การรับรู้และพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของผู้ปกครองเชื้อชาติไทยและเชื้อชาติจีน ในการส่งเสริมพัฒนาการ ภาวะโภชนาการ ความฉลาดทางอารมณ์ ของเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • นางมณีการณ์ อุตะมะแก้ว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปง ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การรับรู้และพฤติกรรมการการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก, ภาวะโภชนาการ, ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ)

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์และสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Analytic study and cross - sectional) โดยมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการเด็ก ภาวะโภชนาการ และความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Quotient: EQ) ของเด็กปฐมวัยระหว่างเชื้อชาติไทยและเชื้อชาติจีน เพื่อศึกษาพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยและการรับรู้ด้านการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ภาวะโภชนาการ ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ของผู้ปกครองเชื้อชาติไทยและเชื้อชาติจีน และเพื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของพฤติกรรมและการรับรู้การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก ภาวะโภชนาการ ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ระหว่างผู้ปกครองเชื้อชาติไทยและเชื้อชาติจีน ประชากรศึกษา ผู้ปกครอง และเด็กปฐมวัย อายุ 3-5 ปี 11 เดือน 29 วัน จำนวน 264 คน แบ่งเป็น เชื้อชาติไทย จำนวน 126  คน และเชื้อชาติจีน จำนวน 138 คน  เด็กปฐมวัยศึกษาอยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาล/เอกชน ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่  รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามร่วมกับประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ประเมินภาวะโภชนาการโดยใช้กราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโต ของเด็ก อายุ 2 ถึง 5 ปี และ ประเมินความฉลาดทางอารมณ์ของเด็ก 3-5 ปี (ฉบับย่อ) สำหรับพ่อแม่และผู้ปกครอง ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม 2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ผลของความสัมพันธ์ของการรับรู้และพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก ภาวะโภชนาการ ความฉลาด ทางอารมณ์ (EQ) ระหว่างผู้ปกครองเชื้อชาติไทยและเชื้อชาติจีนโดยใช้สถิติ  Chi-square

ผลการศึกษา พบว่า เชื้อชาติมีความสัมพันธ์กับระดับพัฒนาการเด็ก (P < 0.001) ภาวะโภชนาการ
(P < 0.001) และระดับคะแนนความฉลาดทางอารมณ์ด้านดี ด้านเก่ง และด้านสุข (P < 0.001) พฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กของผู้ปกครอง ตลอดจนการรับรู้ด้านการส่งเสริมพัฒนาการ ภาวะโภชนาการ ความฉลาดทางอารมณ์โดยรวม ของผู้ปกครองมีความสัมพันธ์เชื้อชาติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001) เมื่อเปรียบเทียบ ความสัมพันธ์พบว่าพฤติกรรมและการรับรู้การส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยรวมของผู้ปกครองเชื้อชาติไทย
มีความสัมพันธ์ต่อระดับพัฒนาการสมวัย (P < 0.05) ในขณะที่เชื้อชาติจีนมีความสัมพันธ์ต่อระดับพัฒนาการสงสัยล่าช้า (P < 0.01) แต่พฤติกรรมและการรับรู้การส่งเสริมพัฒนาการเด็กของผู้ปกครองเชื้อชาติไทยไม่มีความสัมพันธ์ ต่อระดับโภชนาการน้ำหนักเทียบความสูงของเด็กปฐมวัย (P > 0.05) ในขณะที่พฤติกรรมและการรับรู้การส่งเสริมพัฒนาการเด็กของผู้ปกครองเชื้อชาติจีนมีความสัมพันธ์ ต่อระดับโภชนาการน้ำหนักเทียบความสูงของเด็กปฐมวัย
(P < 0.05)

พฤติกรรมและการรับรู้การส่งเสริมพัฒนาการเด็กของผู้ปกครองเชื้อชาติไทยและผู้ปกครองเชื้อชาติจีนต่างก็มีความสัมพันธ์ ต่อ ระดับความฉลาดทางอารมณ์เด็กปฐมวัย อายุ 3-5 ปี (P < 0.05) เช่นกัน ดังนั้น ควรมีการสนับสนุนให้ผู้ปกครองมีการรับรู้ด้านการส่งเสริมพัฒนาการและพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่เหมาะสม

References

1. ปิยะสกล สกลสัตยาทร.วิกฤตพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย.สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ[ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 24 มิถุนายน 2559].เข้าถึงได้จาก https://www.hfocus.org/content /2016/06/12324.
2. ประสิทธิ์ เขจรจิตร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะโภชนาการต่ำของเด็กวัยก่อนเรียนในอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีที่ 6. 2556; 3 : 168-175.
3. ศิริลักษณ์ พนมเชิง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในเด็กที่มีภาวะพูดช้ากว่าวัย (Delayed Speech) แผนกผู้ป่วยนอก และคลินิก Well Baby แผนกส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลบางละมุง.สาขากุมารเวชศาสตร์ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลบางละมุง.วารสารกุมารเวชศาสตร์. 2556; 1: 44-55.
4. ปรียนุช ชัยกองเกียรติ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการสงสัยล่าช้าของเด็กปฐมวัย. วารสารมหารวิทยาลัยนครินทร์ สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่5. 2561; 2: 161-171
5. จารุณี จตุรพรเพิ่ม. การศึกษาภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์เด็กเล็ก กลุ่มจังหวัดที่ 6 และ7. ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2551
6. จิรนันท์ ไข่แก้ว.(2550). การรับรู้และพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของครอบครัวในชนบท.[การค้นคว้าแบบอิสระ สาธารณสุข ศาสตรมหาบัณฑิต.] เชียงใหม่: มหาวิทยาลัย เชียงใหม่; 2545
7. สุภาวิณี ลายบัว. ความสัมพันธ์ระหว่างการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองกับความรู้ของผู้ปกครอง ในการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ในสถานศึกษา เขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี[วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2554.
8. สุปราณี การพึ่งตน. การเปรียบเทียบการดูแลเรื่องอาหารเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครองที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกัน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. วารสารการพยาบาลพระปกเกล้า ปีที่ 22. 2554; 2 : 15-27.
9. นุสรา โชติชัย. การปฏิบัติพันธกิจของครอบครัวในการอบรมเลี้ยงดูบุตรวัย 1-3 ปี ที่มารดาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม.[วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.
10. สุกัญญา สอนสี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของมารดาในการส่งเสริมการเล่นแก่บุตรวัยก่อนเรียน.คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี ปีที่ 28. 2560:
90-99.
11. ศิริพงศ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา. พัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียน: การศึกษาผลกระทบของปฏิสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดากับบุตร[วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรดุษฏีบัณฑิต].กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.
12. นิรมัย คุ้มรักษา พรพิมล ธีรนันทน์ และศุภรพรรณ ศรีหิรัญรัศมี. สภาวการณ์ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย ปีที่ 22 . 2557; 2: 76-83.
13. สุธรรม นันทมงคลชัย. ครอบครัว การอบรมเลี้ยงดู และพัฒนาการเด็กปฐมวัยในประเทศไทย.วารสารสาธารณสุขศาสตร์ . 2559; 3: 205-210.
14. กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย Developmental Surveillance and Promotion Manual (DSPM). นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านสึก; 2562.
15. สถาบันราชนุกุล กรมสุขภาพจิต. คู่มือดำเนินงานโครงการพัฒนา IQ EQ เด็กวัย 0-5 ปี ภายใต้โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว : เพื่อพัฒนาคุณภาพแม่และเด็กวัย 0-5 ปี.กรุงเทพมหานคร: บริษัท บียอนด์ พับลิสซิ่งจำกัด; 2552.
16. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวง ศึกษาธิการ. การศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์:ความฉลาดทางอารมณ์(Emotion Quotient: EQ). กรุงเทพมหานคร: บริษัทพริกหวานกราฟฟิคจำกัด; 2552.
17. สถาบันราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. พัฒนาการสติปัญญาเด็กปัญญาเด็กไทย IQEQ, กิน กอด เล่น เล่า (2 ก 2 ล) กับลูกอายุ 0 - 5 ปี; 2554.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01/06/2021