ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตจังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • เฉลิม ใจอุ่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, ภาวะสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานด้านสุขภาพในจังหวัดพะเยารวมทั้งผู้เกี่ยวข้อง สามารถจัดทำแผนงานโครงการตามยุทธศาสตร์ด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้สอดคล้องตามสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นในจังหวัดพะเยา โดยทำการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มประชากรได้แก่ข้อมูลของผู้สูงอายุในเขตจังหวัดพะเยา      จากโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 7 แห่ง สถิติที่ใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ

ผลการวิจัยพบว่าในปี พ.ศ. 2558       จังหวัดพะเยามีประชากรทั้งสิ้น476,839 คน         มีผู้สูงอายุจำนวน 81,219 คน คิดเป็นร้อยละ 17.03 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย  เพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยผู้สูงอายุมีสาเหตุการเสียชีวิตด้วยโรคของทางเดินหายใจส่วนล่างเรื้อรังมากที่สุด รองลงมาได้แก่โรคไตวาย และ เนื้องอกร้ายที่หลอดคอ หลอดลมใหญ่และปอด ส่วนโรคที่เป็นสาเหตุการสูญเสียเนื่องจากการตายก่อนวัยอันควรของผู้สูงอายุในจังหวัดพะเยามากที่สุดได้แก่  โรคไตวาย รองลงมาได้แก่โรคของทางเดินหายใจส่วนล่างและเนื้องอกร้ายที่หลอดคอ หลอดลมใหญ่และปอด และเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูลผู้ป่วยใน พบว่าโรคที่เป็นสาเหตุการป่วยของผู้สูงอายุมากที่สุดได้แก่โรคความดันโลหิตสูง  รองลงมาได้แก่โรคไตวาย และ โรคของทางเดินหายใจส่วนเมื่อล่างเรื้อรัง เมื่อวิเคราะห์จากค่าน้ำหนักเฉลี่ยสัมพัทธ์พบว่า โรคที่มีผลรวมค่าน้ำหนักเฉลี่ยสัมพัทธ์มากได้แก่ โรคไตวาย รองลงมาได้แก่โรคความดันโลหิตสูง และโรคของทางเดินหายใจส่วนล่างเรื้อรัง ตามลำดับ

เมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดพะเยา พบว่าโรคที่เป็นปัญหา

 

สุขภาพที่สำคัญของผู้สูงอายุในจังหวัดพะเยาปีงบประมาณ 2558 ได้แก่โรคไตวาย โรคของทางเดินหายใจส่วนล่างเรื้อรัง และโรคความดันโลหิตสูง ทั้งนี้พบว่าโรคที่มีแนวโน้มเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในกลุ่มอายุที่เพิ่มขึ้น ได้แก่โรคของทางเดินหายใจส่วนล่างเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดในสมอง, ปอดบวม ส่วนโรคที่มีแนวโน้มลดลงได้แก่ โรคไตวาย, ความดันโลหิตสูง, เนื้องอกร้ายที่หลอดคอ หลอดลมใหญ่และปอด, เนื้องอกร้ายที่ตับและท่อน้ำดีในตับ, เบาหวาน และโรคของตับ

ข้อเสนอแนะจากการวิจัยคือเครือข่ายบริการสุขภาพควรมีการพิจารณาจัดทำแผนงานโครงการให้สอดคล้องกับปัญหาสุขภาพอย่างคลอบคลุม เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนมากที่สุด และสามารถจัดทำแผนงานโครงการในกลุ่มวัยอื่นๆในเบื้องต้นเพื่อลดปัญหาสุขภาพในระยะยาวซึ่ง   จะเกิดขึ้นในวัยสูงอายุ

 

References

1. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ. เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด; 2557.
2. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ. บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน); 2558.
3. สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. The Kingdom of Thailand health System Review. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข; 2558.
4. จันทร์เพ็ญ ชุประภาวรรณ. สุขภาพคนไทย ปี พ.ศ.2543: สถานะสุขภาพคนไทย. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน; 2543.
5. กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดและแนวทางการจัดเก็บข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2558. นนทบุรี. สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงกระทรวงสาธารณสุข; 2557.
6. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือการจัดกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมและค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2554.
7. สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย. การประเมินการบริหารจัดการการคลังเครือข่ายบริการปฐมภูมิ. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงกระทรวงสาธารณสุข; 2553.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/12/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ