การวิจัยพัฒนารูปแบบการดำเนินงานเชิงหุ้นส่วนระหว่างองค์กรสาธารณสุขและสังคม : กรณีการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • นันทนา ปรีดาสุวรรณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน
  • ถาวร ล่อกา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง
  • สุนี ตันติตระการวัฒนา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน

คำสำคัญ:

รูปแบบ , ดำเนินงานเชิงหุ้นส่วน , คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development)  เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานเชิงหุ้นส่วนระหว่างองค์กรสาธารณสุขและสังคมของผู้สูงอายุ และการประเมินความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ โดยใช้การสนทนากลุ่มและเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ประชากร คือ ผู้รับผิดชอบงานผู้สูงอายุและผู้อำนวยการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้รับผิดชอบงานผู้สูงอายุในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 470 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า           5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS ในการหาสถิติขั้นพื้นฐาน และใช้โปรแกรม Smart PLS ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อตัวแปร 

          ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการดำเนินงานเชิงหุ้นส่วนระหว่างองค์กรสาธารณสุขและสังคม กรณีการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ จังหวัดน่าน ประกอบด้วย 1) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ 2) ข้อมูลสารสนเทศ 3) การมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดการดำเนินงานร่วมกัน 4) ความพึงพอใจของการดำเนินงานร่วมกัน 5) ความครอบคลุมการให้บริการด้านสุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจ ส่วนการขับเคลื่อนรูปแบบจะต้องมีองค์ประกอบ        1) ระบบการปฏิบัติงานร่วมกัน 2) การพัฒนาสมรรถนะบุคลากร 3) ระบบสนับสนุน

    

References

1. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2558 กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2558: 3-131.
2. วิพรรณ ประจวบเหมาะ และคณะ. รายงานการศึกษาโครงการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 – 2564) ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2550-2554).
3. กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. ประชากรสูงอายุ : ปัจจุบันและอนาคต.กรุงเทพมหานคร: กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์: 2557.
4. Best, J.W. Research In Education. (2nd ed). Englewood Cliffs. New Jersey: Prentice Hal;1970.
5. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน. เอกสารตรวจราชการรอบที่ 2. น่าน: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน; 2558: 52.
6. Ringle, et al. Smart PLS. URL.https://www. smartpls.com/3.0/. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2561.
7. เบญจพร สุธรรมชัยและคณะ. การสังเคราะห์รูปแบบบริการดูแลผู้สูงอายุ แบบบูรณาการ. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2558; 24(6):1017-29.
8. กัณฑ์กณัฐ สุวรรณรัชภูม์. ภาวะผู้นำกลยุทธ์: รูปแบบของผู้นำยุคใหม่.วารสารบริหารการศึกษา มศว. 2556; 10(18):43-51.
9. Anderson, E., & McFarlane, J. Community as parther: Theory and practice in nursing (6thed.). Philadelphia, PA: Lippincott Williaams & Wilkins, 2011.
10. ชุลีกร ด่านยุทธศิลป์. การสร้างเสริมสุขภาพ หุ้นส่วนสุขภาพ และการเสริมสร้างพลังอำนาจในชุมชน. วารสารพยาบาลสาธารณสุข.2554; 25(3):82-91.
11. Pender, N., Murdaugh, C., & Parson, M.A. Health promotion in nursing practice (6th ed.). Boston: Pearson, 2011.
12. วิภาวี ชูแก้วและคณะ. กระบวนการสร้างหุ้นส่วนสุขภาพเพื่อการดูแลผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อม ชุมชนพิทักษ์ธรรม ตำบลสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มฉก.วิชาการ. 2558; 20(40):53-63.

เผยแพร่แล้ว

07/20/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ