ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดฟันผุในเด็กวัย 21 – 30 เดือน

ผู้แต่ง

  • ทิพาพร เสถียรศักดิ์พงศ์ กลุ่มพัฒนาความร่วมมือทันตสาธารณสุข ระหว่างประเทศ

คำสำคัญ:

ฟันผุ เด็กปฐมวัย พฤติกรรม

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับค่าโอกาสการเกิดฟันผุของเด็กอายุ 21 ถึง 30 เดือน เป็นการศึกษาแบบตัดขวาง ประชากรที่ศึกษา ได้แก่กลุ่มแม่และเด็กอายุ      21-30 เดือน ที่ไปรับบริการในคลินิกเด็กดีของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่ 24 ตำบล ใน 5 จังหวัดได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ สุรินทร์ และตรัง แต่ละจังหวัดคัดเลือกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตามความสมัครใจ ผลการศึกษา พบความสัมพันธ์ของการศึกษามารดาและบิดา กับการเกิดฟันผุของเด็ก โดยเด็กที่มารดาหรือบิดามีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีค่าโอกาสการเกิดฟันผุน้อยกว่าเด็กที่มารดาหรือบิดามีการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี  ด้านปัจจัยการเลี้ยงดู พบว่าเด็กที่แม่เป็นผู้เลี้ยงดูหลัก เด็กที่มาจากครอบครัวไม่สูบบุหรี่ มีพฤติกรรมกินนมจืด ดูดน้ำตามหลังดื่มนม และเด็กที่กินผักผลไม้เป็นประจำ มีค่าโอกาสเกิดฟันผุน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) และเด็กที่ได้รับการแปรงฟันอย่างน้อย 4 ครั้งใน 1 สัปดาห์ และใช้ยาสีฟัน มีโอกาสเกิดฟันผุน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กที่ไม่ได้มีพฤติกรรมดังกล่าว 

 

References

1. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 ประเทศไทย พ.ศ.2555. พิมพ์ครั้งที่ 1. ม.ป.ท.: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ;2556.
2. Ohsuka K, Chino N, et al. Analysis of risk factors for dental caries in infants: a comparison between urban and rural areas. Environ Health Prev Med 2009; 14(2): 103-10.
3. WK. Seow. Environmental, maternal, and child factors which contribute to early childhood caries: a unifying conceptual model. nt J Paediatr Dent 2012; 22(3): 157-68.
4. Majorana A, Cagetti MG, Bardellini E, Amadori F, Conti G, Strohmenger L, Campus G. Feeding and smoking habits as cumulative risk factors for early childhood caries in toddlers, after adjustment for several behavioral determinants: a retrospective study. BMC Pediatr 2014; 15: 14-45.
5. Hong L, Levy SM, Warren JJ, Broffitt B. Infant breast-feeding and childhood caries: a nine-year study 2014. Pediatr Dent 2014; 36(4): 342-7.
6. Van Palenstein Helderman W.H., Soe W, van ’t Hof MA. Risk Factors of Early Childhood Caries in a Southeast Asian Population. J DENT RES 2006; 85: 85-88.
7. K Tanaka, Yoshihiro M; Satoshi S, Yoshio H. Infant Feeding Practices and Risk of Dental Caries in Japan: The Osaka Maternal and Child Health Study. Pediatric Dentistry 2013; 35 (3): 267-271(5)
8. Nobile C GA, Fortunato L, Bianco A, Pileggi C and Pavia M. Nobile (2014) Pattern and severity of early childhood caries in Southern Italy: a preschool-based cross-sectional study BMC Public Health 2016; 16: 520
9. Thitasomakul S, Piwat S, Thearmontree A, Chankanka O, Pithpornchaiyakul W, Madyusoh S. Risks for early childhood caries analyzed by negative binomial models. J Dent Res. 2009 Feb; 88(2): 137-41.
10. Thanakanjanaphakdee W and Trairatvorakul C. Effectiveness of Parental Toothbrushing Instruction toward The 1-Year Incremental DMF Rate of 9-18 Month Old Children. J Dent Assoc Thai 2010; 60(2): 82-91.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/06/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ