การคุมกำเนิดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น ในเขตสุขภาพที่ 1

ผู้แต่ง

  • ไพลิน เชิญทอง ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่
  • สุมาลี สายบุบผา ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่

คำสำคัญ:

การคุมกำเนิด, การตั้งครรภ์วัยรุ่น, เขตสุขภาพที่ 1, การตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น

บทคัดย่อ

การตั้งครรภ์วัยรุ่นเป็นปัญหาสำคัญทั่วโลก ซึ่งส่งผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพแม่วัยรุ่นและทารก การคุมกำเนิดจึงเป็นวิธีการป้องกันปัญหาได้ แต่พบว่าวัยรุ่นมีการคุมกำเนิดในสัดส่วนที่ต่ำ ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายให้วัยรุ่นได้รับการคุมกำเนิดฟรีก็ตาม การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการคุมกำเนิดที่เคยใช้ก่อนตั้งครรภ์และเหตุผล การวางแผนคุมกำเนิดหลังคลอดบุตรที่จะเลือกใช้และเหตุผล และเหตุผลในการเลือกใช้หรือไม่ใช้ยาฝังคุมกำเนิดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นในเขตสุขภาพที่ 1 จำนวน 385 คน

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่าง อายุระหว่าง 10-19 ปี ส่วนใหญ่เป็นคนไทย ร้อยละ 80.75 เป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรกแรก ร้อยละ 87.53 สาเหตุเกิดจากความไม่ได้ตั้งใจที่จะตั้งครรภ์ ร้อยละ 56.10 เนื่องจากไม่ได้คุมกำเนิด เกิดความผิดพลาดในการคุมกำเนิด การคุมกำเนิดก่อนการตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างเคยการคุมกำเนิด ร้อยละ 61.04 โดยเลือกวิธีกินยาเม็ดคุมกำเนิด รองลงมาคือใช้ถุงยางอนามัย เนื่องจากหาซื้อง่าย การวางแผนคุมกำเนิดหลังคลอดบุตร กลุ่มตัวอย่างเลือกที่จะคุมกำเนิด ด้วยวิธียาฝังคุมกำเนิด ร้อยละ 53.24 รองลงมาคือ ยาฉีดคุมกำเนิด  ร้อยละ 33.24 เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดได้นาน และได้รับการสนับสนุนฟรีจากภาครัฐ แต่กลุ่มตัวอย่างที่ไม่ใช้ยาฝังคุมกำเนิด เพราะต้องการที่จะคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น กลัวผลข้างเคียงของยา และมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการฝังยาคุมกำเนิด ผลการศึกษาครั้งนี้เป็นประโยชน์สำหรับบุคลากรทีมสุขภาพ ที่จะนำผลการวิจัยไปใช้ในการออกแบบกิจกรรมเสริมสร้างความรอบรู้ในการคุมกำเนิดของวัยรุ่น และเว้นช่วงการตั้งครรภ์ในการมีบุตรคนที่ 2 เพื่อลดปัญหาการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น และลดผลกระทบด้านต่างๆ ที่จะตามมา

References

1. World health/teen-pregnancy/trends.htm Health Organization (WHO). Trend in teen pregnancy and child baring. [online]. 2013 [cited 17 Jan 2018]. Available from: https://www.hhs. gov/ash/oah/adolescent-development/reproductive-health-and-teen-pregnancy/teen-pregnancy-and-childbearing /trends/index.html
2. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชนปี 2561. [ออนไลน์]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 17 มกราคม 2561]. เข้าถึงได้จาก : http:// rh.anamai.moph.go.th/main.php?filename=index
3. Health Data Center (HDC). ข้อมูลบริการสาธารณสุข. [online]. 2019 [cited 15 Feb 2019]. Available from: https://hdcservice.moph. go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=1ed90bc32310b503b7ca9b32af425ae5.
4. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย. ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ พ.ศ. 2560-2569 ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559. [ออนไลน์]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 17 มกราคม 2561]. เข้าถึงได้จาก : http://rh.anamai.moph. go.th/main.php? filename=index เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2561
5. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย. การจัดบริการคุมกำเนิดของโรงพยาบาลในประเทศไทย พ.ศ. 2558. [ออนไลน์]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 17 มกราคม 2561]. เข้าถึงได้จาก : http://rh.anamai. moph.go.th/download/all_file/index/FP%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C.pdf
6. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. การสนับสนุนค่าบริการคุมกำเนิดกึ่งถาวรในวัยรุ่นตามแผนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่นภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. 2557;เลขที่ สปสช.3.18.9/00239. หนังสือราชการ
7. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการจัดการอบรมเรื่องเพศคุยได้ ในครอบครัว. 2558; พิมพ์ครั้งที่4. นนทบุรี: ศูนย์สื่อ และสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม;
8. บรรพจน์ สุวรรณชาติ และประภัสสร เอื้อลลิตชูวงศ์. อายุมารดากับผลของการคลอด. Srinagarin Medical Journal. 2550; 22(4): [เข้าถึงเมื่อ 17 มกราคม 2561]. เข้าถึงได้จาก : http://www. Smj.Ejnal.com.
9. Boardman, L. A., Allsworth, J., Phipps, M. G. & Lapane, K. L. Risk Factors of Unintended
Versus Intended Rapid Repeat Pregnancy among Adolescents. Journal of Adolescent Health. 2006; 39(597): e1-597.e8.
10. สุวิทย์ เด่นศิริอักษร. อุบัติการณ์การตั้งครรภ์และภาวะแทรกซ้อนของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นในโรงพยาบาลหนองคาย. จุฬาลงกรณ์เวชสาร. 2551; 52: 321-30.
11. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. รายงานเฝ้าระวังการตั้งครรภ์แม่วัยรุ่น พ.ศ. 2562. [ออนไลน์]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 17 มกราคม 2563]. เข้าถึงได้จาก : http://rh.anamai.moph.go.th
12. Omar, H. A., Fowler, A. & McClanahan. K. K. Significant Reduction of Repeat Teen Pregnancy in a Comprehensive Young Parent Program. Journal of Pediatric and Adolescent Gynecology. 2008; 16: 77-81.
13. เปรมยุดา นาครัตน์ และรัตน์ศิริ ทาโต. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ แรงจูงใจ และทักษะในการ คุมกำเนิดกับพฤติกรรมการคุมกำเนิดของนักเรียน อาชีวศึกษาหญิงวัยรุ่นในเขตภาคใต้ตอนบน. วารสารพยาบาล. 2556; 62(3): 29-36.
14. Chaw, E. P. Knowledge, attitude and practice of combined oral contraceptives (COCS) among Myanmar migrant married women of reproductive age at Ranong province in Thailand. Master thesis. Bankok: Faculty of Public Health Chulalongkorn University; 2010
15. นฤมล ทาเทพ และรัตน์ศิริ ทาโต. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการคุมกำเนิดของนักเรียนอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพ, 2557; 30(2): 1-11
16. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย. การจัดบริการคุมกำเนิดของโรงพยาบาลในประเทศไทย พ.ศ. 2558. [ออนไลน์]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 17 มกราคม 2561]. เข้าถึงได้จาก : http://rh.anamai. moph.go.th

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/24/2021