ประสิทธิผลการสร้างเสริมสุขภาพชุมชน ( ปปส.) หลังตรวจสุขภาพประจำปี

ผู้แต่ง

  • ธนัฐพงษ์ กาละนิโย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่
  • กัลยา อุรัจนานนท์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่
  • วิทยา บุญยศ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกาย ค่าดัชนีมวลกาย และรอบเอวของบุคลากรป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค 5 การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อน-หลังจำนวน 52 คน โดยใช้โปรแกรมการออกกำลังกาย วัดสมรรถภาพทางกาย ดัชนีมวลกาย รอบเอว ก่อนและหลังเข้าโครงการ ระยะเวลาการศึกษา  18 สัปดาห์

ผลการศึกษาพบว่า

  1. ความจุปอด ความอ่อนตัว ความอดทนของกล้ามเนื้อหน้าท้อง ความอดทนของกล้ามเนื้อหน้าอกและต้นแขน มีความแตกต่างจากก่อนเข้าโปรแกรมการออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
  2. ดัชนีมวลกาย มีความแตกต่างจากก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
  3. 3. ความอดทนของระบบหายใจและไหลเวียนโลหิต ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ รอบเอว ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ

References

1. พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544. [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2556]. เข้าถึงได้จาก www.thailandlawyercenter.com/index.php?lay=show&ac...Id.
2. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, กระทรวงสาธารณสุข, มหาวิทยาลัยมหิดล.แผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย พ.ศ.2554-2563. [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2556]. เข้าถึงได้จาก bps.ops.moph.go.th/THLSP2011-2020/cabinet8march2011/index.html.
3. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือคนไทย....ขยับกับกิน.กรุงเทพฯ: กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2550.
4. สุธน ยุวศิรินันท์, จิรวดี ศะศิรประภา, จุฬาพร ขำดี, วีระพล บุญเรืองโรจน์.ผลลัพธ์ของโครงการ “ศรีประจันต์ รักสุขภาพ” วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม.2551; 1: 119-127.
5. นริศรา งามขจรวิวัฒน์, สภาวลัย ผ่องใส.ผลการใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ Feel fit ต่อการเปลี่ยนแปลงดัชนีมวลกาย รอบเอว และรอบสะโพกของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลปัตตานีปี 2550. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม.2551; 3: 100-108.
6. ลิขิต อมาตคง. วิรุฬท์ เหล่าภัทรเกษม (บรรณาธิการ). กีฬาเวชศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ .พีบี.ฟอเรนบุคส์เซนเตอร์.กรุงเทพมหานคร; 2537.
7. ทัดมนู โพธิสารัตน์. การจัดโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา[วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2549.
8. กฤช ลี่ทองอิน, บรรณาธิการ. คู่มือการทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข.กรุงเทพ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; มปป.
9. ทิพวรรณ เรืองขจร.สุขภาพส่วนบุคคลและชุมชน.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ : หจก.ภาพพิมพ์; 2550.
10. วาสนา ตาลพรรณ.ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสมผสานที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของบุคลากรห้องผ่าตัด.[วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการส่งเสริมสุขภาพ].นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา; 2552.
11. การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข .ข้อแนะนำการออกกำลังกายสำหรับคนอ้วน.กรุงเทพ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2554.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/12/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ