ภาวะสุขภาพบุคลากรและการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2556

ผู้แต่ง

  • วิภาพร เตชะสรพัศ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่
  • กัลยา อุรัจนานนท์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่
  • ธนัฐพงษ์ กาละนิโย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่
  • วรุณยุพา หนันต๊ะ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ภาวะสุขภาพบุคลากร เปรียบเทียบคะแนนความรู้ก่อนและหลังการให้ความรู้เพื่อควบคุมน้ำหนัก   การรับรู้ประโยชน์ รับรู้อุปสรรคและพฤติกรรม   เพื่อควบคุมน้ำหนัก ผลของการเข้าร่วมชมรมออกกำลังกายของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่โดย 1) ศึกษาจากข้อมูลการตรวจสุขภาพประจำปีของบุคลากร 2) อบรมให้ความรู้แก่บุคลากรเพื่อควบคุมน้ำหนัก 3) ศึกษาการรับรู้ประโยชน์ อุปสรรค พฤติกรรมเพื่อควบคุมน้ำหนัก 4) ประเมินผลการเข้าชมรมออกกำลังกาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired samples t-test ผลการศึกษาพบว่า 1) ภาวะสุขภาพบุคลากรบุคลากรปี 2556 จากการตรวจสุขภาพประจำปีพบว่าบุคลากรเพศหญิงมีรอบเอวปกติ (≤ 80 cm.) ร้อยละ 58.1 เพศชายมีรอบเอวปกติ (≤ 90 cm.)ร้อยละ 87.5 ดัชนีมวลกาย อยู่ในช่วง 23-29.9 kg./m.2 ร้อยละ 46.5 ความดันโลหิตปกติ ≤120/80mmHg) ร้อยละ 54.5 ไตรกลีเซอไรด์ปกติ (<150 mg/dl) ร้อยละ 71.6 น้ำตาลในเลือดปกติ (<100 mg/dl) ร้อยละ 75.2 ยกเว้น โคเลสเตอรอลสูงมาก (>240 mmHg) ร้อยละ 42.9 2) ผลการอบรมความรู้แก่บุคลากรเพื่อควบคุมน้ำหนักผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ผลการศึกษาการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค และพฤติกรรมเพื่อควบคุมน้ำหนัก พบว่าบุคลากรมีการรับรู้ประโยชน์การปฏิบัติตนเพื่อควบคุมน้ำหนักอยู่ในระดับสูง       ร้อยละ 61.3 การรับรู้อุปสรรคการปฏิบัติตนเพื่อควบคุมน้ำหนักอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 62.4

 

พฤติกรรมเพื่อควบ คุมน้ำหนักอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 59 4) การประเมินผลการเข้าชมรมออกกำลังกายโดยการเปรียบเทียบรอบเอว น้ำหนักก่อนและหลังเข้าโครงการ 6 เดือน พบว่าค่าเฉลี่ยรอบเอวและน้ำหนักก่อนเข้าชมรมออกกำลังกายและหลังเข้าชมรมออกกำลังกายไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ สรุปและข้อเสนอแนะ การตรวจสุขภาพประจำปี การให้ความรู้เพื่อควบคุมน้ำหนัก การจัดให้เข้าชมรมออกกำลังกาย เป็นการกระตุ้นให้บุคลากรดูแลตนเองต้องทำอย่างต่อเนื่องเพื่อสุขภาพที่ดีของบุคลากร

References

1. วณิชา กิจวรพัฒน์ . โรคอ้วนลงพุง ภัยเงียบที่คุณคาดไม่ถึง. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพ ฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2550.
2. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล . แผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย พศ.2554-2563. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2555] เข้าถึงได้จาก htt://bps.pos.moph.go.th/thlsp 2011-2020/index.thml.
3. ศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น.การศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ พิชิตอ้วน พิชิตพุง เจ้าหน้าที่ ศูนย์อนามัยที่ 6 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2555] เข้าถึงได้จาก203.157.71.148/Information/center/reserch%2054/camp54.pdf
4. นริศรา งามขจรวิวัฒน์ ,สุภาวลัย ผ่องใส. ผลการใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ feel Fit ต่อการเปลี่ยนแปลค่าดัชนีมวลกาย รอบเอว และรอบสะโพกของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลปัตตานี ปี 2550 .วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข.2551;3:100-108
5. เนสินี ไชยเอีย , นภาพร ครุสันธิ์ .การตรวจสุขภาพประจำปีจำเป็นหรือไม่ .วารสารอายุรศาสตร์อีสาน 2550;3:170-182.
6. กัลยา กิจบุญชู. ข้อแนะนำการออกกำลังกายสำหรับคนอ้วน.พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพ ฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ; 2554.
7. ATP III Guidelines At-A-Glance Quick Desk Reference [เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2556] เข้าถึงจากhttp://www.nhlbi.nih.gov/files/docs/guidelines/atglance.pdf.
8. หมอชาวบ้าน.กินอย่างไรเมื่อโคเลสเตอรอลสูง.[เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2556]. เข้าถึงจาก www.docter.or.th/article/ detail/6553.
9. Becker, M.H. (Eds). L.A. The health belief model and personal health behavior. Thorofare , NJ:C.B.Slack.1974.
10. .Pender,N.J. Health promotion in nursing practice (5 th ed) Norwark: Appleton & Lange.1996.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/06/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ