ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ผู้แต่ง

  • ธนาสิทธิ์ วิจิตราพันธ์ โรงพยาบาลสันป่าตอง

คำสำคัญ:

ภาระในการดูแลของผู้ดูแล,โรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

วิธีการวิจัย: รูปแบบการวิจัยเป็นแบบเชิงวิเคราะห์ cross-sectional study โดยทำการศึกษาในผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในเขตอำเภอสันป่าตอง จำนวน 55 คน และได้ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม

ผลการศึกษา: ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเลือดสมองที่ไม่มีภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วย 36.4% โดยมีคะแนนเฉลี่ย Zarit caregiver burden เท่ากับ 10.40 คะแนน ส่วนผู้ดูแลผู้ป่วยมีภาระในการดูแลน้อยถึงปานกลาง 45.5% โดยมีคะแนนเฉลี่ยZarit caregiver burden เท่ากับ 26.80 คะแนน และผู้ดูแลผู้ป่วยมีภาระในการดูแลปานกลางถึงมาก  18.2% โดยมีคะแนนเฉลี่ย Zarit caregiver burden เท่ากับ 45.10 คะแนน  โดยผู้ดูแลผู้ป่วยที่เข้าร่วมวิจัยในครั้งนี้ มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 56.45 ปี เป็น    เพศหญิงมากกว่าเพศชาย ส่วนใหญ่สถานะภาพสมรส  จบชั้นประถมศึกษา ประกอบอาชีพรับจ้าง  รายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 5,000 บาทและไม่มีโรคประจำตัว  ส่วนผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 67.44 ปี เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย การดูแลส่วนใหญ่ต้องใช้เวลาในการดูแลมากกว่า 8  ชั่วโมงต่อวัน   ระยะเวลาที่ได้ดูแลนานมากกว่า 5 ปี ความ สัมพันธ์ระหว่างผู้ดูแลกับผู้ป่วยดี การพึ่งพาต้องพึ่งพาปานกลาง และมีคนอื่นคอยร่วมดูแลผู้ป่วยร่วมด้วย

สรุป: ความชุกของภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองพบได้ 63.7 % ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้แก่ ระยะเวลาในการ

ดูแลต่อวัน และระยะเวลาที่ได้ดูแลผู้ป่วยมา (P<0.05)

 

References

1. 1.Price CA. Aging Families and Stress. In: Mckenry PC, Price SJ. Families and changes: Coping with stressful events and transition. 3rd ed. California: Sage Publication Inc; 2005:49-74.
2. Koizumi LS, et al, ed. The public health. In: 1998 health care almanac and yearbook. New York: Faulkner and Gray, 1998:263.
3. O' Brien J. Caring for caregivers. Am Fam Physician 2000; 62(12):2584-7.
4. Parks SM, Novielli KD. A practical guide to caring for caregivers. Am Fam Physician 2000; 62(12):2613-22.
5. Lynn J, Harrold J. Handbook for mortals. Guidance for people facing serious illness. New York: Oxford University Press; 1999:41-46.
6. E.McDonald D, Chritie-Seely J. Working with the elderly and their families. In: Chritie-Seely J, ed.Working with the family in primary care. Connecticut: Praeger; 1984:511-513.
7. Macmillan K, Peden J, Hopkinson J, Hycha D. A caregiver’s guide. The Military and Hospitaller Order of Saint Lazarus of Jerusalem and The Canadian Hospice Palliative Care Association.2004:9-14.
8. Jaracz K, Grabowska-Fudala B, Górna K, et al. Burden in caregivers of long-term stroke survivors: Prevalence and determinants at 6 months and 5 years after stroke. Patient Educ Couns. 2015 Aug;98(8):1011-6.
9. Ain QU, Dar NZ, Ahmad A, et al. Caregiver stress in stroke survivor: data from a tertiary care hospital -a cross sectional survey. BMC Psychol. 2014 Nov 20;2(1):49
10. Watanabe A, Fukuda M, Suzuki M, et al. Factors decreasing caregiver burden to allow patients with cerebrovascular disease to continue in long-term home care. J Stroke Cerebrovasc Dis. 2015 Feb;24(2):424-30.
11. Roopchand-Martin S , Creary-Yan S. Level of Caregiver Burden in Jamaican Stroke Caregivers and Relationship between Selected Sociodemographic Variables. West Indian Med J. 2014 Jul 3; 63(6):605-9.
12. Gbiri CA, Olawale OA, Isaac SO. Stroke management: Informal caregivers' burdens and strians of caring for stroke survivors. Ann Phys Rehabil Med. 2015 Apr; 58(2):98-103.
13. Tomoko M , Andrea S, Hitoshi A. Caregiver burden and health‐related quality of life among Japanese stroke caregivers. Age and Ageing. 2003; 32 (2):218-223.
14. Limpawattana P, Intarasattakul N, Chindaprasirt J, et al. Perceived Burden of Thai Caregivers for Older Adults After Stroke. Clinical Gerontologist .2015; 38(1):19-31.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/06/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ