

Brenda LB, Jean YK, Shanna C, Denise VD, Lee W, Suzanne F, et al. Vital Signs: Postpartum Depressive Symptoms and Provider Discussions About Perinatal Depression-United States. Morbidity and Mortality and Weekly Report [Internet]. 2020 May [cited 2020 Jan 10]; 69(19):575–81, Available from: https://www.cdc.gov/mmwr/volumes/69/wr/ mm6919a2.htm?s_cid=mm6919a2_w

Huong TTN, Anh PH, Ly TKDo, Stephen S and Huyen THN: The Rate and Risk Factors of Postpartum Depression in Vietnam From 2010 to 2020: A Literature Review. Frontier in Psychology[Internet]. 2021 Oct [cited 2021 Dec 3]; Available from: https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fpsyg.2021.731306/full.

มติชนออนไลน์ [อินเทอร์เน็ต].กรุงเทพฯ:สำนักงาน;2560.เตือน ‘แม่หลังคลอด’ 3 เดือนเสี่ยงซึมเศร้ารุนแรง เปิดวิธีสังเกต พร้อมแนวทางช่วยเหลือ;2560[เข้าถึง เมื่อ 28 มิย. 2563]; [ประมาณ 10.00 น.]. เข้าถึงได้จากhttps://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_624247.

กรมอนามัย, สำนักส่งเสริมสุขภาพ.. คู่มือเยี่ยมบ้านเพื่อดูแลและป้องกันภาวะซึมเศร้าในมารดาเพื่อลูกรักพัฒนาการสมวัยพร้อมเรียนรู้สำหรับจิตอาสาครอบครัว. (พิมพ์ครั้งที่ 1). ซีจี ทูล จำกัด; 2562.

Letourneau N, Stewart M, Dennis CL, Hegadoren K, Duffett-Leger L, Watson B. Effect of home-based peer support on maternal-infant interactions among woman with postpartum depression: a randomized controlled trial. ใน: คชารัตน์ ปรีชล. ภาวะซึมเศร้าหลัง คลอด การป้องกันและการดูแล. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2559 ปีที่9; ฉบับที่2: ก.ค.-ธ.ค.59. น.6(24-38).

Justine S, Germain H, Patrick E, Jean-Yves R, Olivier B. Consequences of maternal postpartum depression: A systematic review of maternal and infant outcomes. Womens Health (Lond) [Internet]. 2019 Apr [cited 2021 Nov 3]; v15. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6492376/

Lowdermilk DL. Postpartum complications: postpartum psychologic complication. ใน: สุวรีย์ เพชรแต่ง และคชารัตน์ ปรีชล. การพัฒนาและประเมินผลแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในชุมชนตำบลหลักหก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2564 ปีที่ 14; ฉบับที่ 2: ก.ค.-ธ.ค.64. น.207-21

วรัญญา ทรัพย์เจริญ, พิชชนันท์ อุยยานุกูล และรัศมน กัลยาศิริ.ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดและการได้รับควันบุหรี่มือสองระหว่างตั้งครรภ์ของหญิงหลังคลอดบุตร .Chulalongkorn Medical Bulletin [อินเทอร์เน็ต]. March- April 2019 [เข้าถึงเมื่อ 10 ก.ย. 2563];1(2):167-75.เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org›article›download.DOI:10.14456/chulamedbull.2019.15.

Hoang TO. Factors predicting postpartum depression among women in Hai Phong City, Vietnam[Internet] [The Master Degree of Nursing Science]. Chonburi: Burapha University ;2015 [cited 2021 Dec 10]. Available from: http://digital_collect.lib.buu.ac. th › dcms › files

WHO, Report of the UNFPA meeting. Maternal mental health and child health and development in low and middle income countries; 30 January - 1 February 2008; Geneva, Switzerland. Available from: https://apps.who.int › rest › bitstreams › retrieve

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/12/2022

ฉบับ

บท

บทความวิจัย