การใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมทักษะการเลือกบริโภคอาหาร ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • กนกพรรณ เทอดพิทักษ์พงษ์ ภาควิชาการส่งเสริมสุขภาพ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม /ส่งเสริมทักษะการเลือกบริโภคอาหาร

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่องการใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมทักษะการเลือกบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ผลการดำเนินการจัดกิจกรรมและ 2) ผลการจัดกิจกรรมโดยการใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมทักษะการเลือกบริโภคอาหาร เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/8 โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่  คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple  Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยเครื่องมือที่ใช้ในวิจัยคือ ชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการเลือกบริโภคอาหารจำนวน 6 กิจกรรม และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสังเกตการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม แบบสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างและแบบสอบถามความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตัวในการเลือกบริโภคอาหาร

ผลการศึกษาด้านความรู้เรื่องการเลือกบริโภคอาหารสำหรับเด็ก ในภาพรวม พบว่ามีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เรื่องการบริโภคอาหารก่อนการเรียนเท่ากับ 0.46 หลังเรียนเท่ากับ 0.83 โดยที่ ความรู้เรื่องการบริโภคอาหารหลังเรียนมากกว่าก่อนเรียนแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001

ผลการศึกษาเจตคติเกี่ยวกับการเลือกบริโภคอาหาร ในภาพรวม พบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติ ก่อนเรียนเท่ากับ 1.82 หลังเรียนเท่ากับ 2.30 โดยที่ เจตคติเกี่ยวกับเลือก

บริโภคอาหารหลังเรียนมากกว่าก่อนเรียนแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001

ผลการศึกษาการปฏิบัติตัวในเลือกบริโภคอาหารในภาพรวม พบว่า การปฏิบัติตัวของกลุ่มตัวอย่างในการเลือกบริโภคอาหาร มีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติตัวก่อนเรียนเท่ากับ 1.91 หลังเรียนเท่ากับ 2.92 โดยที่ การปฏิบัติตัว ของกลุ่มตัวอย่างในเลือกบริโภคอาหารหลังเรียนมากกว่าก่อนเรียนแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001

 

References

1. สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาขั้นปฐมศึกษา. (2542). การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในเด็กชั้นปฐมวัย. กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ.
2. นวลอนงค์ บุญจรูญศิลป์.(2546). พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของวัยรุ่นไทย และพัฒนาโปรแกรมการป้องกัน: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, หน้า 12
3. พิมลพรรณ บุญยะเสนา และ สุขุม พันธุ์ณรงค์. (2553). การส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของเด็กวัยเรียน. วารสารการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48 : สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. หน้า 133
4. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่[สสจ.].(2553).(ระบบออนไลน์)แหล่งข้อมูลมาจากhttp://www.chiangmaihealth.com/secm/admin/core/album/wget/list.php.29
5. สุจิตต์ สาลีพันธ์ และ สง่า ดามาพงศ์. (2544). แนวทางการบริโภคอาหารสำหรับบุคคลวัยต่างๆ. เอกสารหมายเลขที่2 กองโภชนาการ หน้า 20-22.
6. สุชา จันทน์เอม. (2540). จิตวิทยาพัฒนาการ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช
7. พวงเพ็ญ อินทรประวัติ. (2546). รูปแบบการสอน. โครงการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตสงขลา
8. ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2542). หลักการสอนเด็กวัยเรียน และ ทฤษฎีประยุกต์. มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ
9. จินตนา สรายุทธพิทักษ์. (2545). การสอนสุขศึกษา. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 56-70
10. เกียรติสุดา ศรีสุข. (2549). หลักการวิจัยเบื้องต้น. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. หน้า 18
11. วิเชียร เกตุสิงห์. (2548). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. คณะครุศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กรุงเทพฯ หน้า 21
12. อุรัชชา สัจจาพงศ์. (2552). การใช้กิจกรรมทักษะชีวิตในการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษา เขตเทศบาล จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการส่งเสริมสุขภาพ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. หน้า 32.
13. กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2549) ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (รพส). หน้า 34
14. กิดานันท์ มลิทอง. (2549). การเรียนรู้เรื่องผักและผลไม้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาสุขศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
15. กรมวิชาการ.กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). รายงานการสำรวจการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เสริมทักษะในเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์คุรุสภา
16. นันทวัน สุชาโต. (2547). โภชนาการก้าวหน้า. การประชุมวิชาการโภชนาการ. สถาบันวิจัยโภชนาการ โรงพยาบาลรามาธิบดี. มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ
17. ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เลขา. (2549). พัฒนาการการเติบโตของเด็ก. กรุงเทพฯ. ธนาเพรส. หน้า 7-10
18. กำไลทิพย์ ระน้อย. (2543). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการงดสูบบุรี่ของนักเรียนชาย วิทยาลัยพลศึกษากรุงเทพ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาเอกสุขศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
19. ศรีรัตน์ พินธุ.(2539). การประยุกต์ทฤษฎีความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคขนมขบเคี้ยวของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดมูลจินดาราม จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาสุขศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/06/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ