การศึกษาภาวะโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนในโรงเรียน ส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ศูนย์อนามัยที่ 2 พิษณุโลก
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ(Survey Research) เพื่อศึกษาภาวะโภชนาการ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร เก็บข้อมูล โดยการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเพื่อประเมินภาวะโภชนาการและสัมภาษณ์พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียน สุ่มตัวอย่างอย่างง่ายจำนวน 547 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2557 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา พบว่านักเรียนมีการเจริญเติบโตสมวัย ร้อยละ 70.9 รูปร่างสมส่วน ร้อยละ 76.5 เริ่มอ้วนและอ้วนร้อยละ 10.8 ผอมและค่อนข้างผอมร้อยละ 8.4 เตี้ย และค่อนข้างเตี้ย ร้อยละ 6.1 น้ำหนักตามเกณฑ์ร้อยละ 77.0 สำหรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารพบว่า รับประทานอาหารเช้าทุกวัน ร้อยละ 84.4 รับประทานอาหารกลางวันทุกวัน ร้อยละ 82.2 รับประทานอาหารเย็นทุกวัน ร้อยละ 82.4 และรับประทานอาหารก่อนนอนทุกวัน ร้อยละ 15.9 รับประทานไข่ 1-3 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 50.9 รับประทานอาหารประเภทตับหมู ตับไก่ เลือดหมู1-3วันต่อสัปดาห์ร้อยละ 59.4 รับประทานเนื้อสัตว์ติดมันเช่นหมูสามชั้น คอหมู หนังไก่ 1-3วันต่อสัปดาห์ร้อยละ 59.1 รับประทานอาหารที่ทอดในน้ำมันมาก 1-3 วันต่อสัปดาห์ร้อยละ 48.4 เติมเครื่องปรุงที่มีรสเค็มในอาหารที่ปรุงสุกทุกครั้งร้อยละ 10.7 และเติมน้ำตาลในอาหาร เช่น ก๋วยเตี๋ยว ราดหน้าทุกครั้งร้อยละ 38.4 ไม่เติม ร้อยละ 20.5 รับประทานผักทุกวันร้อยละ 46.0 รับประทานผัก3 มื้อต่อวันร้อยละ 49.1 และรับประทานผักมากกว่า 3 ช้อนกินข้าวต่อมื้อ
ร้อยละ 43.4 ดื่มนมรสจืดทุกวันร้อยละ 34.0 ดื่มนมเปรี้ยวมากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 43.9 ดื่มนมปรุงแต่งรสมากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ร้อยละ 22.9 ดื่มน้ำอัดลมดื่มมากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 26.1 ดื่มน้ำหวานหรือน้ำปั่นมากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 29.6 นักเรียนไม่กินลูกอมหรือทอฟฟี่มีเพียง ร้อยละ 27.8 นักเรียนกินขนมกรุบกรอบมากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 52.9
โรงเรียนที่ผ่านการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรไปแล้ว เด็กนักเรียนยังคงมีปัญหาภาวะโภชนาการทั้งในส่วนของน้ำหนักเกินมาตรฐาน ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ และมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีรสหวาน มันและเค็ม ทั้งที่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรมีนโยบายและแนวทางการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพนักเรียนอย่างชัดเจน มีตัวชี้วัดหรือมาตรการควบคุมคุณภาพของอาหารกลางวัน การจัดหรือจำหน่ายอาหารว่างและเครื่องดื่มที่มีรสหวาน มันและเค็มให้แก่นักเรียน แสดงให้เห็นว่าการดำเนินงานดังกล่าวไม่ต่อเนื่อง นักเรียนไม่มีความรอบรู้ทางด้านสุขภาพจึงไม่เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น กระทรวงศึกษา กระทรวงสาธารสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งผู้ปกครองและชุมชน ต้องเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพสู่พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของเด็กวัยเรียน เพื่อให้นักเรียนมีรูปร่างสูงดี สมส่วน ฉลาดและสุขภาพร่างกายแข็งแรง
References
2. สำนักโภชนาการ กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการควบคุมป้องกันภาวะอ้วนในเด็กนักเรียน. สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. พิมพ์ครั้งที่ 1,2557.
3. อรพินท์ ภาคภูมิ และ กันยารัตน์ สมบัติธีระ. การสำรวจสภาวะสุขภาพเด็กวัยเรียนในเขตตรวจราชการที่ 10 และ 12. วารสารศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น ปี 2554; 2 (2),37-48.
4. บังอร กล่ำสุวรรณ์, ปิยะนุช เอกก้านตรง, ไพจิตร วรรณจักร์ และคณะ. การสำรวจภาวะสุขภาพเด็กวัยเรียนในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย. ขอนแก่น. เพ็ญพรินติ้ง จำกัด. ไม่จำกัดปีที่พิมพ์.
5. ศูนย์อนามัยที่ 8นครสวรรค์. โครงการประเมินภาวะสุขภาพประชากรด้านส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อม. นครสวรรค์. ศูนย์อนามัยที่ 8 นครสวรรค์; 2552
6. สุภาพ บูรณ์เจริญ, และเพ็ญนิดา ไชยสายัณห์. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโภชนาการกับสมรรถภาพทางร่างกายของนักเรียนประถมศึกษาโรงเรียนในสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 24. ขอนแก่น. ศูนย์อนามัยที่ 6; 2552. (เอกสารอัดสำเนา)
7. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการคัดกรองส่งต่อและแก้ปัญหาเด็กอ้วน กลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษาสถานบริการสาธารณสุขและคลินิกDPAC. ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา. พิมพ์ครั้งที่ 1, 2558.
8. ช่อแก้ว คงการค้า. การศึกษาภาวะโภชนาการในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร; 2550. [10 มิถุนายน 2555]. Availaber from: URI :http://www.thairath.co.th/content/edu/117835
9. ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์.เลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้อ้วน.กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดล; 2540.
10. ลัดดา เหมาะสุวรรณ. ภาวะโภชนาการขอเด็ก.ใน วิชัย เอกพลากร (บรรณาธิการ), การสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ.2551-2552
(หน้า 103-123). ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์; 2552