การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด

ผู้แต่ง

  • ผ่องศรี ปันเปียง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่
  • วันพ็ญ ใส่ด้วง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่
  • สุรัสวดี เวียงสุวรรณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่
  • นันทวัน จันทร์ตา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่

บทคัดย่อ

การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด มีวัตถุประสงค์เพี่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดแผนกสูตินรีเวชกรรม 1-2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ        ศูนย์อนามัยที่ 10 จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการศึกษาแบบ Retrospective descriptive study ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของทารกตัวเหลืองที่ได้รับการส่องไฟในแผนกสูตินรีเวชกรรม 1-2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่10 จังหวัดเชียงใหม่ ที่เกิดตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2555  ถึง 30 กันยายน 2556 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละและความถี่ ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดแผนกสูตินรีเวชกรรม 1-2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 จังหวัดเชียงใหม่ นั้น พบว่าปัจจัยด้านเพศของทารกไม่มีผลต่อการเกิดภาวะตัวเหลือง ถ้าจำแนกตามอายุของมารดา  พบว่าส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุตั้งแต่ 15 ปี          ถึงไม่เกิน 25 ปี ร้อยละ 58.5 ปัจจัยเกี่ยวกับการได้รับนมมารดาตั้งแต่แรกเกิดนั้นพบว่าส่วนใหญ่ไม่ได้รับนมมารดาตั้งแต่แรกเกิด คิดเป็นร้อยละ 55.7 ปัจจัยด้านน้ำหนักแรกเกิด พบว่าส่วนใหญ่น้ำหนักแรกเกิดตั้งแต่ 3,000 กรัม ถึง ไม่เกิน 3,800 กรัม ร้อยละ 44.8 ปัจจัยด้าน Apgar’s score ที่นาทีที่ 5 พบว่าส่วนใหญ่ Apgar’s score ที่นาทีที่ 5 ตั้งแต่ 8 คะแนน ถึง 10 คะแนน ร้อยละ 92.5  ปัจจัยด้านกลุ่มเลือดของแม่ พบว่าส่วนใหญ่ กลุ่มเลือดของแม่ O ร้อยละ 42.9 ปัจจัยด้านจำนวนครั้งของการดูดนมแม่ใน 24 ชั่วโมงก่อนการส่องไฟรักษา พบว่าส่วนใหญ่ จำนวนครั้งของการดูดนมแม่ใน 24 ชั่วโมงก่อนการส่องไฟรักษา 8-10 ร้อยละ 53.4 ปัจจัยด้านจำนวนครั้งของการขับถ่ายอุจจาระใน 24 ชั่วโมงก่อนการส่องไฟรักษา

พบว่าส่วนใหญ่ จำนวนครั้งของการขับถ่ายอุจจาระใน 24 ชั่วโมงก่อนการส่องไฟรักษามากกว่า 3 ครั้ง ร้อยละ 59.0 สำหรับการวินิจฉัยของแพทย์พบว่าส่วนใหญ่เป็น Unspecified ร้อยละ 51.5 รองลงมา คือ Breast milk Jaundice มีร้อยละ 21.2 ซึ่งในกลุ่ม Unspecified นั้นไม่สามารถระบุสาเหตุของตัวเหลืองนั้นได้ ข้อเสนอแนะในการศึกษาวิจัยครั้งต่อไป ควรทำการศึกษาในกลุ่มของ Unspecified และ Breast milk Jaundice ซึ่งในกลุ่ม Unspecified นั้นไม่สามารถระบุสาเหตุของตัวเหลืองนั้นได้ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการดูแลทารกตัวเหลืองในกลุ่มเหล่านี้ต่อไป

References

1. สรายุทธ สุภาพรรณชาติ.อาการเหลืองในทารกแรกเกิด [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.ramacme.org/articles เข้าถึง 24 กุมภาพันธ์, 2557.
2. สรายุทธ สุภาพรรณชาติ. อาการเหลืองในทารกแรกเกิด. ใน : วันดี วราวิทย์, ประพุทธ ศิริปุณย์, สุรางค์ เจียมจรรยา บรรณาธิการ. ตำรากุมารเวชศาสตร์ (ฉบับเรียบเรียงใหม่ เล่ม 2). กรุงเทพฯ: บริษัทโฮลิสติกพับลิชชิ่ง; 2540.
3. พิมลรัตน์ ไทยธรรมยานนท์.ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ชัยเจริญ; 2545.
4. The Academy Of Breastfeeding Medicine : ABM Protocols. Available at: http://www.bfmed.org/protocol/. Accessed August 1, 2014.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/12/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ