การรับรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันภาวะโภชนาการเกิน ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • ปิยนุช พวงมาลัย สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ธารทิพย์ พรหมขัติแก้ว ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การรับรู้ด้านสุขภาพ  พฤติกรรมการป้องกัน  ภาวะโภชนาการเกิน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาในรูปแบบภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Analytic Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการป้องกันภาวะโภชนาการเกิน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการป้องกันภาวะโภชนาการเกิน           กับภาวะโภชนาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษา   ปีที่ 5-6 อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ภาคเรียนที่1       ปีการศึกษา 2559 ในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ เขตอำเภอ    แม่ทา จำนวน 235 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) และสถิติ           ไคสแควร์ (Chi- square) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

ผลการศึกษา พบว่า ภาวะโภชนาการของนักเรียน แบ่งออกเป็น ภาวะโภชนาการสมส่วน ร้อยละ 58.3 ภาวะท้วม ร้อยละ 10.2 ภาวะเริ่มอ้วน ร้อยละ 14.5 และภาวะอ้วน ร้อยละ 17.0 นักเรียนมีการรับรู้ด้านสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 68.5 โดยมีการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโภชนาการเกินอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 53.6 มีการรับรู้ความรุนแรงของภาวะโภชนาการเกินอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 58.3 มีการรับรู้ประโยชน์ในการป้องกันภาวะโภชนาการเกินอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 58.3 มีการรับรู้อุปสรรคในการป้องกันภาวะโภชนาการเกินอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 52.8 และมีแรงจูงใจด้านสุขภาพเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันภาวะ          

โภชนาการเกินอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 77.0      ส่วนพฤติกรรมการป้องกันภาวะโภชนาการเกินในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 77.4 โดยมีพฤติกรรมการกินอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 78.3 และพฤติกรรมการออกกำลังกายอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 49.8

          จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า     การรับรู้ด้านสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันภาวะโภชนาการเกิน และการรับรู้ด้านสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของนักเรียน แต่พบว่าพฤติกรรมการป้องกันภาวะโภชนาการเกินมีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.007 (p <0.05)

 

References

1. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ. สุขภาพคนไทย 2557. พิมพ์ครั้งที่ 1 ed. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2557.
2. ไพบูลย์ พิทยาเธียรอนันต์ และคณะ. ผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพจากภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2554;5(3):287-98.
3. WHO. Obesity and overweight ,December 23, 2015 2015. Available from:http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs311/en/.
4. สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์ เป้าหมาย และตัวชี้วัด กระทรวงสาธารณสุข ประจำปี พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2558.
5. สินีพร ยืนยง กนกพร หมู่พยัคฆ์ นันทวัน สุวรรณธูป. การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. J Nurs Sci. 2555;30(2):91-100.
6. วรรณภา เล็กอุทัย และคณะ. ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคอ้วนในกลุ่มนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2554;5(3):299-306.
7. มินตรา สาระรักษ์ และคณะ. ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนในเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่มีภาวะโภชนาการเกิน กรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2556;4(2):65-85.
8. จุฑารัตน์ ก๋าเครื่อง. โฆษณาขนมขบเคี้ยวทางสื่อโทรทัศน์ที่มีผลต่อการรับรู้และตัดสินใจเลือกบริโภคของเด็ก ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขา วิชาการสื่อสารศึกษาบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2554.
9. Becker et al. 1974 อ้างอิงใน นันทวดี ดวงแก้ว. ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. เชียงใหม่: การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2551.
10. Krejcie and Morgan. Determinigg Sample size for rrsearch Activities.Educational and Psychological Measurement 30. 1970:607-10.
11. สุภาวิดา พริกเล็ก และคณะ. ความรู้ ทักษะการบริหาร และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานอุตสาหกรรมผลิตยางธรมรมชาติ พื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย. Safety and Health. 2558;10(35):มกราคม - มีนาคม 2559

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/19/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ