ผลของการให้ความรู้ด้านการฟื้นฟูทางกายภาพบำบัดที่บ้านแก่ผู้ดูแลต่อความรู้ของผู้ดูแลและความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในเขตอำเภอ สันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ศุภานันท์ โพทะยะ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พรเพ็ญ ศิริสัตยะวงศ์ ภาควิชากิจกรรมบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, การฟื้นฟูทางกายภาพบำบัดที่บ้าน, การฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้าน, ผู้ดูแลผู้ป่วย, ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน

บทคัดย่อ

การศึกษาแบบกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้ความรู้ด้านการฟื้นฟูทางกายภาพบำบัดที่บ้านแก่ผู้ดูแลต่อความรู้ของผู้ดูแลและความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 56 คู่ คือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและผู้ดูแล เครื่องมือในการวิจัย มี 2 ส่วน คือ แบบสอบถาม และโปรแกรมการให้ความรู้ ซึ่งแบบสอบถามประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและผู้ดูแล แบบทดสอบความรู้สำหรับผู้ดูแลเกี่ยวกับกายภาพบำบัดที่บ้านที่พัฒนาโดยผู้วิจัยและดัชนีบาร์เทลแบบประยุกต์ ส่วนโปรแกรมให้ความรู้ด้านการฟื้นฟูทางกายภาพบำบัดที่บ้านเป็นการให้ความรู้ด้วยการบรรยาย การสาธิตและการปฏิบัติ พร้อมให้คู่มือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยที่พัฒนาโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยความถี่และร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบทีแบบจับคู่ ผลการศึกษาพบว่าระดับความรู้ด้านการฟื้นฟูทางกายภาพบำบัดที่บ้านของผู้ดูแลหลังโปรแกรม เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และพบว่าความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลังโปรแกรมที่ 3 เดือนและ 6 เดือนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p < 0.05)   การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นเห็นว่า การให้ความรู้ด้านการฟื้นฟูทางกายภาพบำบัดที่บ้านแก่ผู้ดูแลช่วยเพิ่มเพิ่มความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้

References

1. นิพนธ์ พวงรินทร์.โรคหลอดเลือดสมอง. พิมพ์ครั้งที่ 2 .กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์; 2544.
2. Maozaffarian D, Benjamin E, Arnett DK, Blaha MJ, Cushmam M. Executive summary: Heart disease and statistics-2016 Update A Report from the American Heart Associaton . Cirulation 2016; 133: 447-457.
3. World Health Organization. Health Topics: Stroke, Cerebrovascular accident. 2017 [เข้าถึงเมื่อ 23 มิถุนายน 2563]; 20: 97-110. เข้าถึงได้จาก: http://www.who.int/topics /cerebrovasculat_accident/en
4. บรรณฑวรรณ หิรัญเคราะห์. คู่มือการฟื้นฟูสมรรภภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสำหรับญาติที่ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ; 2551.
5. สายใจ นกหนู, จุฑามาศ ทองบุญ และ มณีภรย์ ปกสวัสดิ์. การพัฒนาโปรแกรมให้ความรู้ในการทำกายภาพบำบัดแก่ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง.นราธิวาส; วารสารวิชาการแพทย์เขต 11; 2560.
6. ธิดารัตน์ อภิญญา และ นิตยา พันธุเวทย์. ประเด็นสารรณรงค์วันอัมพาต ปี 2554. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 9 มิถุนายน 2563]: 13-18. เข้าถึงได้จาก: http:// www.thaincd.com/document/file/news/announcement/strokeday_54_update27sep54.pdf
7. Duncan P, Richard L, Wallace D: A randomized, controlled pilot study of a home-based exercise program for individuals with mild and moderate stroke. 2009; 29: 2055-2060.
8. กมลทิพย์ หาญผดุงกิจ. การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. กรุงเทพฯ: งานตำราวารสารและสิ่งพิมพ์ สถาบันเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2547: 59-73
9. เจียมจิตร โสภณสุขสถิต. ภาวะสุขภาพด้านร่างกาย ภาวะซึมเศร้า และการดูแลที่ได้รับที่บ้านของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. สงขลา: (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2544
10. นพวรรณ ผ่องใส. ผลของการดูแลตามระยะเปลี่ยนผ่านต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. เชียงใหม่: (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2552
11. ชื่นชม ชื่อลือชา. การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. กรุงเทพฯ: ธรรมศาสตร์เวชสาร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2555, 12(1), 97-111.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/24/2021