การสำรวจพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีไทยอายุ 30–70 ปี ในเขตสุขภาพที่ 1
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล มะเร็งเต้านมเป็นโรคที่มีอุบัติการณ์ป่วยและตายอยู่ในอันดับต้นๆ เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ถ้าพบในระยะเริ่มต้น (Early Stage) การตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้องเป็นประจำจะทำให้ทราบถึงสภาพที่ปกติของเต้านมการศึกษาการสำรวจพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีอายุ 30-70 ปี ในเครือข่ายบริการสุขภาพที่ 1 มี วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีไทย อายุ 30-70 ปี และศึกษาประสิทธิผลการถ่ายทอดความรู้และทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองขอบเขตการวิจัย ประชากรที่ศึกษาคือสตรีอายุ 30-70 ปีในเครือข่ายบริการสุขภาพที่ 1ระเบียบวิธีวิจัย สุ่มโดยการเลือกอย่างง่ายประชากรกลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีอายุ 30-70 ปีจังหวัดลำปางและน่านจังหวัดๆละ 206 ราย รวม 412 ราย เครื่องมือที่ใช้ศึกษาคือ แบบสอบถามพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองที่สอบถามในประเด็นประวัติการเจ็บป่วยของบุคคลในครอบครัว,ประวัติความผิดปกติของเต้านม สถานการณ์มีประจำเดือน,ความรู้และประสบการณ์การตรวจเต้านมด้วยตนเองในช่วง1ปีที่ผ่านมา,ทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง,ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมและทักษะการตรวจเต้านมอย่างถูกต้องวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยบรรยายเชิงพรรณนาและ ทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้ Fisher Exact test
สรุปผลการวิจัย สตรีไทยอายุ 30-70 ปีส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 80มีการตรวจเต้านมด้วยตนเองโดยมีการตรวจอย่างสม่ำเสมอถึงร้อยละ70 ในสตรีที่ยังไม่หมดประจำเดือนมีการตรวจในช่วงเวลาที่ถูกต้องมากกว่ากว่าสตรีที่หมด ประจำเดือน.แต่มีเพียงร้อยละ 26 เท่านั้นที่มีทักษะการตรวจที่ถูกต้อง ส่วนตัวแปรที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านม คือ ระดับการศึกษา และการได้รับความรู้เรื่องมะเร็งเต้านมตัวแปร ที่ส่งผลต่อความสม่ำเสมอในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง คือ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ตัวแปรที่ส่งผลต่อทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้อง คือ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และการได้รับความรู้ข่าวสารเรื่องมะเร็งเต้านม ควรมีการให้ความรู้เรื่องการตรวจเต้านม โดยเฉพาะในกลุ่มสตรีช่วงอายุ 30-35ปี และ 60-70 ปีเป็นพิเศษโดยเน้นในกลุ่มสตรีที่ประกอบอาชีพอิสระ/ ธุรกิจ/ ลูกจ้าง หรือกลุ่มที่มีการศึกษาน้อย และควรเน้นทักษะในการตรวจและช่วงเวลาของการตรวจ ควรเพิ่มการพัฒนาทักษะด้านการสารและถ่ายทอดความรู้ของอาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อสามารถถ่ายทอดความรู้อย่างถูกต้องแก่สตรีกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่
References
2. สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย รายงานการวิจัยการสำรวจตรวจเต้านมด้วยตนเองของบุคลากรสาธารณสุขในประเทศไทยปี 2546 สำนักส่งเสริมสุขภาพ. กรมอนามัย กรุงเทพ. 46
3. กระทรวงสาธารณสุข.,(2547) แผนแม่บทการเฝ้าระวังและดูแลสตรีไทยจากโรคมะเร็งเต้านม (พ.ศ.2547-2549) กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี
4. สำนักส่งเสริมสุขภาพ (2545). คู่มือบุคลากรสาธารณสุข โครงการตรวจเต้านมด้วยตนเองและดูแลสตรีไทยจากโรคมะเร็งเต้านม. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี.
5. สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพสตรีในการดูแลและป้องกันโรคมะเร็งเต้านมปี 2545. สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กรุงเทพ.45
6. S. Pongnikorn, N. Martin, W. Pornruangwong, K. Doaprasert, (2004) Cancer Incidence and Mortality in Lampang, Thailand. Lampang Cancer Center. Ministry of Public Health, Bangkok. 1998-2002