การศึกษาปัจจัย สาเหตุและสถานการณ์การตายของมารดาในจังหวัดแม่ฮ่องสอน

ผู้แต่ง

  • วรวรรณ ถนอมเกียรติ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน

คำสำคัญ:

สถานการณ์การตายของมารดา, สาเหตุ, ปัจจัย

บทคัดย่อ

การศึกษาปัจจัย สาเหตุและสถานการณ์การตายของมารดาในจังหวัดแม่ฮ่องสอน              มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์การตายของมารดาในจังหวัดแม่ฮ่องสอน 2) เพื่อประเมินสาเหตุต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับมารดาตายเนื่องจากการตั้งครรภ์และคลอดในจังหวัดแม่ฮ่องสอนประชากรที่ศึกษาคือ มารดาตายทุกรายในจังหวัดแม่ฮ่องสอน  ปีงบประมาณ 2554 – 2558 การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research)      โดยศึกษาข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective review) จากรายงานการตายมารดาในช่วงปีงบประมาณ 2554 –2558 และศึกษาผลการประเมินคุณภาพห้องคลอดโรงพยาบาลตามเกณฑ์มาตรฐานของ  กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) ระเบียนรายงาน  แบบฟอร์ม ก-1 (ข้อมูลการตายของมารดาและทารกตายปริกำเนิด) 2) ระเบียนรายงานอนามัยแม่และเด็กจังหวัดแม่ฮ่องสอน (ข้อมูลสถานการณ์อนามัยแม่และเด็กของจังหวัดแม่องสอน)           3) แนวทางการประเมินห้องคลอดคุณภาพ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการรวบรวมรายงานข้อมูลย้อนหลัง จาก (1) รายงานการตายของมารดาและการตายของทารก (แบบ ก-1) (2) รายงานผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก ตามแบบรายงานอนามัยแม่และเด็กจังหวัดแม่ฮ่องสอน (3) ผลการประเมินคุณภาพห้องคลอดของทุกโรงพยาบาล จำนวน 7 แห่ง โดยใช้วิธีการประเมินคุณภาพ    ห้องคลอดแบบไขว้โรงพยาบาลในช่วงเดือน   เมษายน – มิถุนายน 2559

ผลการศึกษาพบว่า ตั้งแต่ปีงบประมาณ  2554 – 2558  จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีมารดาตายจากการตั้งครรภ์และคลอด รวมจำนวน 7 ราย หรือ เฉลี่ยปีละ 1.4  ราย คิดเป็นอัตราส่วนมารดาตาย

 

เท่ากับ  56.5, 51.15, 24.73, 0 และ 58.82  ตามลำดับ พื้นที่ที่พบว่ามีมารดาตายมากที่สุด  ได้แก่พื้นที่อำเภอเมือง และแม่สะเรียง ส่วนอำเภอปาย และอำเภอแม่ลาน้อย ไม่มีมารดาตาย สำหรับสาเหตุการตายของมารดาปี 2554 – 2558      ของจังหวัดแม่ฮ่องสอนพบว่าสาเหตุอันดับแรก   คือ การตกเลือดหลังคลอด คิดเป็นร้อยละ 57.14 (ของมารดาที่เสียชีวิตทั้งหมด) สาเหตุรองลงมาคือ การติดเชื้อ ร้อยละ 28.57 และ น้ำคร่ำอุดตันในหลอดเลือด (Amniotic fluid embolism) ร้อยละ 14.28 ช่วงระยะเวลาที่มารดาเสียชีวิตมากที่สุด คือ ช่วงระยะคลอด ร้อยละ 57.14 รองลงมา     คือระยะตั้งครรภ์ ร้อยละ 28.57 มารดาตั้งครรภ์และคลอดที่เสียชีวิตมักอยู่อาศัยในพื้นที่สูง ร้อยละ 71.43 รองลงมาคือ ประชากรต่างด้าวที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้หนีภัยจากการสู้รบ หรืออยู่ในพื้นที่รอยต่อเขตระหว่างจังหวัดแม่ฮ่องสอนกับประเทศสหภาพเมียนม่า ร้อยละ 28.57 อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่พบในด้านครอบครัว ชุมชนและการคมนาคม       ก็ยังเป็นประเด็นสำคัญอาทิ ความใส่ใจของครอบครัว การมีระบบส่งต่อที่ดีในชุมชน ตลอดจนการตัดสินใจมารับการคลอดที่โรงพยาบาลอย่างทันท่วงที เพื่อลดปัญหาการตายจากการคลอดที่บ้านอันเนื่องมาจากการส่งต่อล่าช้าจากสภาพความลำบากของภูมิประเทศพื้นที่สูง

สำหรับในส่วนของผลการประเมิน        ห้องคลอดคุณภาพพบว่า ทุกโรงพยาบาลมีระบบสำรองเลือด แต่จำนวนเลือดมีไม่ครบตามเกณฑ์ขั้นต่ำที่จังหวัดกำหนด โรงพยาบาลชุมชนมีห้องผ่าตัดปราศจากเชื้อ มีเครื่องมือผ่าตัดครบถ้วน ทั้งการผ่าตัดคลอดและตัดมดลูกแต่ในทางปฏิบัติไม่สามารถผ่าตัดคลอดได้ เนื่องจากไม่มีแพทย์เฉพาะทาง แม้ว่าจะมีทีมบุคลากรที่สามารถช่วยกู้ชีพมารดาและทารกได้ สำหรับการบันทึกข้อมูลตามแบบฟอร์มมาตรฐาน Admission record พบว่า บันทึกไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน รพ. ส่วนใหญ่ให้การบริการถูกต้องตาม Checklist guideline      ห้องคลอดคุณภาพ มีการป้องกันและรักษาภาวะการตกเลือดหลังคลอดตามมาตรการของ เขตสุขภาพที่ 1 มีระบบการส่งต่อมารดาที่เกิดภาวะแทรกซ้อนได้อย่างปลอดภัยมีการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลนำมาใช้ประโยชน์

 

References

1. คณะกรรมการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กระดับพื้นที่เครือข่ายบริการที่ 1. แนวทางปฏิบัติทางสูติศาสตร์และกุมารเวชศาสตร์: 2557.
2. น้ำผึ้ง กลิ่นด้วง. การศึกษาข้อมูลการตายมารดาและทารกปริกำเนิดในเขตสาธารณสุขที่ 4และ 5 ปี 2554. ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, 2554.
3. สุธิต คุณประดิษฐ์. การตกเลือดหลังคลอด. เชียงใหม่: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2550.
4. สุธิต คุณประดิษฐ์. เอกสารประกอบการนำเสนอในการประชุมคณะกรรมการพัฒนางานอนามัยแม่ และเด็ก เขตสุขภาพที่ 1 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2559
5. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. สรุปสถิติที่สำคัญ. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกระทรวงสาธารณสุข, กรุงเทพฯ : 2556.
6. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. ยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดและแนวทางการจัดเก็บข้อมูล กระทรวง สาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558. กระทรวงสาธารณสุข, กรุงเทพฯ: 2558.
7. สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. การตายของมารดาประเทศไทย. กระทรวงสาธารณสุข.กรุงเทพฯ: 2549.
8. Confidential enquiries into maternal deaths in Thailand: 1-39. World Health Organization (WHO). 2014.
9. Trends in Maternal Mortality: 1990 to 2013 Estimates by WHO, UNICEF, UNFPA, The World Bank and the United Nations Population Division.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/12/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ