ผลของการทำสปาหลังคลอดต่อการไหลของน้ำนม ระดับความเจ็บปวด ระดับความรู้สึกผ่อนคลาย และภาวะสุขภาพของมารดาหลังคลอด ในโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่
คำสำคัญ:
การไหลของน้ำนม, ระดับความเจ็บปวด, ความรู้สึกผ่อนคลาย, การประเมินภาวะสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนการไหลของน้ำนม ระดับคะแนนความเจ็บปวด ระดับคะแนนความรู้สึกผ่อนคลายและการประเมินภาวะสุขภาพของมารดาหลังคลอด ระหว่างการทำสปา 3 ครั้งและ 5 ครั้ง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ มารดาหลังคลอดที่คลอดปกติ 7 วัน จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบประเมินการไหลของน้ำนม, แบบประเมินความเจ็บปวด, แบบประเมินระดับความรู้สึกผ่อนคลายและแบบประเมินภาวะสุขภาพของมารดาหลังคลอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้สถิตินอนพาราเมตริก Wilcoxon Signed Ranks Test ผลการศึกษาพบว่า
1) ค่าเฉลี่ยของระดับคะแนนการไหลของน้ำนมและค่าเฉลี่ยระดับความเจ็บปวดเต้านม ระหว่างการทำสปา 3 ครั้ง ไม่แตกต่างกับการทำสปา 5 ครั้ง
2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความเจ็บปวดแผลฝีเย็บในการทำสปา 3 ครั้ง มี (Mean Rank = 3.00) มีค่าสูงกว่าการทำสปา 5 ครั้ง (Mean Rank = 0.00) และค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้สึกผ่อนคลาย (Mean Rank = 10.21) มีค่าสูงกว่าการทำสปา 5 ครั้ง (Mean Rank = 9.40) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3) ค่าเฉลี่ยของคะแนนการประเมินภาวะสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างมารดาหลังคลอด ในการทำสปา 3 ครั้ง (Mean Rank = 9.00) มีค่าน้อยกว่าการทำสปา 5 ครั้ง (Mean Rank = 12.14) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการทำสปา 3 ครั้ง สามารถบรรเทาความเจ็บปวดเต้านมและช่วยเพิ่มการไหลของน้ำนมให้ดีขึ้น ไม่แตกต่างกับการทำสปา 5 ครั้ง แต่ระดับความเจ็บปวดแผลฝีเย็บ ความรู้สึกผ่อนคลายและการประเมินการมีภาวะสุขภาพที่ดีของมารดาหลังคลอด ระหว่างการทำสปา 3 ครั้งและ 5 ครั้ง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
2. เทียมศร ทองสวัสดิ์. การพยาบาลในระยะหลังคลอด. โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2534,52-54
3. วิไลพรรณ สวัสดิ์พาณิชย์และตติรัตน์ สุวรรณสุจริต. การดูแลและส่งเสริมสุขภาพหญิงในระยะคลอดและทารกแรกเกิด. มหาวิทยาลัยบูรพา พิมพ์ครั้งที่ 3 ชลบุรี : โรงพิมพ์ศรีศิลปการพิมพ์; 2546,48-49.
4. กฤติกา ธรรมรัตนกูลและกัญญาณัฐ สิทธิภา. ความอ่อนล้าในวงจรการมีบุตรและบทบาทพยาบาล. พยาบาลสาร. 2562; 46 (1),231
5. กลุ่มพัฒนาอนามัยแม่และเด็ก. ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเพิ่มน้ำนมแม่หลังคลอด บทความวิชาการ ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา. [เขาถึงเมื่อ 11 ธันวาคม 2563] เขาถึงไดจาก: http://hpc9.anamai. moph.go.th/main.php?filename=page_mom.
6. สุนันทา แหล่งสะท้าน. การอยู่ไฟคืออะไร. บทความวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. 2563
7. ศิรินันท์ ตรีมงคลทิพย์และคณะ. การดูแลมารดาหลังคลอดด้วยการอยู่ไฟ. วิทยาศาสตร์ในการแพทย์แผนไทย. สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตปทุมธานี. 2588,8-15.
8. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์. อัตราค่าบริการสาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการหมวดที่ 15 ฯ กรมบัญชีกลาง. [เขาถึงเมื่อ 11 ธันวาคม 2563] เขาถึงไดจาก: http:// dmsic.moph.go.th/index/detail/4790
9. Cohen J. Statistical power for the behavioral sciences. New York: Academic Press ;1977.
10. รศ.ดร.นันทพร แสนศิริพันธ์และคณะ. รูปแบบการให้บริการสปาล้านนาสำหรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ. กลุ่มวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.2563
11. ชุติมาพร ไตรนภากุลและคณะ. ผลของการไหลของน้ำนมในหญิงหลังคลอดที่ถูกนวด-ประคบ เต้านมด้วยกระเป๋าน้ำร้อนและลูกประคบสมุนไพร. วารสารพยาบาลและการศึกษา. 2555; 3(3),75-91.
12. กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคงและคณะ. การประเมินและการจัดการความปวดจากการคลอดด้วยกรอบแนวคิด RAT Model. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี. 2559; 27 (1), 160-169.
13. โรงพยาบาลหริภุญชัยเมโมเรียล. คู่มือการปฏิบัติตัวมารดาหลังคลอดและการบริบาลทารก. [เขาถึงเมื่อ 12 ธันวาคม 2563] เขาถึงไดจาก: http://www. hariphunchai. net/health.php?id=68
14. Kelly Bonyata. How does milk production work. March 8, 2018. Available from :https://kellymom. com/hot-topics/milkproduction
15. สุวชัย อินทรประเสริฐ. หนังสือคู่มือตั้งครรภ์และเตรียมคลอด. “การอยู่ไฟหลังคลอดและการ อาบ-อบสมุนไพรจำเป็นหรือไม่” กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์รักลูกบุ๊กส์ ; 2559,378-383.
16. กฤษณา ปิงวงศ์และกรรณิการ์ กันธะรักษา. การนวดเต้านมเพื่อส่งเสริมการสร้างและการหลั่งน้ำนมพยาบาลสาร. 2560;44 (4)169-176.
17. อมรินทร์ ชะเนติยัง. ผลการนวดและประคบเต้านมเพื่อกระตุ้นการไหลของน้ำนมในมารดาหลังคลอด โรงพยาบาลภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ.วารสารหมอยาไทยวิจัย. 2561;4(1), 41-52.
18. หน่วยแพทย์ทางเลือก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล. สาระน่ารู้ :การนวดประคบสมุนไพร.[เข้า ถึงเมื่อ 12 ธันวาคม 2563] เขาถึงไดจาก:https://med. mahidol.ac.th/ altern_med/th/km/13may2020-1016
19. กุสุมาลย์ น้อยผาและคณะ. ความพึงพอใจของมารดาหลังคลอดต่อการบริบาลมารดาหลังคลอด ด้วยผดุงครรภ์แผนไทย ในชุมชนป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง.วารสารหมอยาไทยวิจัย. 2562;5(1),35-50.
20. โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร. อบสมุนไพร ให้ปลอดภัย [เขาถึงเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2562]เขาถึงไดจาก: https://www.komchadluek.net/news/knowledge/142112.