การพัฒนาระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น : ONE STOP SERVICE โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เชียงใหม่
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการพัฒนาระบบบริการดูแลหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น: ONE STOP SERVICE โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เชียงใหม่ และศึกษาผลของการนำระบบ ที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น โดยมีกระบวนการดังนี้ 1) การศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาในการให้บริการ 2) การวางแผนการพัฒนาระบบ การนำไปทดลองใช้และปรับปรุง 3) การประเมินผลระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นอายุน้อยกว่า 20 ปี ที่มารับบริการฝากครรภ์ในหน่วยบริการวัยรุ่นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เชียงใหม่ จำนวน 41 ราย ได้รับการบริการฝากครรภ์ตามแนวทางที่กำหนดตั้งแต่ฝากครรภ์ครั้งแรกและได้รับคำปรึกษาแนะนำอย่างน้อย 3 ครั้ง มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 32 สัปดาห์ขึ้นไป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติจำนวน ร้อยละ
ผลการศึกษา พบว่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่มีการพัฒนาระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น ตามมาตรฐานบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน และให้บริการฝากครรภ์ตามคู่มือการดูแลผู้ตั้งครรภ์แนวใหม่ สังคม ในปี 2556 มีหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มารับบริการมีอายุระหว่าง 17-19 ปี ร้อยละ 75.6 เป็นหญิงตั้งครรภ์ที่ศึกษาระดับมัธยมศึกษาร้อยละ 75.6 และพบว่ามีการฝากครรภ์ ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ เพียงร้อยละ 29.3 น้อยกว่าเป้าหมายของกรมอนามัยที่กำหนดไว้ 60% เมื่อมารับบริการในคลินิกวัยรุ่น พบว่า หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นมีความพึงพอใจต่อขั้นตอนบริการร้อยละ 100, มั่นใจว่าผู้ให้คำปรึกษาสามารถเก็บข้อมูลเป็นความลับได้และสื่อการสอนที่ใช้มีความเหมาะสมร้อยละ 97.6 ส่วนพฤติกรรมการดูแลตนเองและการปฏิบัติตัว หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ดีโดยพบว่า การกินเนื้อสัตว์เป็นประจำร้อยละ 43.9 ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ร้อยละ 82.9 ไม่สวมรองเท้าส้นสูงร้อยละ 87.8 เดินเล่นออกกำลังกายเบาๆ ร้อยละ 53.6 การสังเกตการดิ้นของลูก/การนับลูกดิ้นเป็นประจำ ร้อยละ 68.3 มารดามีการคลอดปกติ จำนวน 26 ราย ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง จำนวน 6 ราย และคลอดที่อื่นตามสิทธิการรักษา (ไม่สามารถติดต่อได้)
จำนวน 9 ราย ทารกมีน้ำหนักแรกคลอด มากกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 100 ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาและเพื่อการนำไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ ควรให้ความสำคัญในการให้คำปรึกษาแนะนำการเฝ้าระวังและการติดตามการคลอด หลังคลอด การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การคุมกำเนิดและการวางแผนครอบครัว เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำก่อนอายุครบ 20 ปี
References
2. สถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็ก เขต 15-16 .การประชุมวิชาการงานอนามัยแม่และเด็กเขต พื้นที่เครือข่ายบริการที่ 1 พ.ศ. 2556.
3. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่. รายงานผลการดำเนินงานประจำปี พ.ศ. 2555.
4. สำนักอนามัยการเจริญพันธ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐาน บริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน. พิมพ์ครั้งที่ 1 .กรุงเทพ ฯ: มปท.: 2552.
5. นิตยา สินสุกใส, กอบกุล พันธ์เจริญวรกุล, จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2551 ; 1: หน้า 69-78.
6. ภิเศก ลุมพิกานนท์, ณรงค์ วินิยกุล, โฉมพิลาศ จงสมชัย.คู่มือปฏิบัติการดูแลผู้ตั้งครรภ์รายใหม่. เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง คลินิกฝากครรภ์การประชุมวิชาการงานอนามัยแม่และ เด็กระดับเขต ปี 2555.
7. ดร.เกสรา ศรีพิชญาการ และคณะ. รายงานการวิจัย การสร้างเสริมสุขภาพมารดาวัยรุ่น บิดา และ ทารกในสถานพยาบาล. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2555.
8. วราภรณ์ ประทุมนันท์. รูปแบบการบริหารทีมสุขภาพแบบสหสาขาวิชาชีพในการพัฒนาระบบบริการโดยมุ่งเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง.ศึกษากรณีโรงพยาบาลขอนแก่น.บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2545.
9. พิชานัน หนูวงษ์. ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งครรภ์และมีบุตรของหญิงอายุต่ำ กว่า 20 ปี. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก. 2550.
10. บุญฤทธิ์ สุขรัตน์ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น:นโยบาย แนวทางการดำเนินงาน และติดตามประเมินผล. 2557 โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. สำนักอนามัยการเจริญพันธ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
11. ยุพา พูนขำ,สมศักดิ์ สุทัศน์วรวุฒิ, รุจิรา วัฒนายิ่งเจริญชัย.การจัดบริการคลินิกวัยรุ่น. 2556 โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. สำนักอนามัยการเจริญพันธ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
12. รพีพรรณ วิบูลย์วัฒนกิจ. ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อการตั้งครรภ์และแบบแผนการดำ เนินชีวิตใน ระยะตั้งครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. วิทยาลัยพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์นครสวรรค์.2550.
13. อมรรัตน์ สว่างเกตุ, จิราภรณ์ อนุชา, อฤญชยา จูบ้ง .การสนับสนุนทางสังคมจากสามีกับการเลี้ยงดู บุตรของมารดาหลังคลอด. เอกสารการประชุมวิชาการคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2551 ครั้งที่ 19 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น พี เพรส กทม.