การศึกษาประสิทธิภาพการบริหารจัดการการเงินการคลังของโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดลำปาง ปีงบประมาณ 2557 – 2559

ผู้แต่ง

  • รัตนา กฤษฎาธาร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการการเงินการคลัง โรงพยาบาล

บทคัดย่อ

เพื่อพัฒนารูปแบบและประเมินประสิทธิภาพการบริหารการคลังสุขภาพของโรงพยาบาลชุมชนสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในจังหวัดลำปาง

วิธีการ

การวิจัยแบบผสม (Mixed method) แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive study) เพื่อศึกษาสถานการณ์และสภาพปัญหาการบริหารการคลังสุขภาพของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดลำปาง มาพัฒนารูปแบบการบริหารการเงินการคลัง และนำรูปแบบการบริหารการเงินการคลังที่พัฒนาไปใช้ในระยะที่ 2 ซึ่งเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) โดยประเมินประสิทธิภาพการบริหารการคลังสุขภาพของโรงพยาบาลชุมชนสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่งในจังหวัดลำปาง

          คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โรงพยาบาลชุมชน จำนวน 12 แห่ง และคณะกรรมการการเงินการคลังโรงพยาบาลละ     2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบรวบรวมข้อมูลการเงิน และแบบสอบถามความพึงพอใจของคณะกรรมการการเงินการคลัง โดยทุกเครื่องมือผ่านการตรวจสอบความตรงจากผู้เชี่ยวชาญและตรวจสอบความเที่ยงทั้งฉบับมีค่ามากกว่า 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยตัวชี้วัดสภาพคล่องทางการเงินประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากร และเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของคณะกรรมการการเงินการคลังด้วยสถิติ Paired t-test วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

 

          จากแบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interviews) และการสนทนากลุ่ม (Focus group) ด้วย content analysis

ผลการศึกษา

ผลของการศึกษาสถานการณ์และสภาพปัญหาการบริหารการคลังสุขภาพของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดลำปาง ปี 2557 – 2558 ได้นำไปสู่การพัฒนารูปแบบการบริหารการเงินการคลังแบบบูรณาการ โดยนำรูปแบบดังกล่าวไปทดลองใช้ในโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดลำปางทั้งหมดจำนวน 12 แห่ง ในปี 2559

ผลการประเมินด้านประสิทธิภาพการบริหารการคลังสุขภาพพบว่าโรงพยาบาลชุมชนมีสภาพคล่องทางการเงินการคลังดีขึ้นจากปี 2558 โดยโรงพยาบาลชุมชนมีระดับภาวะวิกฤตทางการเงินลดลงจากปี 2558 ร้อยละ 83.33 ส่วนผลการประเมินค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจของคณะกรรมการการเงินการคลังหลังใช้รูปแบบการบริหารการเงินการคลังแบบบูรณาการพบว่ามีค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจสูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรมดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.05

สรุป

รูปแบบการบริหารการเงินการคลังแบบบูรณาการที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการบริหารการคลังสุขภาพในพื้นที่อื่น โดยจะทำให้สถานบริการสามารถบริหารการคลังสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อันจะนำไปสู่เสถียรภาพทางการเงินการคลังที่ยั่งยืน

 

References

1. De Savigny D, Adam T. Systems thinking for health systems strengthening. World Health Organization; 2009.
2. Hughes D, Leethongdee S. Universal coverage in the land of smiles: lessons from Thailand’s 30 Baht health reforms. Health Affairs. 2007 Jul 1;26(4):999-1008.
3. Limwattananon S, Tangcharoensathien V, Tisayaticom K, Boonyapaisarncharoen T, Prakongsai P. Why has the Universal Coverage Scheme in Thailand achieved a pro-poor public subsidy for health care? BMC Public Health. 2012 Jun 22;12(1): S6.
4. ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย. เศรษฐศาสตร์สาธารณสุขในยุคปฏิรูประบบสุขภาพ. พิษณุโลก: ศูนย์วิจัยและติดตามความเป็นธรรมทางสุขภาพ; 2544.
5. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. รายงานการประเมินระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในช่วงทศวรรษแรก (2544-2553). นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2555.
6. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรอบแนวทางการบริการจัดการงบประมาณหลักประกันสุขภาพโดยเครือข่ายบริการสุขภาพระดับเขตของกระทรวงสาธารณสุข. รายงานการบริหารหลักประกันสุขภาพระดับเขต, นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2554.
7. The world health report. Health systems financing: the path to universal coverage. Geneva, World Health Organization, 2010.www.who.int/whr/2010/en/index.html (accessed 12 January 2016).
8. Towse A, Mills A, Tangcharoensathien V. Learning from Thailand's health reforms. BMJ: British Medical Journal. 2004 Jan 8;328(7431):103.
9. Prakongsai P, Limwattananon S, Tangcharoensathien V. The equity impact of the universal coverage policy: lessons from Thailand. InInnovations in health system finance in developing and transitional economies 2009 Jun 11 (pp. 57-81). Emerald Group Publishing Limited.
10. Yiengprugsawan V, Kelly M, Seubsman SA, Sleigh AC. The first 10 years of the Universal Coverage Scheme in Thailand: review of its impact on health inequalities and lessons learnt for middle-income countries. Australasian epidemiologist/Australasian Epidemiological Association.2010 Dec;17(3):24.
11. Somkotra T, Lagrada LP. Payments for health care and its effect on catastrophe and impoverishment: experience from the transition to Universal Coverage in Thailand. Social Science & Medicine. 2008 Dec 31;67(12):2027-35.
12. Hennicot JC, Schloz W and Sakunphanit T. Thailand health-care expenditure projection: 2006-2020. A research report, Nonthaburi, National Health Security Office; 2012

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/13/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ