ผลของโปรแกรม DPAC บูรณาการต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพพึงประสงค์ ของผู้สูงอายุที่รับริการ ในคลินิกส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ ปีงบประมาณ 2560
บทคัดย่อ
ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ นำมาสู่ปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญโดยเฉพาะกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การวางแผนป้องกันปัญหาดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตและลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ทั้งนี้พฤติกรรมพึงประสงค์ของผู้สูงอายุ เป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคดังกล่าว คลินิกส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ ในฐานะคลินิกที่พัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพผ่านกระบวนการ DPAC (Dietary and Physical Activity Clinic) จึงสนใจศึกษาเปรียบเทียบผลของพฤติกรรมสุขภาพพึงประสงค์ในผู้สูงอายุระหว่างกลุ่มที่เข้าและไม่เข้าร่วม DPAC
การศึกษานี้เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงวิเคราะห์ (Retrospective analytic study) ในผู้สูงอายุทุกรายที่เข้ามารับบริการอย่างน้อย 2 ครั้งขึ้นไป ระหว่าง ธันวาคม 2559 ถึง พฤษภาคม 2560 จำนวน 753 คน ใช้แบบบันทึกผู้ป่วยนอก ทั้งการซักประวัติการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ แบบประเมินกิจกรรมทางกายระดับโลก (Global Physical Activity Questionnaire version 2; GPAQ) ขององค์การอนามัย และแบบประเมินการกิน ของคลินิกไร้พุง กรมอนามัย การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติเชิงพรรณนา ใช้จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติเชิงวิเคราะห์ ใช้การทดสอบไคสแควร์ (Chi square)
ผลการศึกษา พบว่า มีผู้สูงอายุที่เข้าร่วม DPAC ร้อยละ 43.16 ส่วนใหญ่มาติดตามกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมพึงประสงค์ของผู้สูงอายุโดยรวมและรายข้อตามเกณฑ์ของสำนักผู้สูงอายุ กรมอนามัย ได้แก่ M.E.T. จากกิจกรรมยามว่าง ≥180 M.E.T.
(การออกกำลังกาย) คะแนนการกินอาหารหมวด ก อย่างน้อย 24 คะแนน (อาหารควรกินเป็นประจำ ซึ่งรวมถึงการกินผัก ผลไม้ และน้ำเปล่า) การไม่สูบบุหรี่ และการไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่พบการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ยกเว้นกิจกรรมทางกายโดยรวมและคะแนนการกินหมวด ข (อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง)
สรุปผลการศึกษา พบว่าการได้เข้าร่วม DPAC เพียง 1 ครั้ง ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมพึงประสงค์ของผู้สูงอายุตามเกณฑ์ของสำนักผู้สูงอายุ กรมอนามัย อย่างไรก็ดีการเข้าร่วม DPAC ส่งผลต่อกิจกรรมทางกายโดยรวมที่เพียงพอของผู้สูงอายุได้มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วม DPAC (P=0.029)
References
2. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สังคมผู้สูงอายุ:นัยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ.เข้าถึง15กันยายน 2560 จากhttp//www.Stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/com12/05_01html
3. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข . สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ.ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ; 2557
4. คลินิกส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่1 เชียงใหม่ . แบบบันทึกผู้ป่วยนอก ศูนย์อนามัยที่1 เชียงใหม่ ; 2558.
5. นงพะงา ศิวานุวัฒน์ ชัยรัฒน์ จันทร์ตรี และคณะทำงานคลินิกไร้พุงกรมอนามัย.คู่มือกระบวนการจัดการคลินิกไร้พุง(DPAC)สำหรับสถานบริการสาธารณสุข ระดับรพ.สต.กรุงเทพฯ:ศูนย์สื่อสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม;2557.
6. องค์การอนามัยโลก. แบบประเมินกิจกรรมทางกายระดับโลก. (Global Physical Activity Questionnaire version2;GPAQ).2010.เข้าถึง10มิถุนายน2560จาก www.who.int/chp/steps/resources/GPAQ_Analysis_Guide.pdf.
7. แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรม และพฤติกรรมสุขภาพ .เข้าถึง 10 มิถุนายน 2560จาก Utostore.mogh.go.th/web/e_reports/research/upload/08/20140804101903.doc
8. กรมอนามัย . เอกสารประกอบการประชุมวิชาการและปฏิบัติการเรื่องกิจกรรมทางกาย พฤติกรรมนั่ง นาน และคุณภาพการนอนหลับของคนไทยวัยทำงานระหว่าง วันที่ 25-27 มกราคม 2560 ณ.ชลพฤกษีรีสอร์ท อ.บ้านนา จ.นครนายก
9. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุหลักสูตร70ชั่วโมง. ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ; 2558.