ประสิทธิผลการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุด้วยค่ากลาง จังหวัดเชียงใหม่
บทคัดย่อ
บทเรียนที่ได้รับจากการดำเนินการพัฒนาบริการ
- การทำงานจะสำเร็จต้องมีการปฏิบัติจริง และทำซ้ำๆ มีการทบทวน ติดตามผลการดำเนินงาน ใช้เครื่องมือ PDCA และปรับแผนให้เข้ากับบริบทของพื้นที่
- ไม่คาดหวังต่อผลสำเร็จ ผลลัพธ์มากเกินไป ทำไปทีละขั้นตอน
- มีการสื่อสารมากขึ้น ใช้การสื่อสารสองทาง ทั้งแบบเป็นทางการคือการชี้แจงในที่ประชุม และไม่เป็นทางการคือพูดคุยในทุกโอกาส สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน
- ใช้สื่อกลาง คือ อสม.และอดีตผู้นำชุมชนที่มีภาวะผู้นำเป็นที่ยอมรับของชุมชน
- ปรับบทบาทเป็นผู้จัดการไม่ใช่ผู้ดำเนินงาน เป็นพี่เลี้ยงให้กับชุมชน/พื้นที่ กลุ่มที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ขับเคลื่อนและดำเนินงาน
- เจ้าหน้าที่ต้องมีความรู้ เกี่ยวกับ ตัวชี้วัด ทฤษฎี กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ เกี่ยวกับงานผู้สูงอายุ
- ยกย่องให้ความสำคัญกับแกนนำผู้นำสูงอายุ
- มีข้อมูลครอบคลุมทุกมิติของผู้สูงอายุ ใช้ข้อมูลร่วมกัน และคืนข้อมูลให้กับพื้นที่
- การมีและใช้ระเบียบข้อบังคับชมรมผู้สูงอายุขึ้นอยู่กับบริบทของชุมชน
- การบริหารจัดการด้านบุคลากร งบประมาณ ของชมรมผู้สูงอายุมีความเข้มแข็ง
ข้อเสนอแนะ
- กระทรวงสาธารณสุขควรประกาศค่ากลางที่คาดหวังสำหรับโครงการสุขภาพของกลุ่มวัยต่างๆ ส่วนกิจกรรมเรื่องการสนับสนุน ควรกำหนดค่ากลางต่อไป งานที่ประกาศจะมี 2 ประเภท คือ งานที่ทุกจังหวัดทำเหมือนกัน และงานที่แต่ละจังหวัดเลือก ให้เหมาะสมกับบริบทของตน
- รวบรวมข้อมูลค่ากลางของความสำเร็จของโครงการสุขภาพกลุ่มวัยต่างๆ ทั้ง 5 กลุ่มวัย ที่ทุกเขต เพื่อเป็นข้อมูลทุติยภูมิสำหรับใช้ในระดับประเทศ
- ควรกำหนดเจ้าภาพหลักการใช้เทคนิคการใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์และค่ากลางในทุกระดับทั้งกระทรวง กรม เขต ศูนย์วิชาการ และจังหวัดเพื่อเชื่อมประสานการทำงานแบบบูรณาการและทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตลอดจนภาคีเครือข่ายอื่นๆทั้งภาครัฐภาคเอกชน และประชาชน
- ควรขยายเทคนิคการใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์และค่ากลางไปยังภาคีเครือข่ายอื่นๆ เช่นกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย เป็นต้น
Downloads
เผยแพร่แล้ว
07/13/2020
How to Cite
ฉบับ
บท
บทความวิชาการทั่วไป/บทความวิชาการพิเศษ