ผลสำรวจการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในเครือข่ายบริการที่ 1 ปีงบประมาณ 2557

ผู้แต่ง

  • อำภา ทองประเสริฐ สำนักงานเขตสุขภาพที่ 1 เชียงใหม่
  • กิ่งพิกุล ชำนาญคง ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ปี  2557 ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างประชาชนทุกกลุ่มวัยของเครือข่ายบริการสุขภาพที่ 1 จำนวน 6,271 เครื่องมือที่ใช้ในการสอบถามการได้รับบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยใช้ แบบสอบถามสตรีที่มีลูกแรกเกิด – 12 เดือน, แบบประเมินการเจริญเติบโตของเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี, แบบสอบถามนักเรียนอายุ 6-12 ปี, แบบสอบถามนักเรียนมัธยมศึกษา และ แบบสอบถามประชาชนอายุ 10 ปีขึ้นไป ผลการสำรวจพบว่า ตัวชี้วัดสำคัญในแต่ละกลุ่มวัย จำนวน 22 ตัวชี้วัด เมื่อเทียบกับเกณฑ์หรือเป้าหมายแล้ว มีผลการดำเนินงานต่ำหรือไม่เป็นไปตามเป้าหมายจำนวน 11 ได้แก่ กลุ่มอนามัยแม่และเด็ก 4 ตัวชี้วัด ดังนี้ หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีนร้อยละ 67.7  (เกณฑ์ร้อยละ 100), ทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 9 (เกณฑ์ร้อยละ 7), แม่วัยรุ่นอายุน้อยกว่า 20 ปี 167 ต่อพันประชากร(เป้าหมายไม่เกิน 50 ต่อพัน), ทารกแรกเกิด – 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียวร้อยละ 43.2 (เกณฑ์ร้อยละ50), กลุ่มวัยเรียนและวัยรุ่น คือ นักเรียน ป. 1 – 6 มีส่วนสูงดีและรูปร่างสมส่วนร้อยละ 73.96 (เกณฑ์ร้อยละ 80), แม่วัยรุ่นอายุน้อยกว่า 20 ปี เท่ากับ 167 ต่อพันประชากร(เป้าหมายไม่เกิน 50 ต่อพัน) กลุ่มวัยทำงานและวัยเจริญพันธุ์  2 ตัวชี้วัด  ดังนี้  การคัดกรองโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยการเฝ้าระวังในกลุ่มประชาชนอายุ 10 - 19 ปี ได้รับการคัดกรองเบาหวานร้อยละ 18.1 (เกณฑ์ร้อยละ 90) ได้รับการคัดกรองความดันโลหิตสูงร้อยละ 39.5 (เกณฑ์ร้อยละ 90), การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก        ร้อยละ 58.6 (เกณฑ์ร้อยละ 80) และการตรวจ

 

มะเร็งเต้านมด้วยตนเองร้อยละ 55.2 (เกณฑ์ร้อยละ 80), กลุ่มวัยผู้สูงอายุ พบว่า มีการหกล้มในช่วงเวลากลางวัน ร้อยละ 15.3  ส่วนใหญ่หกล้มในบ้านสูงถึงร้อยละ 93.8

จากผลการสำรวจพบว่าการดำเนินงานด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคต้องได้รับการพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คือ1) การพัฒนาระบบการจัดการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและจัดสรรงบประมาณสอดคล้องกับกิจกรรมในระดับชุมชนให้มีประสิทธิภาพ       2) พัฒนาศักยภาพของแกนนำชุมชนและ อาสาสมัครสาธารณสุข ให้เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนงานโดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับการจ่ายค่าตอบแทนรายกิจกรรมของสำนักงานหลักประกันสุขภาพ 3) พัฒนาศักยภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลซึ่งเป็นกลไกภาครัฐให้สามารถจัดบริการที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง 4) พัฒนาระบบบริการปรึกษาแก่วัยรุ่นในระดับชุมชนร่วมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและโรงเรียน  พัฒนากลยุทธการสื่อสารความเสี่ยงโรคมะเร็งในกลุ่มสตรีวัยเจริญพันธุ์ และ 5) พัฒนากลยุทธการดูแลผู้สูงอายุในช่วงเวลากลางวันเพื่อป้องกันการหกล้ม โดยจัดระบบการดูแลช่วยเหลือในช่วงเวลากลางวัน 6) พัฒนาคุณภาพบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 7) พัฒนาระบบการเชื่อมโยงฐานข้อมูลการให้บริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเชิงรุกอย่างเป็นระบบ เพื่อสามารถทราบความครอบคลุมการบริการ  

References

1. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการประเมินการบรรลุวิสัยทัศน์กรมอนามัย ปี 2555.
2. กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัด และแนวทางการจัดเก็บข้อมูล กระทรวงสาธารณสุข.
3. สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือรายละเอียดตัวชี้วัดการดำเนินงานพัฒนาสุขภาพ ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการกระทรวงสาธารณสุข ปี 2556.
4. สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ ก้าวใหม่ของการบริหารจัดการสุขภาพ.
5. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปาก ระดับประเทศ ครั้งที่ 7 ประเทศไทย พ.ศ. 2555.
6. ภิศักดิ์ เลิศเรืองปัญญา และคณะ. การเฝ้าระวังโรคขาดสารไอโอดีนในปัสสาวะของหญิงตั้งครรภ์ในเขตภาคเหนือตอนบน ปี 2553.
7. ลินดา สิริภูบาล และ สุภาณี แก้วพินิจ, สถานะสุขภาพผู้สูงอายุเขต 17. 2552.
8. มนัญญา รัตนภิรมย์ และคณะ. การเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุเพื่อป้องกันการหกล้ม. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่, 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/06/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ