การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน IFG ระหว่างกลุ่ม DPAC plus และ Routine Practice คลินิกส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • วิภาพร เตชะสรพัศ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่
  • ศุภฤกษ์ สื่อรุ่งเรือง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่
  • กัลยา อุรัจนานนท์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่

บทคัดย่อ

โรคเบาหวาน เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย เนื่องจากความชุกของโรคปี พ.ศ.2552 และ 2557 มีแนวโน้มเพิ่มสูงเรื่อยๆ จากร้อยละ 6.9 เป็น 8.9 มาตรการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่สำคัญ ในปีงบประมาณ 2560 คลินิกส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ ได้พัฒนารูปแบบ DPAC plus โดยเน้นการปรับพฤติกรรมด้านการกินและกิจกรรมทางกาย โดยบูรณาการกับงานประจำ (Routine Practice)

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือด FPG (Fasting Plasma Glucose) ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน IFG (Impaired Fasting Glucose) ระหว่างผู้ที่เข้าร่วมกระบวนการ DPAC plus และ Routine Practice โดยศึกษาย้อนหลังเชิงวิเคราะห์ (Retrospective analytic study) ใช้ฐานข้อมูลและเวชระเบียนผู้ป่วยนอก คลินิกส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ ระหว่าง ธันวาคม 2559 ถึง กันยายน 2560

กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน IFG ที่เข้าเกณฑ์ในการศึกษา 295 ราย ผู้รับบริการส่วนใหญ่เป็นเพศชาย และมีอายุเฉลี่ย 57.51 ปี ค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกายอยู่ในกลุ่มท้วม ระดับความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ ข้อมูลพื้นฐาน พฤติกรรมการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ระดับความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือด ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลืออของทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างทางสถิติเช่นกัน

การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือด FPG ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน IFG โดยรวมอยู่ที่

 

ร้อยละ 61.36 การถอดบทเรียนจาก Routine practice เป็นสิ่งที่ควรทำเพื่อพัฒนากระบวนการ DPAC plus ที่เหมาะสมกับบริบทเฉพาะของผู้รับบริการกลุ่มเสี่ยงต่อไป

References

1. วิชัย เอกพลากร (บรรณาธิการ). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พศ.2557 .นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสุขภาพ ; 2557.
2. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข.แผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิต พศ 2554 2563.พิมพ์ครั้งที่ 1 โรงพิมพ์สำนักพุทธศาสตร์แห่งชาติ ; 2554
3. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.ADA guideline 2017. [เข้าถึงเมื่อ 7/10/2560] เข้าถึงจาก :
htt://www.dmthai.org/news_and_knowledge/1950
4. Valdes S.Does the new American Diabetes Association definition for impaired fasting glucose improve its ability to predict type 2 diabetes mellitus in Spanish persons? The Asturias Study. [available form https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18249214.]
5. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พศ.2557.พิมพ์ครั้งที่ 1 .กรุงเทพ. หจก.อรุณการพิมพ์ ;2557.
6. Nidhi Bansal. Prediabetes diagnosis and treatment: A review . . [available form https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4360422/ ]
7. Katia Cristina Portero Mclellan and Orther.Therapeutic interventions to reduce the risk of progression from prediabetes to type 2 diabetes mellitus . [available form https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3964168/ ]
8. กัลยา อุรัจนานนท์ กัลยา อุรัจนานนท์ สุนารี เลิศทำนองธรรม ธนัฐพงษ์ กาละนิโย วิทยา บุญยศ ศุภฤกษ์ สื่อรุ่งเรือง .ประสิทธิผลของคลินิกไร้พุง ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ ในการลดน้ำหนักและลดรอบเอวของผู้รับบริการ ปีงบประมาณ 2557. วารสาร Mahidol R2R e-journal .2558 ; 2 : 112-125.
9. Bandura A. Social Foundations of Thought and Action a Social Cognitive Theory ; 1986.
10. Becker, M.H. “Theoretical Models of Adherrence and Strategies for Improving
Adherence “ In S.A. Shumaker, E.B, Schron & J.K.Ockene (Eds.). The handbook of
health behavior change. (p 5-37). Newyork : Springer Publishing.1990.
11. อัมพร ไวยโภคา. การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสันมะนะ ตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน .สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต.คณะสาธารณสุข.มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ ; 2555.
12. ทิพย์สุดา แสนดี. ผลการเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ น้ำหนัก และค่าน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารของกลุ่มเสี่ยงเบาหวานในฃุมชน.วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน .คณะพยายาบาลศาสตร์ .มหาวิทยาลัยบูรพา ; 2559.
13. ธัญญรัตน์ อโนทัยสินทวี . อัตราการพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานและการศึกษาความสัมพันธ์เกี่ยวกับปัจจัยการนอนหลับและระดับกรดยูริคในเลือดกับระดับ HbA1C ในเลือดในผู้ที่มีภาวะ pre-diabetes.สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข . [เข้าถึงเมื่อ 8/10/2560] เข้าถึงจาก http://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4640?locale-attribute=th

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/20/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ