พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ตำบลดอยงาม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงซึ่งมีที่พักอาศัยอยู่ในเขตตำบลดอยงาม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ระหว่างวันที่ 1-31 ธันวาคม 2556 จำนวน 220 คน เลือกโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไปข้อมูลด้านสุขภาพ และแบบประเมินพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งสร้างขึ้นตามกรอบแนวคิดของเพนเดอร์ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาได้เท่ากับ 0.78 และหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า
พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างโดยรวม อยู่ในระดับสูง มีค่าเฉลี่ย 3.20 (SD = 0.68) และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพรายด้านอยู่ในระดับสูง 5 ด้านเรียงตามลำดับดังนี้ ด้านการดูแลสุขภาพทั่วไป มีค่าเฉลี่ย 3.66 (SD = 0.55) ด้านการพัฒนาจิตใจ มีค่าเฉลี่ย 3.49 (SD = 0.58) ด้านการจัดการกับความเครียด มีค่าเฉลี่ย 3.43 (SD = 0.66) ด้านสัมพันธภาพกับผู้อื่น มีค่าเฉลี่ย 3.28 (SD = 0.71) และด้านการออกกำลังกาย มีค่าเฉลี่ย 3.25 (SD = 0.66) ส่วนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 2.08 (SD = 0.91)
References
2. อรพินท์ กายโรจน์. (2542). ผลกระทบของการรับรู้สมรรถนะของตนเองและความคาดหวังผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นต่อการปฏิบัติด้านสุขภาพของหญิงวัยกลางคนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
3. พรทิพา ศุภราศรี. (2538). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู่ต่อภาวะสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัยมหิดล.
4. ธาริณี พังจุนันท์ และนิตยา พันธุเวทย์.ประเด็นสารรณรงค์ วันความดันโลหิตสูงโลก 2556. [ระบบออนไลน์] . แห่งที่มา htt://www.thaincd.com/document/file (6 มกราคม 2557)
5. กระทรวงสาธารณสุข. (2557). รายงานผลการคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตตาม“โครงการสนองน้ำพระราชหฤทัยในหลวง ทรงห่วงใยสุขภาพประชาชน” ปี 2554 [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา http://203.157.10.11/screen/sphp/reportncd1year54.php
6. สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3.(2556). ความดันโลหิตสูง. [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา http://region3.prd.go.th/showsearch_N.php.
7. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอยงาม. (2556). สรุปผลงานประจำปี 2556. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอยงาม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย.
8. กมลพรรณ หอมนาน. (2539). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การรับรู้สมรรถนะในตนเองกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัยมหิดล.
9. สมทรง เค้าฝาย. (2541). ผลการเตรียมมารดาต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดและพฤติกรรมการดูแลทารก. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลแม่และเด็ก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
10. กาญจนา ประสานปราน. (2535). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการดูแลตนเองกับพฤติกรรมการดูแลตนเองเกี่ยวกับการควบคุมอาหารในผู้ป่วยเบาหวาน.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.