การมีส่วนร่วมของแกนนำชุมชนในการจัดทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ งานผู้สูงอายุ ตำบลหนองตอง

ผู้แต่ง

  • สุภัทรา หอมมณี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบวกครก ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่

บทคัดย่อ

การศึกษาการมีส่วนร่วมของแกนนำชุมชนในการจัดทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์งาน ผู้สูงอายุ ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงพรรณนาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของแกนนำชุมชน ประชากรที่ศึกษาเป็นแกนนำชุมชน จำนวน 178 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ตามกรอบแนวคิดขั้นตอนการมีส่วนร่วมของ       โคเฮน และ อัฟฮอฟฟ์ (Cohen & Uphoff, 1980) และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ค่าดัชนีความตรงของเนื้อหาเท่ากับ 1 และหาค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

          ผลการศึกษาพบว่า การมีส่วนร่วมของแกนนำชุมชนในการจัดทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์งานผู้สูงอายุโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยแกนนำชุมชนมีส่วนร่วมสม่ำเสมอทุกครั้ง (100%) (μ=2.13 σ=0.46) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน คือ ขั้นตอนการการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (μ=2.16       σ=0.45) ขั้นตอนการมีส่วนร่วมการปฏิบัติการ (μ=2.15 σ =0.49) ขั้นตอนการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ (μ=2.04 σ=0.63) และขั้นตอนการมีส่วนร่วมในการประเมินผล (μ=2.08           σ SD=0.61) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การดำเนินการโดยใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ในการดูแลผู้สูงอายุได้บรรลุเป้าประสงค์ของแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์เกิด ผลสำเร็จของโครงการโดยชุมชนเป็นเจ้าของ เป็นไปตามแนวคิดการจัดทำและการใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ของชุมชนอย่างแท้จริง สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการการสร้างการมีส่วนร่วม

ของประชาชนและภาคีเครือข่ายในการจัดทำโครงการต่างๆ เพื่อพัฒนางานสาธารณสุข โดยใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ต่อไป

References

1. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
2. วิชัย เอกพลากร. (2553). การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 ในปี 2551-2552. นนทบุรี: เดอะกราฟิโกซิสเต็มส์.
3. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (2554). 2554 ร่วมกันสร้างระบบดูแลผู้สูงอายุไทย. [ออนไลน์]. (เข้าถึงได้เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2554). เข้าถึงได้จาก http://www.cps.chula.ac.th/html_th/pop_base/ageing/ageing_143.htm)
4. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหางดง. (2557). สรุปผลการดำเนินงานการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว. เชียงใหม่: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหางดง.
5. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหางดง. (2557). สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตำบลต้นแบบดูแลผู้สูงอายุระยะยาว. อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่.
6. อมร นนทสุต. (2555). ปัจจัยของความสำเร็จในงานควบคุมโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง. กรุงเทพฯ: ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์.
7. กลุ่มงานสุขภาพภาคประชาชน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. (2552). สรุปการดำเนินการสร้างและการใช้ แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์จังหวัดเชียงใหม่ 2552. สืบค้นจาก
http://bps.ops.moph.go.th/strategy-Map/strategics1.html
8. Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1980). Participation’s place in rural development: Seeking clarity through specificity. World Development, 8(3), 223.
9. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2550). คู่มือหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์.
10. กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. (2550) หลักสูตรการฝึกอบรมมาตรฐานอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ปีพุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ: เรดิเอชั่น.
11. เพ็ญศรี เปลี่ยนขำ. (2542). การสาธารณสุขมูลฐาน. ราชบุรี: ธรรมรักษ์การพิมพ์.
12. สมยศ อำพันศิริ. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพของผู้บริหารสถานศึกษากับการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของชุมชนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 2 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี.
13. อุทัยวรรณ กาญจนกามล. (2541). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในชุมชน. เชียงใหม่ทันตสาร, 19(ฉบับพิเศษ ม.ค.-ธ.ค.), 7-8.
14. นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. (2547). การมีส่วนร่วมหลักการพื้นฐาน เทคนิคและกรณีตัวอย่าง (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: สิริลักษณ์การพิมพ์.
15. จิรพัฒน์ หอมสุวรรณ. (2539). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมของสภาตำบล: กรณีศึกษาสภาตำบลในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม). บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
16. ปาริชาติ วลัยเสถียร. (2543). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักงานสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/13/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ