ความรู้ และความเชื่อด้านสุขภาพ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกัน ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่
บทคัดย่อ
ภาวะโลหิตจาง ถือเป็นความผิดปกติทางระบบเลือดที่พบได้บ่อยที่สุดในหญิงตั้งครรภ์ และมีรายงานความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของมารดา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ และความสัมพันธ์ของความรู้และความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะโลหิตจาง ในหญิงตั้งครรภ์ที่มาตรวจเลือดครั้งที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ หญิงตั้งครรภ์ที่มาตรวจเลือด ครั้งที่ 2 ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนสิงหาคม 2563 จำนวน 182 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน
ผลการศึกษา พบว่า หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 26 - 30 ปี (ร้อยละ 34) มีการฝากครรภ์ ครั้งแรกที่อายุครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ (ร้อยละ 70.3) และส่วนใหญ่การศึกษาในปริญญาตรีขึ้นไป (ร้อยละ 41.2) และได้เข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่คุณภาพ (ร้อยละ 44.5) โดยหญิงตั้งครรภ์มีความรู้ ในการป้องกันภาวะโลหิตจางอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 70.9 (ค่าเฉลี่ย = 8.29 , SD = 1.32 ) ความเชื่อด้านสุขภาพทุกด้านอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย = 64.23, SD = 4.73) และพฤติกรรมในการป้องกันภาวะโลหิตจางอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย = 26.92, SD = 1.94 ) สำหรับการศึกษาความสัมพันธ์ของความรู้และความเชื่อต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะโลหิตจาง พบว่า มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05, r = 0.172 และ p-value < 0.01, r = 0.299 ตามลำดับ) และเมื่อเปรียบเทียบ ความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันภาวะโลหิตจาง ระหว่างกลุ่มที่มีภาวะโลหิตจางและไม่มีภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์จากผลการตรวจเลือดครั้งที่ 2 พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน
งานวิจัยนี้ สนับสนุนให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านนโยบายแม่และเด็กดำเนินงานโรงเรียนพ่อแม่คุณภาพของกระทรวงสาธารณสุขให้ในสถานบริการทั้งในภาครัฐและเอกชนอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นย้ำเรื่องการให้ความรู้เรื่องการป้องกันภาวะโลหิตจาง ผลจากการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันภาวะโลหิตจางที่เหมาะสมในหญิงตั้งครรภ์ได้
คำสำคัญ: ความรู้, ความเชื่อด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันภาวะโลหิตจาง, หญิงตั้งครรภ์, ภาวะโลหิตจาง
References
2. ชลธิชา ตานา และชเนนทร์ วนาภิรักษ์. ภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์. . [อินเตอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก:
https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/index.php?option=com_content&view=article&id=1372:2017-10-25-02-02-
3. ดาราวรรณ มณีกุลทรัพย์, อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ, สุพัฒน์ อาสนะ. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์เขตอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2563; 3: 1-12.
4. เนตรนารี ศิริโสภา. ผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก คลินิกฝากครรภ์โรงพยาบาลแก่งคอย จังหวัดสระบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร;2557.
5. ธีราภรณ์ บุณยประภาพันธ์, ศิริวรรณ แสงอินทร์, สุพิศ ศิริอรุณรัตน์. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับฮีมาโตคริตในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2561; 26: 40-50.
6. มนัสมีน เจะโนะ. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้เพื่อลดภาวะโลหิตจางต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์มุสลิม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สงขลา:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2555.
7. มณีรัศมิ์ พัฒนสมบัติสุข, สุวรรณี กอวิวัฒนาการ, ศิริพันธุ์ ศิริพันธุ์.ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ในจังหวัดยะลา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2563;13(1): 56-72.
8. ยามีละ มุซอ.ความเชื่อด้านสุขภาพและบริบททางสังคมวัฒนธรรมที่มีผลต่อการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางในจังหวัดนราธิวาส (การค้นคว้าแบบอิสระมหาบัณฑิต). เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; เชียงใหม่. 2551.
9. ลลิตวดี เตชะกัมพลสารกิจ, กรรณิการ์ กันธะรักษา, นันทพร แสนศิริพันธ์. วิธีการส่งเสริมการป้องกันภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์ : การทบทวนอย่างเป็นระบบ. พยาบาลสาร 2561;45:62-74.
10. วรพิณ วิทยวราวัฒน์. ผลของโปรแกรมการรับรู้ความเสี่ยงของทารกในครรภ์ต่อภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กของหญิงตั้งครรภ์. [อินเตอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 2 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก:
http://203.157.229.18/ptvichakarn61/index_doc.php?docgroup=01
11. วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ, กนิษฐา ไทยกล้า และคณะ. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2559.
12. แวนูรียะห์ แวบือราเฮ็ง, วรางคณา ชัชเวช, สุรีย์พร กฤษเจริญ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมบริโภคอาหารและยาเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางของหญิงตั้งครรภ์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์2562;11:15-28.
13. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. รายงานอนามัยแม่และเด็ก ปี 2560-2563. [อินเตอร์เน็ต]. 2564.
[เข้าถึงเมื่อ 7 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก:https://www.chiangmaihealth.go.th/cmpho_web/add_article.php
14. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือ แนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการในคลินิกฝากครรภ์ สำหรับบุคลากรสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระราชูปถัมภ์; 2558.
15. Becker, M.H. (). The health belief model and personal health behavior. Health Education Monographs 1974;2:324-473.
16. Cunningham, F. G., Leneno, K. J., Bloom, S. L et al. Williams obstetrics (24th ed.). New York. McGraw-Hill; 2014.
17. Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M. A. Health promotion in nursing practice
(4th ed.). New Jersey. Pearson Education; 2006.
18. Scholl TO, Hediger ML, Fischer RL, Shearer JW. Anemia vs iron deficiency: increased risk of preterm delivery in a prospective study. Am J Clin Nutr 1992;55:985-8.
19. The world bank. World Health Statistics: Prevalence of anemia amongpregnant women [Internet]. 2019 - [cited 2020 Feb 13]. Available from:https://data.worldbank.org/indicator/
20. Umesh Kumar Yadav, Prabesh Ghimire, Archana Amatya, and Ashish Lamichhane. Factors Associated with Anemia among Pregnant Women of Underprivileged Ethnic Groups Attending Antenatal Care at Provincial Level Hospital of Province 2, Nepal. Hindawi [Internet]. 2021 [cited 2021 June 16]. Available from: https://www.hindawi.com/journals/anemia/2021/8847472
21. World Health Organization [WHO]. The global prevalence of anaemia in 2011. S Geneva. WHO Document Production Services; 2015.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.