การเล่านิทานของพ่อแม่ และผู้เลี้ยงดูเด็กที่มีผลต่อพัฒนาการด้านภาษาของเด็กอายุ 2 ปีที่มารับ บริการในคลินิกเด็กสุขภาพดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่
บทคัดย่อ
ช่วงวัย 6 ปีแรกของชีวิต สมองมีการเรียนรู้อย่างรวดเร็วที่สุด การเล่านิทานหรืออ่านหนังสือให้ลูกฟังนั้นจะช่วยสร้างจินตนาการของลูกได้ส่งผลให้เซลล์สมองของลูกทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ขึ้น
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเล่านิทานของพ่อแม่ และผู้เลี้ยงดูเด็กที่มีผลต่อพัฒนาการด้านภาษา
ผลการศึกษาพบว่า (1) ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลผู้เลี้ยงดูหลักพ่อแม่มีบุตรเป็นเพศชาย ร้อยละ 52.8 อยู่ต่างอำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ ร้อยละ 65.2 เป็นบุตรคนแรก ร้อยละ 60.1 มีบุตร 1คน ร้อยละ 50.6 อายุระหว่าง 31-40 ปีร้อยละ 45.5, 56.2 ปีตามลำดับ จบปริญญาตรี ร้อยละ 25.3, 37.6 อาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 38.2 และ 31.5 รายได้ของครอบครัว อยู่ระหว่าง 10,001-20,000 บาท/เดือน ผู้เลี้ยงดูหลัก คือ แม่ร้อยละ 36 อายุของผู้เลี้ยงดูหลัก อยู่ระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 34.8 การศึกษาของผู้เลี้ยงดูหลักจบปริญญาตรี ร้อยละ 29.8 จำนวนสมาชิกในครอบครัว 4 คนขึ้นไป ร้อยละ 76.4 มีปู่ ย่า ตา ยาย อยู่ในครอบครัวด้วย ร้อยละ51.7 ปู่ ย่า ตา ยาย อ่านหนังสือไม่ออก ร้อยละ 18.5 มีญาติพี่น้องอยู่ร่วมในครอบครัวด้วย ร้อยละ 16.3 (2) พฤติกรรมการเล่านิทานของพ่อแม่ และผู้เลี้ยงดูเด็ก พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูมีการเล่านิทานให้เด็ก ส่วนใหญ่เล่าทุกวัน ร้อยละ 30.9 โดยเล่า วันละ 1 ครั้ง ร้อยละ 22.5 เล่นกับเด็กทุกวัน ร้อยละ 84.8 โดยเล่นวันละ 2 ครั้งร้อยละ 30.3 ร้องเพลงกับเด็ก ทุกวัน ร้อยละ 66.3 โดยร้องเพลงวันละ 1 ครั้ง ร้อยละ 25.8 ผู้เล่านิทานให้เด็ก ส่วนใหญ่ คือ มารดา ร้อยละ 41.1 มีหนังสือนิทาน
อยู่ในปัจจุบัน≤ 3 เล่ม ร้อยละ 50.6 เวลาที่เล่านิทาน คือเล่าทั้งกลางวัน และก่อนนอน ร้อยละ 38.2 ใช้เวลาในการเล่า 11-30 นาที ร้อยละ 43.8 โดยพฤติกรรมการเล่านิทานของพ่อแม่ และผู้เลี้ยงดูเด็ก 3 ลำดับแรก คือ ให้ลูกมีส่วนร่วม ร้อยละ 99.4 ขณะเล่านิทาน มีการสบตา กอด สัมผัสลูก ร้อยละ 97.8 และมีการชมลูก ร้อยละ 95.5 เคยเข้าร่วมกิจกรรมการเล่านิทานในสถานที่ต่างๆ ร้อยละ 9.6 ได้รับความรู้เกี่ยวกับการเล่านิทานจากโรงพยาบาลมากที่สุด ร้อยละ 55.1 มีการเล่านิทานเกี่ยวกับคติสอนใจ การสวดมนต์ การไปวัด ประเพณีไทยต่างๆ ร้อยละ 70.8 เคยอ่านข้อความเกี่ยวกับนิทานในสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก ร้อยละ 68.5 (3) ผลการทดสอบพัฒนาการเด็ก เด็กมีพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้านสังคม และการช่วยตัวเองปกติ ร้อยละ 100 พัฒนาการด้านภาษาปกติ ร้อยละ 99.4 พัฒนาการรวมปกติ ร้อยละ 99.4
References
2. สุขจริง ว่องเดชากุล. รายงานการสำรวจพัฒนาการเด็กปฐมวัย ประจำปี 2550. (เข้าถึงเมื่อ 8 มกราคม 2556).เข้าถึงได้จากhttp://203.157.64.26/ewtadmin/ewt/hp/ewt_dl_link.php?nid=251
3. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่. รายงานผลการดำเนินงานประจำปี พ.ศ. 2554.
4. ศิริกุล อิศรานุรักษ์. สุธรรม นันทมงคลชัย. ดวงพร แก้วศิริ. รายงานการวิจัย โครงการพัฒนาระดับสติปัญญาเด็กวัยต่างๆของประเทศ ระยะที่ 2 การส่งเสริมพัฒนาการด้านการเรียนรู้แก่เด็กโดยครอบครัว และการประเมินผล. นครปฐม: สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล; 2546.
5. กณิการ์ พงศ์พันธุ์สถาพร. พัฒนาการทางการพูดของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการแสดงประกอบการเล่านิทาน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร; 2553.
6. สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. พ่อ แม่ ลูกผูกพันวัยแรกเกิดถึง 2 ขวบ. กรุงเทพฯ: บียอนด์ พัลลิสซิ่ง จำกัด; 2549