ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ ในประชาชนลุ่มแม่น้ำงัด ตำบลแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • อัจฉราพรรณ คำฟอง สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • เกรียงไกร ศรีธนวิบุญชัย ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • เพ็ญประภา ศิวิโรจน์ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ, โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ, ประชาชนลุ่มแม่น้ำงัด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลองชนิดกลุ่มเดียว วัดก่อนและหลัง (one-group before-after)      มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ ในประชาชนลุ่มน้ำงัด ตำบลแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่ได้รับการตรวจอุจจาระด้วยวิธีคาโต้ธิคสเมียร์ แล้วพบไข่พยาธิใบไม้ตับ จำนวน 75 คน โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ ประกอบด้วย กิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคพยาธิใบไม้ตับ สร้างการรับรู้ความเชื่อเรื่องสุขภาพ เล่าประสบการณ์จากญาติที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งท่อน้ำดี และกิจกรรมสัญญาใจ ลด ละ เลิก บริโภคปลาดิบ ใช้เวลาทำกิจกรรม 2 สัปดาห์ๆ ละ 1 วัน ในช่วงเดือนมีนาคม–พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลผลของโปรแกรมด้วยแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired T-test

ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองทันทีและหลังการทดลอง 1 เดือน มีคะแนนของทุกตัวแปรสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) ซึ่งได้แก่ ความรู้โรคพยาธิใบไม้ตับ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับ การรับรู้ความรุนแรงของโรคพยาธิใบไม้ตับ การรับรู้ประโยชน์ในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ ความตระหนักในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ ความตั้งใจในการเลิกบริโภคปลาดิบ และการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพนี้ควรพิจารณาสนับสนุนให้มีการนำไปปรับใช้กับพื้นที่อื่นๆ ที่ประสบปัญหาการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับต่อไป

 

References

1. สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือปฏิบัติงานโครงการควบคุมโรค หนอนพยาธิในโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร.(ออนไลน์). (เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2558). เข้าถึงได้จาก http://thaigcd.ddc.moph.go.
th/knowledges/view/251
2. ไพบูลย์ สิทธิถาวร. บทบาทของพยาธิใบไม้ตับต่อการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดีในสถานการณ์ปัจจุบัน.ศรีนครินทร์เวชสาร. 2548; 20(3): 135-142.
3. ฐิติมา วงศาโรจน์ และคณะ. รายงานผลการศึกษาสถานการณ์โรคหนอพยาธิและโปรโตซัวของประเทศไทย. สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2552.
4. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2554. สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุม โรค กระทรวงสาธารณสุข; 2554.
5. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. ระเบียนรายงานโรคหนอนพยาธิ. กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่; 2557. (เอกสารอัดสำเนา)
6. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอพร้าว. ทะเบียนบันทึกข้อมูลการตรวจหนอนพยาธิ. โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผาแดง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอพร้าว; 2557. (เอกสารอัดสำเนา)
7. แพรเพชร พัฒนะราช. ผลการส่งเสริมพฤติกรรมบริโภคเพื่อป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชนอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ (วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2555.
8. ศิวัชญ์ ทองนาเมือง และรุจิรา ดวงสงค์. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ในตับและโรคมะเร็งท่อน้ำดี ในนักเรียนประถมศึกษา อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัย มข.(บศ.). 2555; 12(2): 80-91.
9. เพ็ญนภา คงศิลา ศุภวติา แสนศกัด์ และจงกลณี ธนาไสย์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้การป้องกันการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับต่อความรู้และการรับรู้ภาวะสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2559; 10(2): 19-28.

10. ศุภกนก หันทยุง. ผลของการใช้โปรแกรมสุขศึกษาเพื่อการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชนกลุ่มเสี่ยง ชุมชนบ้านเหล่าอ้อย หมู่ที่ 5 ตำบลหนองสังข์ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร. 2558; 10(1): 40-53.
11. กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธ์, จักรกฤษณ์ พลราชม, มาสริน ศุกลปักษ์, และคณะ. การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในชุมชนภาคตะวันออกเฉียง เหนือ. กรุงเทพมหานคร: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2557.
12. Panithanang B, Srithongklang W, Kompor P, et al. The Effect of Health Behavior Modification Program for Liver Fluke Prevention among the Risk Group in Rural Communities, Thailand. Asian Pac J Cancer Prev 2018; 19(9): 2673-80.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08/05/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ