การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ในอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • บุญญาพร ติ๊บอุตม์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร. รัตนาภรณ์ อาวิพันธ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร. ปิยะนารถ จาติเกตุ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, ภาคีเครือข่าย, การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ในอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม 2561 โดยในการศึกษาเชิงปริมาณ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงซึ่งเป็นกลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุทั้งหมด จำนวน 200 คน ใน 15 ตำบล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นโดยผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้วเพื่อหาคะแนนเฉลี่ยรวมระดับการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ 4 ด้าน ได้แก่ การวางแผน การปฏิบัติ การตรวจสอบ และการปรับปรุงแก้ไข วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากนั้นเพื่อคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่จะใช้ในการศึกษาเชิงคุณภาพ ได้แบ่งตำบล 15 ตำบลออกเป็น 3 กลุ่มตามปีที่เริ่มเข้าร่วมในระบบการดูแลผู้สูงอายุ และในแต่ละกลุ่มเรียงคะแนนเฉลี่ยรวมของระดับการมีส่วนร่วม เลือกตำบลที่มีคะแนนเฉลี่ยรวมมากที่สุดและน้อยที่สุดในแต่ละกลุ่ม เจาะจงเลือกผู้ให้ข้อมูลซึ่งเป็นกลุ่มผู้นำที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุจาก 6 ตำบล ตำบลละ 4 คน จำนวน 24 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

        ผลการศึกษาเชิงปริมาณ พบว่า ตำบลในกลุ่มที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2559 มีคะแนนเฉลี่ยรวมของระดับการมีส่วนร่วมสูงสุดคือตำบลริมปิง (89.6+0.63) และน้อยที่สุดคือตำบลในเมือง (78.5+0.31) ตำบลในกลุ่มที่เข้าร่วมตั้งแต่ปี 2560 มีคะแนนเฉลี่ยรวมของระดับการมีส่วนร่วมสูงสุดคือตำบลบ้านแป้น (85.9+0.66) และน้อยที่สุดคือตำบลเหมืองจี้ (75.3+0.49) และตำบลในกลุ่มที่เข้าร่วมตั้งแต่ปี 2561 มีคะแนนเฉลี่ยรวมของระดับการมีส่วนร่วมสูงสุดคือตำบลหนองช้างคืน (84.8+0.93) และน้อยที่สุดคือตำบลหนองหนาม (66.9+0.81)

        ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ การมีส่วนร่วมใน 4 ด้านมีกระบวนการต่างๆ ได้แก่ ด้านการวางแผน ซึ่งประกอบด้วย การบริหารด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร และด้านวัสดุอุปกรณ์ พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทหลักในการดำเนินงาน ชมรมผู้สูงอายุและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีบทบาทรอง ในด้านการปฏิบัติ มีการแลกเปลี่ยนระบบข้อมูลสุขภาพ มีระบบส่งต่อและติดตามเยี่ยมบ้านโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ มีกิจกรรมต่างๆ ผ่านชมรมผู้สูงอายุและโรงเรียนผู้สูงอายุ ด้านการตรวจสอบ มีการติดตามการดำเนินงานจากการประชุมผ่านแผนงานโครงการประเมินผลการดำเนินโครงการการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว  และด้านการปรับปรุงแก้ไข ดำเนินงานผ่านการจัดเวทีประชาคมในชุมชนเพื่อหาผลสรุปที่ได้จากการจัดทำโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ และปรับปรุงแก้ไขภายใต้พื้นฐานของบริบทชุมชนที่แตกต่างกัน

References

1. United Nations (UN). World Population Ageing report. Cochrane Database Syst Rev 2015. [cited 2016 Nov]; Available from: URL: http://www.un.org
2. สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.). ประชากรสูงอายุอาเซียน.[อินเตอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: URL: http://www.dop. go.th
3. ปราโมทย์ ประสาทกุล. (2557). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2556. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับชิง, 26-27
4. สัจธรรม พรทวีกุล และจิตราภรณ์ วงศ์คำจันทร์. (2561). การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 8(3), 109-117
5. ปิยะพันธุ์ นันตา. (2553). หนทางแห่งการเข้าสู่การเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุยืนยาว. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
6. ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2552). บูรณาการระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุไทย.พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เจพริ้น 2, 158-178
7. คะนึงนิตย์ สิงห์แก้ววงค์. (2559). การวิเคราะห์สถานการณ์การดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
8. ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านกลาง. การรวมกลุ่มของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ.2561. [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม2562]. เข้าถึงได้จาก: URL:http://www.ratchakitcha. soc.go.th
9. Cohen, J. M., Uphoff, N. T. (1977). Rural Development Participation: Concept andMeasures for Project Design, Implementation and Evaluation. 1st eds. New York: Cornell University, 317
10. ชินวงศ์ ศรีงาม. (2560). รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการเสริมสร้างสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดนนทบุรี. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
11. ศตวรรษ ศรีพรหม. (2556). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาตำบลต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
12. กิตติวรรณ จันทร์ฤทธิ์ และคณะ (2562). รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนแบบมีส่วนร่วมของภาคเครือข่ายชุมชนด้วยกระบวนการพันธกิจสัมพันธ์ตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 14(1), 65-78

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/24/2021