เปรียบเทียบภาวะสุขภาพบุคลากร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เชียงใหม่ ปี 2555 และ 2556

ผู้แต่ง

  • กัลยา อุรัจนานนท์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่
  • ประทิน วิญญรัตน์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่
  • มยุรา ชูจิตร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่
  • มยุรี อิทธิภูวดล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่
  • สุนารี เลิศทำนองธรรม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบภาวะสุขภาพของบุคลากรในโรงพยาบาลในปี 2555 กับปี  2556 โดยศึกษาจากผลการตรวจสุขภาพประจำปี ของบุคลากรทุกระดับ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบตรวจสุขภาพประจำปี ประกอบด้วย เพศ อายุ น้ำหนัก ความสูง เส้นรอบเอว การหาค่าดัชนีมวลกาย ความดันโลหิต ชีพจรและผลการตรวจเลือดหาระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดหลังงดน้ำและอาหาร

การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติร้อยละสถิติเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย (t-test) ผลการศึกษาพบว่า  (1) ดัชนีมวลกายพบว่าปี 2555 มีกลุ่มปกติร้อยละ 42.1 กลุ่มเสี่ยงร้อยละ 48.9 กลุ่มเป็นโรคร้อยละ 9 เปรียบเทียบปี 2556 พบว่ากลุ่มปกติยังเป็นกลุ่มปกติร้อยละ 94.7 กลุ่มปกติกลายเป็นกลุ่มเสี่ยง  ร้อยละ 5.3 กลุ่มเสี่ยงยังคงเป็นกลุ่มเสี่ยงเหมือนเดิมร้อยละ 93.1 กลุ่มเสี่ยงกลายเป็นกลุ่มปกติและกลุ่มเป็นโรคร้อยละ 2.3 และร้อยละ 4.6 ตามลำดับในด้านกลุ่มเป็นโรคยังเป็นโรคเหมือนเดิมร้อยละ 87.5 และกลุ่มเป็นโรคกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงร้อยละ 12.5 (2) เส้นรอบเอวชายปี 2555 พบกลุ่มปกติร้อยละ 81.6 กลุ่มเสี่ยงร้อยละ 18.4 เปรียบเทียบปี 2556 กลุ่มปกติยังเป็นกลุ่มปกติเหมือนเดิมร้อยละ 96.8 กลุ่มปกติกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงร้อยละ 3.2 สำหรับกลุ่มเสี่ยงยังเป็นกลุ่มเสี่ยงเหมือนเดิมร้อยละ 85.7 และกลุ่มเสี่ยงกลายเป็นกลุ่มปกติร้อยละ 14.3 (3) เส้นรอบเอวหญิง        ปี 2555 พบกลุ่มปกติร้อยละ 64.5 กลุ่มเสี่ยง     ร้อยละ 35.5 เปรียบเทียบปี 2556 กลุ่มปกติยังเป็นกลุ่มปกติเหมือนเดิมร้อยละ 86.8 กลุ่มปกติกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงร้อยละ13.2สำหรับกลุ่มเสี่ยงยังเป็นกลุ่มเสี่ยงเหมือนเดิมร้อยละ90และกลุ่มเสี่ยงกลายเป็นกลุ่มปกติร้อยละ 10 (4) ความดันโลหิต 

 

ปี 2555 พบกลุ่มปกติร้อยละ 54.7 กลุ่มเสี่ยง   ร้อยละ 38.5 กลุ่มเป็นโรคร้อยละ 6.8 เปรียบเทียบปี 2556 กลุ่มปกติยังคงปกติเหมือนเดิมร้อยละ 71.4 กลุ่มปกติกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงร้อยละ 28.6 กลุ่มเสี่ยงยังเป็นกลุ่มเสี่ยงเหมือนเดิมร้อยละ 71 กลุ่มเสี่ยงกลายเป็นกลุ่มปกติและกลุ่มเป็นโรคร้อยละ 21.7และร้อยละ 7.3 ตามลำดับสำหรับกลุ่มเป็นโรคยังเป็นกลุ่มเป็นโรคเหมือนเดิมร้อยละ 83.4 กลุ่มเป็นโรคกลายเป็นกลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยงร้อยละ 8.3 (5) น้ำตาลในเลือดปี 2555 พบกลุ่มปกติ 92.2 กลุ่มเสี่ยงร้อยละ 4.5 กลุ่มเป็นโรคร้อยละ 3.3 เปรียบเทียบปี 2556 กลุ่มปกติยังคงปกติเหมือนเดิมร้อยละ 94.4 กลุ่มปกติกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงร้อยละ 5.6 กลุ่มเสี่ยงยังเป็นกลุ่มเสี่ยงเหมือนเดิมร้อยละ 42.8 กลุ่มเสี่ยงกลายเป็นกลุ่มปกติและกลุ่มเป็นโรคร้อยละ 42.8 กลุ่มเป็นโรคยังเป็นกลุ่มเป็นโรคเหมือนเดิมร้อยละ 100 (6) โคเลสเตอรอล ปี 2555 พบกลุ่มปกติ ร้อยละ 33.3 กลุ่มเสี่ยงร้อยละ 64.7 กลุ่มเป็นโรคร้อยละ 2 เปรียบเทียบ ปี 2556 กลุ่มปกติยังคงปกติเหมือนเดิม ร้อยละ 44.2 กลุ่มปกติกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเป็นโรคร้อยละ 51.9 และ   ร้อยละ 3.9 ตามลำดับ กลุ่มเสี่ยงยังเป็นกลุ่มเสี่ยงเหมือนเดิมร้อยละ 84.1 กลุ่มเสี่ยงกลายเป็นกลุ่มปกติ และ กลุ่มเป็นโรคร้อยละ 6.9 และร้อยละ 9 ตามลำดับ สำหรับกลุ่มเป็นโรค ยังเป็นกลุ่มเป็นโรคเหมือนเดิม ร้อยละ 66.7 และกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงร้อยละ 33.3 (7) ไตรกลีเซอไรด์ ปี 2555 พบกลุ่มปกติร้อยละ 82.7 กลุ่มเสี่ยงร้อยละ 14.1 กลุ่มเป็นโรคร้อยละ 3.2 เปรียบเทียบปี 2556 กลุ่มปกติยังคงปกติเหมือนเดิม ร้อยละ 93.8 กลุ่มปกติกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงร้อยละ 6.2 กลุ่มเสี่ยงยังคงเป็นกลุ่มเสี่ยงเหมือนเดิมร้อยละ 27.3 กลุ่มเสี่ยงกลายเป็นกลุ่มปกติ และ กลุ่มเป็นโรคร้อยละ 50 และ ร้อยละ27.7 ตามลำดับ  สำหรับกลุ่มเป็นโรค กลายเป็นกลุ่มเสี่ยงร้อยละ 100 (8) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยภาวะสุขภาพกลุ่มตัวอย่างมีเส้นรอบเอวหญิงเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (sig .05) น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (sig .01) โคเลสเตอรอลเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (sig .01) ความดัน Systolic เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (sig .05)

References

1. กลุ่มงานอาชีวอนามัยเวชกรรม. โครงการตรวจสุขภาพประจำปีบุคลากรโรงพยาบาล หัวหิน [เข้าถึงเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2556] เข้าถึงได้จากhttp://occ.huahinhospital.go.th/data1.php
2. รายงานภาวะสุขภาพบุคลากร. คลินิกส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่.2553,2554.
3. Lemor.P.&Buele.K.M..Medicalsurgical nursing: Critical Thinking in Client care. Nev York: Addision_Wesley . (1996).
4. Pothers, P.A& Perry, A.G. Fundamentals of nursing (5thcd.). Philadelphia: Mosby. (2001).
5. Payne, W.A.& Halen, D.B. Understanding your health. Mosby : Philadelphia:(1995)
6. Williams, S.R. Nutriton and diet therapy (7th ed.). St. Louis : Mosby.(1193)
7. ชูศักดิ์ เวชแพทย์. สรีวิทยาของผู้สูงอายุ กรุงเทพฯ: สุภวนิชการพิมพ์.(2538)
8. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, กระทรวงสาธารณสุข, มหาวิทยาลัยมหิดล .แผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิติไทย พศ.2554-2563. .[เข้าถึงเมื่อ 30 ก.ย.56] เข้าถึงได้จาก htt:bps.ops.moph.go.th/THLSP 2011-2020/sumaporn/index.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/12/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ