โครงการต้นแบบตำบลฟันดีเด็ก 0 - 3 ปี ไม่มีฟันผุ เขตสุขภาพที่ 1
คำสำคัญ:
ต้นแบบตำบลฟันดี, ฟันผุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาศักยภาพทันตบุคลากรและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง (2)เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานที่ประสบผลสำเร็จ สามารถเป็นต้นแบบการดำเนินงานหรือ นวัตกรรมการดูแลทันตสุขภาพเด็กปฐมวัยในเขตสุขภาพที่ 1 (3)เพื่อลดอัตราการเกิดโรคฟันผุในเด็ก 0-3 ปี (โดยกำหนดอัตราการเกิดโรคฟันผุไม่เกิน ร้อยละ47.3) เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบจำเพาะเจาะจง (Purposive sampling) คือเด็กที่มีอายุอยู่ในช่วง 0-3 ปี จำนวน 1,995 คน ทันตบุคลากรและภาคีเครือข่าย จำนวน 206 คน ที่อยู่ในพื้นที่ตำบลต้นแบบเขตสุขภาพที่ 1 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยจัดเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยได้แก่ (1) แบบบันทึกข้อมูลสภาวะช่องปากและพฤติกรรมเด็กของสำนักทันตสาธารณสุข (2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (3) ถอดบทเรียนแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา(Content analysis)
ผลการวิจัยพบว่า จากตำบลต้นแบบทั้งหมด 94 ตำบลในเขตสุขภาพที่ 1 พบว่าเด็กกลุ่มเป้าหมายมีฟันผุร้อยละ 19.4 โดยจังหวัดแพร่มีกระบวนการต้นแบบที่ดี ตัวอย่างเช่นตำบลปากกาง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ ซึ่งพบว่าสามารถดำเนินการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยมีกระบวนการดังนี้ (1) มีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและภาคีเครือข่ายได้ครบถ้วน (2) มีแผนการดำเนินงานและมีการติดตามผลการดำเนินงานรวมทั้งการถอดบทเรียน (3) สามารถลดอัตราการเกิดโรคฟันผุในเด็กอายุ 3 ปี หลังจากดำเนินการครบ 3 ปีตามระยะเวลาโครงการพบว่า ปี 2557 มีฟันผุ ร้อยละ 48.3ต่อมามีแนวโน้มลดลงเหลือ ร้อยละ 22.3 ใน พ.ศ. 2559 เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ตามคุณสมบัติของตำบลต้นแบบ และเกิดนวัตกรรมชุมชน ทำให้เกิดการพัฒนากลไกการบริหารจัดการ โดยมี Cup Manager ระดับอำเภอเชื่อมโยงการทำงานจากระดับตำบลสู่ภาพรวมของอำเภอโดยใช้กลไก DHS/DHB และใช้รูปแบบทีมงานสหสาขาวิชาชีพ รวมทั้งการมีส่วนร่วมของภาคีพื้นที่ทำให้มีการดำเนินงานเชิงรุกมากขึ้น ส่งผลให้เด็กในโครงการมีฟันผุลดลง
References
2. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. การทบทวนสถานการณ์ปัญหาและองค์ความรู้ เรื่อง ฟันผุในฟันน้ำนม วิทยาสารทันตสาธารณสุข ฉบับพิเศษ ปีที่ 11 ฉบับที่ 1-2 มกราคม-ธันวาคม 2549
3. สำนักทันตสาธารณสุข ก. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 ประเทศไทย พ.ศ.2555. พิมพ์ครั้งที่ 1 ed. กรุงเทพฯ: สานักงานกิจการ โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2556.
4. ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ แบบรายงานข้อมูลสภาวะทันตสุขภาพ พ.ศ. 2554
5. ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ แบบรายงานข้อมูลสภาวะทันตสุขภาพ พ.ศ. 2555
6. ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ แบบรายงานข้อมูลสภาวะทันตสุขภาพ พ.ศ. 2556
7. ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ แบบรายงานข้อมูลสภาวะทันตสุขภาพ พ.ศ. 2557
8. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย รายงานการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้ง ที่ 7
9. ระวีวรรณ ปัญญางาม , ยุทธนา ปัญญางาม อุบัติการณ์ ของโรคฟันผุ ในฟันน้ำนมเด็กกรุงเทพมหานคร อายุ 7-60 เดือน .ว. ทันต.2535; 42 (1) :1-7.
10. จีระศักดิ์ ทิพย์สุนทรชัย. การศึกษาเปรียบเทียบอัตราการเกิดฟันผุเด็กที่เข้าร่วมโครงการและไม่เข้าร่วมโครงการแม่ลูกฟันดี 102 ปี สมเด็จย่า จังหวัดบุรีรัมย์ วิทยาสารทันตสาธารณสุข ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 ม.ค. –ก.พ. 2551 หน้า 16 – 24.
11. วรางคณา อินทโลหิต และคณะ การศึกษาพฤติกรรมการเลี้ยงดูของผู้ปกครองต่อสภาวะสุขภาพช่อง ปากเด็กก่อนวัยเรียน วิทยาสารทันตสาธารณสุข, ปีที่ 7 ฉบับที่ 1: 2545; 56-69.
12. นิติโชติ นิลกำแหง, ฐิฎิญา สิทธิวงค์ และ ปณิสรา ปรีบุญพูล. ปัจจัยความสำเร็จของงานส่งเสริมทันตสุขภาพเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดชัยภูมิ. วิทยาสารทันตสาธารณสุข ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2551. หน้า
13. ธามพิสิฬฐ์ ตีเมืองสอง และพรทิพย์ คำพอ. การมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของชุมชน : กรณีศึกษาบ้านขมิ้น หมู่ที่ 4 ต.กุดสระ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. ปีที่ 16 ฉบับที่ 4 กันยายน-ธันวาคม 2551. หน้า 873-883.
14. จงกลนีบุญอาษาและพรทิพย์คำพอ. การพัฒนาศักยภาพการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุหมู่ 13 ตำบลบัวใหญ่อำเภอน้ำพองจังหวัดขอนแก่นปี 2555วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2557;6(3): 1-10.
15. ขนิษฐ์ ดาโรจน์. ประสิทธิผลในการป้องกัน โรคฟันผุของฟลูออไรด์วานิช ในเด็กอายุ 9 ถึง 18 เดือน ว. ทันต. สธ. 2551 ; 13(3): 144-157.
16. สิรินันท์ ตั้งอยู่สุขและคณะ. การพัฒนาโปรแกรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองต่อพฤติกรรมการ ดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กก่อนวัยเรียน.นนทบุรี:มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช; 2555