ผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานโดยกลุ่มบูรณาการ เพื่อตอบสนองต่อปัญหาเอดส์ในกลุ่มเป้าหมายเร่งรัด จังหวัดพะเยา
คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานเอดส์ กลุ่มบูรณาการ กลุ่มเป้าหมายเร่งรัดบทคัดย่อ
การศึกษาผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานโดยกลุ่มบูรณาการเพื่อตอบสนองต่อปัญหาเอดส์ในกลุ่มเป้าหมายเร่งรัด จังหวัดพะเยา มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานป้องกันแก้ไขปัญหาเอดส์ของจังหวัดพะเยาใน 9 กลุ่มเป้าหมายเร่งรัด ได้แก่ กลุ่มพนักงานหญิงบริการ กลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย กลุ่มผู้ต้องขัง กลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีด กลุ่มคู่ที่มีผลเลือดต่าง กลุ่มเยาวชน กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ และกลุ่มเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานเชิงปริมาณและคุณภาพ เก็บข้อมูลผลจากรายงานสถิติการตรวจหาผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่และผู้เสียชีวิตด้วยเอดส์ และจากกลุ่มตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน แกนนำกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรระหว่างประเทศ โดยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ และการใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติค่าร้อยละ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มบูรณาการที่ร่วมดำเนินงานมีทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน มีการแบ่งภาระหน้าที่ความรับผิดชอบไปตามความเชี่ยวชาญของแต่ละหน่วยงาน โดยหน่วยงานด้านสุขภาพของภาครัฐจะมีบทบาทในเชิงรับ อาทิ การให้บริการตรวจรักษา และให้การปรึกษา ส่วนองค์กรพัฒนาเอกชนมีบทบาทเชิงรุกในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เครือข่ายผู้ติดเชื้อมีบทบาทในการขอรับการสนับสนุนงบประมาณ โดยมีหน่วยงานระดับท้องถิ่นอื่นๆ ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ผลการดำเนินงานตามนโยบาย Getting to Zero พบว่าปีงบประมาณ 2555-2557 อัตราการติดเชื้อและการตายจากเอดส์ลดลงในเกือบทุกกลุ่มเป้าหมาย ยกเว้น กลุ่มชายรักชายและกลุ่มวัยรุ่นที่มีแนวโน้มติดเชื้อสูงขึ้น ส่วนการตีตราและเลือกปฏิบัติยังพบว่าการดำเนินงานยังมีความยากลำบากในการที่จะให้สังคมยอมรับ ปัญหาในการดำเนินงานเอดส์ คือขาดแคลนบุคลากรด้านสุขภาพทำให้ไม่สามารถดำเนินงานเชิงรุกได้ และความไม่ยั่งยืนของแหล่งทุน
ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะในการพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ โดยควรให้มีการจัดอบรมฟื้นฟูทักษะเฉพาะสำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของหน่วยงานต่างๆ ในท้องถิ่นเพื่อสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน และการสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์
References
2. รายงานสถานการณ์โรคเอดส์จังหวัดพะเยา.(2557) (อัดสำเนา).กันยายน ;1-6.
3. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.สรุปผลการดำเนินงานด้านการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี สำหรับผู้บริหาร ปีงบประมาณ2557, http//www.napdl.nhso.go.th/Napdownload(2557)
4. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา,(2556) สรุปผลการดำเนินงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา ปีงบประมาณ 2556 :14 – 15.,255 – 271
5. เสฏฐวุฒิ แก้ววิเศษ (2553). ประสิทธิผลการให้บริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ของโรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดพะเยา.[วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาการจัดการมหาบัณฑิต].นนทบุรีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ;2553
6. สุจิรา บรรจง(2555).การวิเคราะห์สถานการณ์การดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี ของแกนนำผู้ติดเชื้อเอชไอวี อำเภอปง จังหวัดพะเยา.[วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต].เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2555
7. อารีย์ ตันบรรจง(2553). การบริหารแบบบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ป้องกันเอดส์ในหน่วยงานภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น :กรณีศึกษาจังหวัดพะเยา.[ส่วนหนึ่งของการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารระดับสูง] .สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงานก.พ;2553