การพัฒนาแนวปฏิบัติการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในห้องคลอด โรงพยาบาลลำพูน
คำสำคัญ:
ภาวะตกเลือดหลังคลอด, แนวปฏิบัติทางการพยาบาล, ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรก และศึกษาประสิทธิผลของแนวปฏิบัติการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในห้องคลอด โรงพยาบาลลำพูนต่ออุบัติการณ์การเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดและภาวะแทรกซ้อน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานในห้องคลอด จำนวน 10 คน 2) กลุ่มมารดาที่มีความเสี่ยงต่อภาวะตกเลือดหลังคลอด จำนวน 798 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการวิเคราะห์มารดาตกเลือดหลังคลอด แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรก และแบบประเมินการใช้แนวทางปฏิบัติการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามประเมิน แนวปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ เชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
- แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรก ประกอบด้วยการดูแล 3 ระยะ คือ 1) ระยะก่อนคลอด ซักประวัติ ประเมินความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด เจาะ CBC และนำ Partograph มาใช้ในการดูแลมารดาคลอด 2) ระยะคลอด สวนปัสสาวะ ติดตามสัญญาณชีพ ตัดฝีเย็บเท่าที่จำเป็น ช่วยคลอดในระยะที่ 3 ของการคลอดทำ Active management of the third stage of labor ใช้ถุงตวงเลือดประเมินการสูญเสียเลือด กรณีมารดาสูญเสียเลือดถึงระดับ 300 มิลลิลิตร ให้เฝ้าระวังภาวะตกเลือดหลังคลอดโดยใช้ 4Tsและ 3) ระยะหลังคลอด
ให้การดูแลหลังคลอด 2 ชั่วโมงแรกในห้องคลอด การนวดคลึงมดลูก การกระตุ้นทารกดูดนมมารดา และการดูแลก่อนย้ายไปหอผู้ป่วยสูตินรีเวช
- ประสิทธิผลของแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรก พบว่า อัตราการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดลดลงจากร้อยละ 3.02 ในปี 2558 เป็น 2.62 ในปี 2559 ไม่พบภาวะช็อกจากภาวะตกเลือดหลังคลอด มารดาถูกตัดมดลูกจากการเสียเลือด และมารดาตายจากภาวะตกเลือดหลังคลอด ในด้านการใช้ แนวปฏิบัติ พบว่า โดยรวมพยาบาลวิชาชีพเห็นด้วยในระดับมากต่อการนำแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกมาปฏิบัติในห้องคลอด โรงพยาบาลลำพูน
ดังนั้น การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรก จึงเป็นแนวทางสำหรับพยาบาลใช้เป็นแนวทางในการดูแลมารดาคลอดที่มีความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด ไม่ให้เกิดภาวะ ตกเลือดหลังคลอด และภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
References
2. World Health Organization. MPS Technical Update Prevention of Postpartum Hemorrhage by Active Management of Third Stage of labor. [Online]. Available from: http://www.who.int/makingpregnancysafer. [Accessed 2015 May 26].
3. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์มารดาและทารกตายในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข; 2558.
4. เขตสุขภาพที่ 1 กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการประชุมวิชาการงานพัฒนาอนามัยแม่และเด็กระดับเขต เขตสุขภาพที่ 1. เชียงใหม่: เขตสุขภาพที่ 1 กระทรวงสาธารณสุข; 2558.
5. สุธิต คุณประดิษฐ์. การตกเลือดหลังคลอด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี; 2555.
6. ธีรพงศ์ เจริญวิทย์ และคณะ. สูติศาสตร์ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา. กรุงเทพฯ: โอเอสพริ้นติ้งเฮาส์; 2551.
7. Feinberg EC, Molitch ME, Enders LK, et al. The incidence of Sheehan's syndrome after obstetric hemorrhage. American Society for Reproductive Medicine. 2005; 84: 975-979.
8. เวชระเบียนห้องคลอด โรงพยาบาลลำพูน. สรุปรายงานการคลอดปีงบประมาณ 2556 - 2559. ลำพูน: โรงพยาบาลลำพูน; 2559.
9. ธัญรดี จิรสินธิปก และคณะ. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2553.
10. ณฐนนท์ ศิริมาศ และคณะ. ระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดในโรงพยาบาลสกลนคร. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2557; 32(2): 37-46.
11. ฉวีวรรณ ธงชัย. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิก. วารสารสภาการพยาบาล. 2548; 20(2): 63-76.
12. Sackett, D.L. Evidence-based Medicine: How to Practice and Teach EBM. New York: Churchill Livingstone; 1997.
13. ศูนย์ความรู้เชิงประจักษ์ในการดูแลทางสุขภาพแห่งประเทศไทย. กิจกรรมสนับสนุนการดูแลสุขภาพโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อพัฒนาการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์. [ออนไลน์]. (2559). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 5 มีนาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก http://portal.nurse. cmu.ac.th/jbicmu/
14. สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. หลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพแนวทางปฏิบัติสำหรับการวิจัยและการประเมินผล (Appraisal of guideline for research & evaluation II). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2556.
15. นววรรณ มณีจันทร์ และอุบล แจ่มนาม. ศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดในระยะแรก โรงพยาบาลราชบุรี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2559; 31(1): 143-155