การศึกษาเรื่อง วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความคิดฆ่าตัวตาย ของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ จังหวัดพะเยา
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความคิดฆ่าตัวตายในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความคิดฆ่าตัวตายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ จังหวัดพะเยา โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ที่รับทราบผลการตรวจเลือดหรือได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อเอชไอวีหรือโรคเอดส์ ที่มารับบริการรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่ศูนย์องค์รวมในโรงพยาบาลทุกแห่งของจังหวัดพะเยา จำนวน 450 คน ในช่วงพฤศจิกายน 2554 – มีนาคม 2555 และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย แบบประเมินข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป แบบประเมินสัมพันธภาพภายในครอบครัว แบบประเมินการเห็นคุณค่าในตัวเอง และแบบประเมินความคิดฆ่าตัวตาย เมื่อได้ข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ สำหรับ window ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และค่าร้อยละ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ปัจจัยด้านต่างๆกับความคิดฆ่าตัวตายของผู้ติดเชื้อ เอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ ใช้สถิติ T – Test ที่กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ (ค่า p = 0.01)
ผลการศึกษา พบว่า เป็นเพศชายร้อยละ 41.1 อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 35 – 39 ปีร้อยละ 32.2 จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 68.6 สถานภาพคู่ ร้อยละ 65.7 และสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวมีพอใช้แต่ไม่เหลือเก็บ ร้อยละ 42.1 ระยะเวลาที่ติดเชื้อ 4 - 5 ปี ร้อยละ 17.4 ติดเชื้อไม่มีอาการ ร้อยละ 47.6 อยู่ระหว่างการกินยาต้านไวรัส ร้อยละ 93.1 และระยะเวลาที่กินยาต้านไวรัส 4 - 5 ปี ร้อยละ 28.9 และกินยาสม่ำเสมอ ร้อยละ 95.0 พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์รักต่างเพศ ร้อยละ81.8 มีการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 65.0 ใช้สารเสพติด ร้อยละ 0.2 เข้ารับการรักษาด้านจิตเวช ร้อยละ 24.5 สมาชิกในครอบครัวมีประวัติการทำร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตาย ร้อยละ 5.8 ประวัติการทำร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตาย ร้อยละ 9.6 ซึ่งผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ที่มีประวัติการทำร้าย
ตนเองหรือฆ่าตัวตายเมื่อทราบว่าติดเชื้อใหม่ๆร้อยละ 76.7 และเคยทำร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตายเมื่อไม่ทราบว่าติดเชื้อ ร้อยละ 16.3 ระดับความคิดฆ่าตัวตายของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ อยู่ในระดับต่ำค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.82 (SD=5.20) กลุ่มที่ใช้สารเสพติดมีค่าเฉลี่ยความคิดฆ่าตัวตายสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ใช้สารเสพติด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.029 การมีโรคหรืออาการทางจิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.029 และอายุ สัมพันธภาพในครอบครัว การเห็นคุณค่าในตนเอง มีความสัมพันธ์กับความคิดฆ่าตัวตายของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.005 0.000 และ 0.000 ตามลำดับ
References
2. อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม. การป้องกันการฆ่าตัวตาย : ยุทธศาสตร์ของประเทศเพื่อคุณภาพชีวิตคนไทย เอกสารประกอบการสัมมนาการป้องกันการฆ่าตัวตาย : ประสบการณ์ของประเทศไทยและต่างประเทศ. เชียงใหม่ ; 2547.
3. World Health Organization : WHO. (2006)Mental Health retrieved march,2010.Available from:http://www.who.int management/schizophrenia/en.
4. อนุรักษ์ บัณฑิตย์ชาติ และคณะ. ระบาดวิทยาของความผิดปกติทางจิตของประชาชนไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 4 (ตุลาคม – ธันวาคม 2544).
5. มาโนช หล่อตระกูล. การฆ่าตัวตาย การรักษา และการป้องกัน. โครงการตำรารามาธิบดีคณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล2553.
6. ศิริรัตน์ คุปติวุฒิ และ สิริเกียรติ ยันตดิลก. การพยายามฆ่าตัวตายและความคิดฆ่าตัวตายในผู้ป่วยสูงอายุ.วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 43 (มกราคม – มีนาคม 2541): 39 – 53.
7. ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล และ สุรสิงห์ วิศรุตรัตน์. ฆ่าตัวตายการสอบสวนหาสาเหตุและการป้องกัน. กรุงเทพมหานคร : พลัสเพรส ; 2541.
8. วารีณี โอภาสนันท์,ปิยพร ผดุงวงศ์ และ พัฒนาการ ผลศุภรักษ์. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายสำเร็จของประชากรในจังหวัดพะเยา ปี 2540. งานส่งเสริมสุขภาพและรักษาพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา; 2542.
9. กรมสุขภาพจิต ค. สุขภาพจิตไทย พ.ศ. 2543 – 2544. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ; 2544.
10. งานส่งเสริมสุขภาพและรักษาพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา. สรุปผลการดำเนินงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา ปีงบประมาณ 2551.
11. ธำรง สมบุญตนนท์ และคณะ. การฆ่าตัวตาย : เปรียบเทียบปัจจัยคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายในช่วงก่อนและระหว่างเศรษฐกิจ. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 8 (ตุลาคม 2542 – ธันวาคม 2543) : 1 – 7.