ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลของการมีส่วนร่วมต่อกิจกรรมทางสุขภาพที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก 3อ2ส ของประชาชนจังหวัดแพร่

ผู้แต่ง

  • นิพิฐพนธ์ แสงด้วง กลุ่มงานพัฒนางานคุณภาพและรูปแบบบริการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมต่อกิจกรรมทางสุขภาพ,  พฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ 2ส

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับของการมีส่วนร่วมต่อกิจกรรมทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ2ส และศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลของการมีส่วนร่วมต่อกิจกรรมทางสุขภาพ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ2ส ของประชาชนจังหวัดแพร่ กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชน อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดแพร่ จำนวน 400 คน ทำการสุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบ หลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า ที่มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.70-0.93 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง

          ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนจังหวัดแพร่มีระดับการมีส่วนร่วมต่อกิจกรรมทางสุขภาพ อยู่ในระดับปานกลาง ( = 1.89, SD= 0.78) และมีระดับของพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ2ส อยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.59, SD= 0.49) ผลการทดสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุกับข้อมูลเชิงประจักษ์พบว่า มีความสอดคล้องกัน (Chi-Square= 14.01, Chi-Square/df = 2.35, p-value= 0.03, RMSEA= 0.06, CFI= 0.98, TLI= 0.95, SRMR= 0.03)

 

References

1. กนกพร วิสุทธิกุล. พฤติกรรมสุขภาพที่มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจของวัยรุ่นตอนปลาย ในกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2540.
2. อังศินันท์ อินทรกำแหง. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: สุขุมวิทการพิมพ์ จำกัด; 2552.
3. กระทรวงสาธารณสุข. การสาธารณสุขไทย 2554-2558. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2559.
4. กระทรวงสาธารณสุข. การสาธารณสุขไทย 2551-2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2554.
5. Bandura, A. Social Foundation of thought and action. A Social Cognitive Theory. New Jersey: Prentice-Hall; 1986.
6. Fisher, J.D. & Fisher, W.A. (1992). Changing AIDS-risk behavior. Psychological Bulletin. 11(1): 455-474.
7. ภาสินี เข็มทอง. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนวัยทำงานในจังหวัดนครนายก. [วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2546.
8. ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล และสุภาพ ฉัตราภรณ์. การออกแบบการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2553.
9. Kline, R. B. Principles and Practices of Structural Equation Modeling. 2thed. New York : Guilford Press; 2005.
10. Best, J. Research in Education. 4thed. London : Prentice-Hall International; 1981.
11. Hair, Jr. Joseph F.; et al. Multivariate data analysis: A global perspectives. New Jersey : Upper Saddle River; 2010.
12. สุรีย์ กาญจนวงศ์. จิตวิทยาสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. นครปฐม: โรงพิมพ์มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย; 2556.
13. พรทิพย์ หนูพระอินทร์ ชญานิศ ลือวานิช และประพรศรี นรินทร์รักษ์. (2556). การรับรู้สุขภาพ พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. 9(1): 63-87.
14. ปถมาพร พันธุ์อุบล. (2553). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของข้าราชการตำรวจวัยทอง ในจังหวัดชลบุรี. [วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒ: 2553.
15. ศศิธร ภูขยัน. จิตลักษณะและปัจจัยสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของพยาบาล โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. [วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัย ขอนแก่น: 2546.
16. Pender, N.J. Health Promotion in Nursing Practice. 2thed. Connecticut: Appleton & Lange; 1987.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08/05/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ