การส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงวัยรุ่นตั้งครรภ์แรก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ ปี 2555
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองในหญิงวัยรุ่นตั้งครรภ์แรก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือหญิงวัยรุ่นตั้งครรภ์แรก ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 14-28 สัปดาห์ ที่มาใช้บริการคลินิกวัยรุ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยคือ กิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม 5 กิจกรรม
ผลการวิจัยพบว่า
- 1. ด้านรูปแบบการมีส่วนร่วม การดูแลตนเองของหญิงวัยรุ่นตั้งครรภ์แรก 6 ด้าน มีพฤติกรรมดังนี้
1.1 ด้านการรับผิดชอบต่อสุขภาพ ให้ความสนใจในการร่วมรับฟังการดูแลตนเอง
1.2 ด้านโภชนาการ ร่วมให้ความความคิดเห็น สรุปปัญหา ที่เกิดขึ้นในเรื่องโภชนาการ
1.3 ด้านการทำกิจกรรมและการออกกำลังกาย มีการร่วมกันฝึกบริหารร่างกาย ขณะตั้งครรภ์ได้อย่างถูกต้อง
1.4 ด้านการจัดการกับความเครียด ร่วมพูดคุยหาสาเหตุและหาทางแก้ไข วิธีการคลายความเครียดของตนเอง
1.5 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มีสัมพันธภาพที่ดีกับครอบครัวและบุคคลใกล้ชิด
1.6 ด้านการพัฒนาทางจิตวิญญาณ มีการยอมรับและการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคมที่เกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์
- 2. ด้านพฤติกรรมการดูแลตนเอง หลังเข้าร่วมกิจกรรมมีพฤติกรรมการดูแลตนเองดีขึ้น
References
2. คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา. (2554). รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. (เอกสารอัดสำเนา)
3. เกสร เหล่าอรรคะและคณะ. การคุมกำเนิดของ วัยรุ่นที่มารับบริการที่หน่วยวางแผนครอบครัว โรงพยาบาลศรีนครินทร์. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2554; 34(3): 40-7.
4. พูลสุข ศิริพูล, พิมภา สุตรา, ดารุณี จงอุดมการณ์ และสุพัฒนา ศักดิษฐานนท์. การอบรมเลี้ยงดูเด็กวัยรุ่นในครอบครัวอีสาน. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2553; 33(4): 50-60.
5. Hodgkinson SC, Colantuoni E, Roberts D, Berg-Cross L, Horolyn ME. (2010). Depressive symptoms and birth outcomes among pregnancy teenagers. J Pediatr Adolesc Gynecol, 23(1): 16-22.
6. Nirattcharadorn M, Germaro S, Vorapongsathora, T, Sitthimongkol, Y. (2005) .Self-esteem, Social support, and Depression in Thai adolescent mother.Thai J Nurs Res , 9(1): 63-75. Retrived December 26, 2551, from http://www.backtohome.org/autopagev4/show page.php?topic_id
7. Setse R, Grogan R, Pham L, et al. Longitudinal study of depressive symptoms and health-related quality of life (HRQoL) in pregnancy. MCN, 2009; 13(5): 577-87.
8. Mercus SM. Depression during pregnancy: Rate, risks and consequence. Can J Clin Pharmacot, 2009; 16(1): e15-e22.
9. Nanert R. Expression in pregnancy may affect child’s behavior. Teen society for research in child development. 2010.
10. Solchany J. Prevention perinatal depression. Northwest Bulletin: Fam nd Child health, 2007; 21(2): 1- 15.
11. จิราพร คำรอด. การพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มารับบริการในแผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลอินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี[วิทยานิพนธ์ ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี. 2549.
12. สุทน เพ็ชรรัตน์. ผลของการพยาบาลเพื่อส่งเสริมโภชนาการต่อพฤติกรรมส่งเสริมโภชนาการและภาวะโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์พาหะธาลัสซีเมียชนิดอี[วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาตรมหาบัณฑิต]. สาขาการพยาบาลมารดาและทารกแรกเกิด มหาวิทยาลัยมหิดล. 2551.
13. มณีรัตน์ ศรีมาน้อย. ผลของการให้คำปรึกษาทางสุขภาพต่อความวิตกกังวลและความสามารถในการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมีย[วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาตรมหาบัณฑิต]. สาขาการพยาบาลมารดาและทารกแรกเกิด มหาวิทยาลัยมหิดล. 2552.
14. บุษบา อนุศักดิ์. ผลของการใช้โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพที่มีต่อพฤติกรรมสุขภาพของแรงงานหญิงตั้งครรภ์ในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ[วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2545.
15. ช่อผกา จั่นประดับ. ผลลัพธ์ของโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มต่อพฤติกรรมการปรับตัวของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น[วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน มหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2554.
16. กาญจนา ศรีสวัสดิ์. ผลของการให้ความรู้และการฝึกผ่อนคลายต่อความเครียดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น[วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาการผดุงครรภ์ขั้นสูง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2554.