ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายในการสร้างเสริม พฤติกรรมสุขภาพที่ดีสำหรับเจ้าหน้าที่บุคลากรด้านสาธารณสุข
คำสำคัญ:
โปรแกรมปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายเจ้าหน้าที่บุคลากรสาธารณสุขบทคัดย่อ
ที่มาของปัญหา:เจ้าหน้าที่บุคลากรด้านสาธารณสุขเป็นกลุ่มหนึ่งที่มีปัญหาเรื่องพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสม ซึ่งส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ ติดต่อเรื้อรัง
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายในการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ดีสำหรับเจ้าหน้าที่บุคลากรสาธารณสุข
วิธีการวิจัย รูปแบบการวิจัยเป็นแบบกึ่งทดลองโดยทำการศึกษาในเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสันป่าตองที่เข้าโปรแกรมปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายทั้งหมด จำนวน 40 คน และได้ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามก่อนและหลังเข้าโปรแกรม
ผลการศึกษา เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโปรแกรมมีอายุเฉลี่ย 43.48 ปี น้ำหนักเฉลี่ย 62.43 กิโลกรัม ส่วนสูง 159.58 เซนติเมตร ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สถานะภาพสมรส ระดับการศึกษาปริญญาตรี ตำแหน่งงานเป็นพนักงานทั่วไป ไม่สูบบุรี่ ดื่มสุรา และไม่มีโรคประจำตัวร้อยละพฤติกรรมด้านสุขภาพไม่ดีลดลงร้อยละของพฤติกรรมด้านสุขภาพปานกลางและดีเพิ่มขึ้นหลังเข้าโปรแกรมปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายรอบเอวหลังเข้าโปรแกรมปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายลดลงและคะแนนพฤติกรรมด้านสุขภาพหลังเข้าโปรแกรมปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P <0.05 ปัจจัยด้านส่วนสูงมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านสุขภาพ ส่วนอายุ น้ำหนัก เพศ สถานะภาพ ระดับการศึกษา
ตำแหน่งงาน การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา และโรคประจำตัว ไม่มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางที่ P < 0.05
สรุป โปรแกรมปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายสามารถลดรอบเอวและเพิ่มพฤติกรรมสุขภาพด้านดีในเจ้าหน้าที่บุคลากรสาธารณสุขได้
References
2. วันทนีย์ เกรียงสินยศ. องค์ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการสำหรับทุกช่วงวัย. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา; 2559.
3. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือออกกำลังกายและโภชนาการเพื่อสุขภาพ ฉบับประชาชน. กรุงเทพฯ: บริษัทบี.ซี.เพรส (บุญชิน) จำกัด; 2557.
4. วิศาล ฃันธารัตนกุล. การออกกำลังกายในวัยทำงาน. นนทบุรี: กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข; 2546.
5. นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร. องค์ความรู้ทางทฤษฎีพฤติกรรมสุขภาพที่มีผลต่อการออกกำลังกาย. นนทบุรี: สำนักกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
6. เพ็ญนภา มะหะหมัด, อุมาพร ปุญญโสพรรณ, ปิยะนุช จิตตนูนท์. การพัฒนาโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและกิจกรรมทางกายสำหรับสตรีมุสลิมที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร 2559;36:85-98.
7. ณัฐชัย สนธิเณร. พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคกับสภาวะสุขภาพของบุคลากรในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราชจังหวัดสุพรรณบุรี.วารสารวิชาการแพทย์เขต11 2256; 27(3):485-495.
8. เฉลิมพงษ์ ศรีวัชรกาญจน์. คู่มือการดำเนินงานในคลินิก DPAC สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข. นนทบุรี: กองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2554.
9. กัลยา อุรัจนานนท์, สุนารี เลิศทำนองธรรม, ธนัฐพงษ์ กาละนิโย. ประสิทธิผลของคลินิกไร้พุงศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ในการลดนํ้าหนักและลดรอบเอวของผู้รับบริการปีงบประมาณ 2557. วารสารMahidol R2R e-Journal 2558; 2 (2):112-125.
10. วิลาวรรณ สมตน. พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรทางการพยาบาลโรงพยาบาลหลังสวนจังหวัดชุมพร. วารสารวิชาการการแพทย์เขต 112557; 28(1):37-47.
11. เครือวัลย์ เก้าเอี้ยน, กฤตกรณ์ ประทุมวงษ์, กมลมาลย์ วิรัตน์เศรษฐสิน. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของบุคลากรกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. วารสารคณะพลศึกษา 2555; 15(2): 179-192.