การศึกษาวิจัยรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนโดยวัดเป็นศูนย์กลาง ณ วัดห้วยเกี๋ยง ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • อุมาพร นิ่มตระกูล ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนโดยวัดเป็นศูนย์กลาง โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งคัดเลือกจากผู้สูงอายุ พระ กรรมการวัด เทศบาล ผู้นำชุมชน อสม. บุคลากรทางสาธารณสุขที่สามารถเข้าร่วมโครงการวิจัยตาม วัน เวลา และกิจกรรมที่กำหนดด้วยความตั้งใจ จำนวน  125 คน รวบรวมข้อมูลจากเครื่องมือได้แก่ แบบสำรวจข้อมูล แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก โครงการอบรมให้ความรู้ เครื่องมือประเมินสุขภาวะของผู้สูงอายุ เกณฑ์มาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวของกรมอนามัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า การศึกษารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนโดยวัดเป็นศูนย์กลาง เป็นรูปแบบที่เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา เริ่มตั้งแต่การสนทนากลุ่มและการใช้กระบวนการสร้างพลังอำนาจ (Empowerment) เพื่อระดมสมองหาปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ ปัญหาที่ได้จากการระดมสมองซึ่งได้แก่ ปัญหาทางกาย ปัญหาทางจิตใจ ปัญหาทางสังคมเศรษฐกิจ นำมาจัดลำดับความสำคัญของปัญหาของผู้สูงอายุ  เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุตามปัญหาดังกล่าว ความต้องการของผู้สูงอายุที่ได้ประกอบด้วยความต้องการความรู้ด้านสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ ความต้องการความรู้ด้านแนวคิดด้านการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม ผู้สูงอายุความต้องการความรู้ด้านโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ความต้องการความรู้ด้านการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะ สมต่อผู้สูงอายุ  ความต้องการความรู้ด้านการช่วยเหลือผู้สูงอายุเบื้องต้น ความต้องการความรู้ด้านการ การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ จากการเสริมสร้างความรู้ดังกล่าวพบว่าผู้เข้าร่วมวิจัยส่วนใหญ่ได้รับความ รู้มากถึงร้อยละ 71.20 เรื่องโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ รองลงมาคือความรู้เรื่องการจัดนันทนาการ การดูแลผู้สูงอายุอย่างมีความสุขและการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านอย่างละเท่าๆ กันคือ ร้อยละ 66.4 สำหรับการนำความรู้ไปช่วยเหลือตนเอง พบว่าผู้เข้าร่วมวิจัยส่วนใหญ่นำความรู้ไปช่วยเหลือตัวเองได้มากกว่าร้อยละ 80.0

 

นอกจากนี้จากการประเมินรับรองผลการดำเนินงานการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในตำบลหนองหาร  ตามเกณฑ์มาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวของกรมอนามัย พบว่ามีการดำเนินงานผ่านเกณฑ์ประเมินมาตรฐานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยาวครบตามองค์ประกอบ 6 ข้อ  คือ (1) มีข้อมูลผู้สูงอายุตามกลุ่มศักยภาพตามความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (Barthel Activities of Daily Living: ADL)          (2) มีชมรมผู้สูงอายุผ่านเกณฑ์ชมรมผู้สูงอายุคุณภาพ (3) มีอาสา สมัครดูแลผู้สูงอายุในชุมชน           (4) มีบริการการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้านที่มีคุณภาพ (Home Health Care) โดยบุคลากรสาธารณสุข  (5) มีบริการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในระดับตำบล (6) มีระบบการดูแลผู้สูงอายุ  2 กลุ่ม (กลุ่ม 2  ติดบ้าน และ กลุ่ม 3  ติดเตียง)ซึ่งกระบวนการศึกษารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนดังกล่าวดำเนินการขับเคลื่อนโดยวัดเป็นศูนย์ กลางในการเชื่อมโยงการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสำหรับข้อเสนอแนะการศึกษาวิจัยรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนโดยวัดเป็นศูนย์กลางครั้งนี้เน้น กระบวนการมีส่วนร่วมในชุมชนโดยอาศัยกระบวนการปฏิบัติงาน  ในพื้นที่ชุมชนโดยวัดเป็นศูนย์กลาง เริ่มตั้งแต่กระบวนการทำความเข้าใจระบบชุมชน  กระบวนการหาและการใช้ทุนทางสังคมของพื้นที่ กระบวนการขยายเครือข่ายในชุมชน และกระบวนการสนับสนุนและกระตุ้นให้ชุมชนเกิดกิจกรรมและมีกิจกรรมพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมจากชุมชนในการระดมสมองหาปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพเพื่อตอบสนองปัญหา ซึ่งถือว่าเป็นแนวทางการศึกษารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนโดยวัดเป็นศูนย์กลาง เพื่อขยายผลในการนำไปใช้และควรขยายเครือข่ายวัดต้นแบบศูนย์กลางการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนโดยผลักดันให้เป็นนโยบายของกระทรวงอย่างเป็นรูปธรรม และควรเน้นการบูรณาการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

References

1. รายงานการสำรวจประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2554.
2. สำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข, (2544). แผนงาน/โครงการที่ตอบสนอง นโยบาย.กระทรวงสาธารณสุข
3. ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์ และคณะ,(2550). การศึกษากลุ่มผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาในสถานสงเคราะห์คนชรา จังหวัดเชียงใหม่
4. รายงานสำรวจประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ,2550.
5. สถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ,(2552). ทิศทางการดูแลระยะยางสำหรับผู้สูงอายุไทย.
6. วิไลวรรณ ทองเจริญและลิวรรณ อนุนาภิรักษ์, (2543). วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ, 1 (4).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/05/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ