ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • จรรยา ธัญน้อม กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน

คำสำคัญ:

ปัจจัย, พฤติกรรม, การส่งเสริมสุขภาพ, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดลำพูน      ศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุจังหวัดลำพูน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการส่งเสริมสุขภาพกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุจังหวัดลำพูน โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ จำนวน 400 คน ขนาดกลุ่มตัวอย่างได้จากการเปิดตารางเครจซี และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale)  3 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการศึกษา พบว่า

  1. ปัจจัยการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดลำพูน โดยภาพรวมและรายปัจจัย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เรียงค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ปัจจัยนำเข้า ปัจจัยเสริม และปัจจัยเอื้อ
  2. พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ จังหวัดลำพูน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านการปฏิบัติตนในภาวะเจ็บป่วย ด้านการบริโภคอาหาร และด้านการจัดการความเครียด ด้านการออกกำลังกาย
  3. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการส่งเสริมสุขภาพกับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ จังหวัดลำพูน มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับปานกลาง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

1. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553 (ทั่วราชอาณาจักร). กรุงเทพฯ:สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2553.
2. ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่. รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุเขตบริการสุขภาพที่ 1 (8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน) ปี 2559. เชียงใหม่: กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1; 2559.
3. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน. รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุจังหวัดลำพูนปี 2559. ลำพูน: ฝ่ายงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน; 2559.
4. กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. ประชากรทะเบียนราษฎร์ 31 ธันวาคม 2560.
5. Health Data Center ประมวลผลเมื่อ 30 กันยายน 2561.
6. Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. Determining Sampling Size for Research Activities. Educational Psychological Measurement 30 (3), 607-608;1970.
7. Pender, N. J. Health Promotion in Nurse Practice (3rded.). CT: Appleton & Lange ; 1996.
8. Green, L.W., & Kreuter, M.W. Health Program Planning an Educational and Ecological Approach. New York:Quebecor World Fairfield;2005.
9. ธีระชัย พรหมคุณและคณะ. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2557; 1 : 102-108.

10. มณฑิญา กงลา และจรวย กงลา. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไฮ. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนาเพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน” ครั้งที่ 2 ณ วิทยาลัยนครราชสีมาอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา (มิถุนายน) 2558; 101-107.
11. กฤษดา พรหมสุวรรณ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุตำบลหนองไม้แก่น จังหวัดฉะเชิงเทรา [วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์; 2560.
12. ภรณี ตังสุรัตน์. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สงอายุในเขตเทศบาลตำบลบางเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุมทรปราการ. [ออนไลน]. 2559. [เขาถึงเมื่อ วันที่ 6 เมษายน 2562]. เขาถึงได้จาก http://www.kmutt.ac.th/jif/public_
html/article_detail.php?ArticleID=149092
13. กมล วิเศษงามปกรณ์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ตำบลไผ่ท่าโพ อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร. [ออนไลน์]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 6 เมษายน 2562]. เข้าถึงได้จาก www.northern.
ac.th/north_research/p/document/file_14926536640.docx
14. ยุภา โพผา, สุวิมล แสนเวียงจันทร์ และทัศนีย์ พฤกษาชีวะ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาปัจจัยเชิงลึกบ้านคลองโยง หมู่ที่ 1. วารสารทหารบก. 2560; ฉบับพิเศษ : 266-275.
15. ชัญญานุช ไพรวงษ์, ชุภาศิริ อภินันท์เดชา, สำเริง แหยงกระโทก, กวี ไชยศิริ และวรัญญู สัตยวงศ์ทิพย์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 2561; 1:380-393.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08/05/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ