การศึกษาเปรียบเทียบผลการตั้งครรภ์ในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ ที่มาคลอดในโรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • ทองเหรียญ มูลชีพ โรงพยาบาลลำพูน

คำสำคัญ:

หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย การคลอดก่อนกำหนด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการตั้งครรภ์ในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น (อายุ < 20 ปี) และหญิงตั้งครรภ์วัยผู้ใหญ่ (อายุ 20-34 ปี) กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น  และ หญิงตั้งครรภ์วัยผู้ใหญ่ ที่มาคลอดที่โรงพยาบาลลำพูน ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2560 จำนวน 1722 รายและวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มด้วย Chi square test

          จากการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ พบว่าหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น มีการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ น้อยกว่า (p<0.001) การฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์น้อยกว่า (p<0.001) ค่าดัชนีมวลกายน้อย (BMI < 18.5) มากกว่า (p<0.001) ภาวะโลหิตจางมากกว่า (p<0.001) มีเจ็บการคลอดก่อนกำหนดมากกว่า (p=0.029) พบทารกแรกคลอดมีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 มากกว่า (p=0.018)ทั้งสองกลุ่มส่วนใหญ่คลอดโดยผ่าตัดคลอด 

          ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่าควรมีการวางแผนพัฒนาการดูแลหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นให้เป็นระบบ และบูรณาการการจัดบริการสุขภาพที่เป็นมิตรแก่วัยรุ่นและเยาวชนเกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียน

 

References

1. นภศพร ชัยมาโย และคณะ. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฝากครรภ์ของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น. วารสารการพยาบาล และการดูแลสุขภาพ. 2559; 34 : 106-13.
2. แววดาว พิมลธเรศ. อุบัติการณ์การตั้งครรภ์และภาวะแทรกซ้นของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นในโรงพยาบาลหนองใหญ่จังหวัดชลบุรี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2555; 29 : 301-11.
3. ศรัชฌากาญจนสิงห์, วรรณภา กางกั้น. สถานการณ์การดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ของแม่ที่มีความพันธ์กับภาวะแรกเกิดของทารกในประเทศไทย. ศูนย์อนามัยที่ 6 กรมอนามัย. 2555.
4. บรรพจน์ สุวรรณชาติ, ประภัสสร เอื้อลลิตชูวงศ์. อายุมารดากับผลของการคลอด. [ออนไลน์].2560. [เข้าถึงเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2561]. เข้าถึงได้จาก http://www.smj.ejnal.com
5. สลักจิตร วรรณโกษิตย์. การศึกษาเปรียบเทียบผลการตั้งครรภ์ในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ที่มาคลอดในโรงพยาบาลละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2555; 29 : 283-92
6. ปัญญา สนั่นพานิชกุล, ยศพล เหลืองโสมนภา. การตั้งครรภ์ในหญิงวัยรุ่น:ปัจจัยทางด้านมารดาที่มีผลต่อทารก. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2558; 32 : 148-56
7. ศิริพร เค้าภูไทย. สถานการณ์พฤติกรรมสุขภาพในเด็กและเยาวชน. [ออนไลน์].(ม.ป.ท). [เข้าถึงเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2561]. เข้าถึงได้จาก http://hdl.handle.net/11228/640
8. APA. [Accessed April 16]; American Pregnancy Association-promoting pregnancy wellness: Statistics.2012. http://www.americanpregnancy.org/main/statistics.html.
9. Beth Azar, M.A. (2012). Adolescent Pregnancy Prevention. American Journal of Public Health. 102(10): 1837-41.
10. Geist RR, Beyth Y, Shashar D, Beller U, Samueloff A, Perinatal outcome of teenage pregnancies in a selected group of patients. J Pediats Adolesc Gynecol. 2006; 19 : 189-93.
11. ชมพูนุช ดอกคำใต้.การศึกษาประสบการณ์การ ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น เขตตำบลไม้ยา อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย[วิทยานิพนธ์ ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา; 2555
12. เบญจพร ปัญญายง. การทบทวนองค์ความรู้: การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรมสุขภาพจิต c กระทรวงสาธารณสุข; 2553.
13. สุมาลัย นิธิสมบัติ. การตั้งครรภ์ของมารดาวัยรุ่น[วิทยานิพนธ์ ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2553.

เผยแพร่แล้ว

07/20/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ