การบริหารบุคลากรสาธารณสุข เพื่อพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ของประชาชนวัยทำงาน จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • อรนุช ดวงเบี้ย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง
  • วีรวรรณ สุทะคำ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง
  • ณัฏฐ์ฐภรณ์ ปัญจขันธ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง

คำสำคัญ:

การบริหารบุคลากรสาธารณสุข, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ (3อ.2ส.)

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยผสมผสาน โดยเก็บข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการบริหารบุคลากรสาธารณสุข เพื่อพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ของประชาชนวัยทำงาน จังหวัดลำปาง  การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ จากประชาชนวัยทำงาน จำนวน 400 คน ด้วยแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS ในการหาสถิติขั้นพื้นฐาน และนำผลการวิเคราะห์ทั้งระดับความรู้ทางสุขภาพ การเข้าถึงข้อมูล และการปฏิบัติที่ถูกต้อง มาวิเคราะห์หาสาเหตุและผลที่นำมาซึ่งปัญหาสุขภาพตามกรอบแนวคิด PRECEDE-PROCEED ส่วนการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จากบุคลากรสาธารณสุขที่มีผลการดำเนินงานหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ระดับดีเยี่ยม จำนวน 15 คน ด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและการสนทนากลุ่ม และนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ประชาชนวัยทำงานมีความรู้ ความเข้าใจทางสุขภาพที่ถูกต้อง เกี่ยวกับหลักปฏิบัติตนตาม 3อ.2ส. อยู่ในระดับมาก การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. อยู่ในระดับปานกลาง การสื่อสารเพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญทางสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. อยู่ในระดับปานกลาง การจัดการเงื่อนไขทางสุขภาพของตนเองตามหลัก 3อ.2ส. อยู่ในระดับมาก การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศเพื่อสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. อยู่ในระดับปานกลาง การตัดสินใจและเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลัก 3อ.2ส. อยู่ในระดับมาก การมีส่วนร่วมกิจกรรมสุขภาพทางสังคมในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ท่านเคยเข้าร่วมกิจกรรมที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือคนในชุมชนจัดขึ้น อยู่ใน

ระดับปานกลาง การดูแลพฤติกรรมสุขภาพตนเองตามหลัก 3อ.2ส. อยู่ในระดับมาก

  1. การบริหารบุคลากรสาธารณสุข เพื่อการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนวัยทำงาน จังหวัดลำปาง ประกอบด้วย 4 ประเด็น ตามการบริหารทรัพยากรบุคคล ได้แก่ 1) การสรรหาและคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถเข้ามาทำงาน 2) การใช้บุคลากรสาธารณสุขให้เกิดประโยชน์สูงสุด 3) การบำรุงรักษาบุคลากรสาธารณสุขให้อยู่กับองค์กร 4) การพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถ

 

References

1. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. รายงานประจำปี 2558. สำนักกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2559.
2. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง. รายงานผลการดำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพ ปี 2558. เอกสารอัดสำเนา; 2558.
3. WHO. Social determinants approaches to public health: from concept to practice. Malta: WHO; 2011.
4. Rosenstock, I. M., Strecher, V. J. & Becker, M. H. Social Learning Theory and the Health Belief Model. Health Education Quarterly. 1988; 15(2): 175-83.
5. WHO. Health Literacy and Health Promotion.Definitions, Concepts and Examples in the Eastern Mediterranean Region.Individual Empowerment Conference Working Document. 7th Global Conference on Health Promotion Promoting Health and Development. Nairobi, Kenya; 2009.
6. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. การพัฒนาองค์กรและบุคลากร แนวคิดใหม่ในการพัฒนาพัฒนาทรัพยากรบุคคล. กรุงเทพมหานคร: เซนจูรี่; 2547.
7. นภกานต์ ประสาททอง. ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพหน่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมชน เขตภาคตะวันออก[วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2553.
8. นิจนิภา โมคศิธ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จังหวัดยโสธร. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7. 2556; 11(4): 16-29.
9. สมใจ จางวาง, เทพกร พิทยภินัน และนิรชร ชูติพัฒนะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของประชาชนกลุ่มเสี่ยง . วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2559; 3(1): 110-28.
10. วรรณวิมล เมฆวิมล. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาสาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2553.
11. ปิยาพร ห้องแซง. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อความผูกพัน ในองค์กรของพนักงานสาขาธนาคารออมสิน ในเขตกรุงเทพมหานคร[บัณฑิตวิทยาลัย, หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ].นครนายก: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2555.
12. กฤติยา จินตเศรณี. การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ของสายสนับสนุนวิชาการเพื่อรองรับการเป็นมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา. หลักสูตรรัฐประศาสนศาตร มหาบัณฑิต สาขาการบริหารทั่วไป, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา; 2557.
13. ประยงค์ มีผล. ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเสื้อสำเร็จรูป บริษัทไหมทอง จำกัด[สารนิพนธ์. กศ.ม.(จิตวิทยาการศึกษา)]. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2545.
14. ธีรพงศ์ บูรณวรศิลป์. ผลการดำเนินงานการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ตามการรับรู้ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี.วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2553; 21(3): 15-37.
15. กรสรรค์ เอนกศักยพงศ์. กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน[วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/13/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ