การพัฒนาแบบทดสอบและสร้างเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายที่เหมาะสมกับสามเณร

ผู้แต่ง

  • สิริรำไพ ภูธรใจ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่
  • วรุณยุพา หนันต๊ะ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่
  • อโนชา วิปุลากร ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่
  • กิ่งพิกุล ชำนาญคง ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่

คำสำคัญ:

สมรรถภาพทางกาย เกณฑ์มาตรฐาน    สามเณร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ            1) พัฒนาแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับสามเณร 2) สร้างและจัดทำเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของสามเณร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ สามเณรที่ศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม จ.เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน จำนวน 7,574 รูป และใช้ตารางเทียบขนาดของประชากรกับขนาดของตัวอย่างของ Krejcie และ Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,729 รูป โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายจากโรงเรียนพระปริยัติธรรม 13 แห่ง จากทั้งหมด 51 แห่งระยะเวลาดำเนินการวิจัย ตั้งแต่ตุลาคม 2556 ถึง กันยายน 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับเด็กไทยอายุ 7 – 18 ปี ของกรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พ.ศ.2555จำนวน 4 รายการและแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้น จำนวน 1 รายการ   ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยการหาค่าความเที่ยงตรง (Validity) และความเชื่อถือได้ (Realiability) แล้ว  วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายทุกรายการของสามเณรอายุ 13 – 18 ปี แล้วจึงสร้างเกณฑ์มาตรฐานของสมรรถภาพทางกายแต่ละรายการของแต่ละกลุ่มอายุ โดยใช้คะแนนมาตรฐาน “ที” (T-Score) ผลการวิจัยพบว่าแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับสามเณรอายุ 13 – 18 ปี ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมจังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน ซึ่งประกอบด้วย 5 รายการ คือ ดัชนีมวลกาย ไขมันใต้ผิวหนัง นั่งงอตัวไปข้างหน้า ลุก – นั่ง 60 วินาที และยกเข่าสูงอยู่กับที่ 3 นาที มีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้

 

และได้จัดทำเกณฑ์มาตรฐาน (Norm) สมรรถภาพทางกายทั้ง 5 รายการของสามเณรที่มี อายุ         13 – 18 ปี ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม จ.เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน เพื่อนำไปเผยแพร่ ให้ความรู้แก่ครูและสามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรมจำนวน 59 โรงเรียนให้สามารถดำเนินการประเมินผลสมรรถภาพทางกายและส่งเสริมการออกกำลังกายสำหรับสามเณรได้อย่างอย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป

 

References

1. กลุ่มอนามัยเด็กวัยเรียนและเยาวชน สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือพัฒนาสุขภาพอนามัยสามเณรในโรงเรียนพระปริยัติ.พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: สำนักข่าวพาณิชย์; 2554.
2. สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2554.
3. Krejcie. R. V. & Morgan,D. W. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement;1970. pp.607-610.
4. กองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.คู่มือการทดสอบสมรรถภาพที่สัมพันธ์กับสุขภาพในเด็กอายุ 7-18 ปี.พิมพ์ครั้งที่1.นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2550.
5. กรมพลศึกษา กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา.แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายสำหรับเด็กไทยอายุ 7-18 ปี.พิมพ์ครั้งที่1.เชียงใหม่: สำนักพิมพ์สัมปชัญญะ; 2555.
6. กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย.พิมพ์ครั้งที่7. นนทบุรี. โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ; 2548.
7. กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการตักบาตรให้ได้บุญ.นนทบุรี.โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2548.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/20/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ