ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการลดลงของน้ำหนักทารกแรกเกิดที่กินนมแม่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พญ.ภคมน เชาว์ศิลป์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: การลดลงของน้ำหนักทารกแรกเกิดในช่วงสัปดาห์แรกของชีวิตเป็นภาวะปกติที่เกิดขึ้นได้ แต่ทารกที่มีน้ำหนักลดมากเกินไป (มากกว่าร้อยละ7) แสดงว่ามารดาและทารกอาจประสบปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และหากไม่ได้รับการช่วยเหลือที่ถูกต้องเหมาะสมก็อาจทำให้มารดาขาดความเชื่อมั่นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และเป็นสาเหตุให้มารดาตัดสินใจให้ทารกหย่านมแม่เร็วเกินไปได้

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของการลดลงของน้ำหนักทารกแรกเกิดและปัจจัยที่มีผลต่อการลดลงของน้ำหนักทารกแรกเกิดที่ได้รับนมแม่เป็นหลักในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่

วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบฟอร์มเก็บข้อมูลเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยในของทารกแรกเกิดทุกคนที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 37สัปดาห์ขึ้นไปและมีน้ำหนักตั้งแต่ 2,500 กรัมที่คลอดในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม2557 ถึง 31 กรกฎาคม 2557 วิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05

ผลการศึกษา : มีทารกที่เข้าได้กับเกณฑ์การคัดเลือกประชากรที่ศึกษารวมทั้งสิ้น 331 ราย เป็นทารกที่มีน้ำหนักลดสูงสุดมากกว่าร้อยละ 7 จำนวน 179 ราย (ร้อยล 54.1) โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักทารกในกลุ่มที่มีน้ำหนักลดมากกว่าร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับน้ำหนักแรกเกิดพบว่า การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง อายุมารดามากกว่า 30 ปีการมีภาวะลิ้นติดและการเกิด

ภาวะตัวเหลืองขณะอยู่ โรงพยาบาล มีความสัมพันธ์กับการลดลงของน้ำหนักทารกมากกว่าร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับน้ำหนักแรกเกิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในขณะที่ LATCH score ในวันที่ทารกน้ำหนักลดสูงสุดและการได้รับสารน้ำเสริมนอกเหนือจากนมแม่ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักทารกในกลุ่มที่มีน้ำหนักลดมากกว่าร้อยละ 7

สรุป: การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า มีความชุกของทารกที่มีน้ำหนักตัวลดลงมากกว่าร้อยละ 7 ในช่วงที่ทำการศึกษาค่อนข้างสูง   โดยปัจจัยที่มีผลต่อการลดลงของน้ำหนักทารกแรกเกิดมากกว่าร้อยละ 7 ได้แก่ การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง การมีภาวะลิ้นติด และการเกิดภาวะตัวเหลืองในโรงพยาบาล เป็นปัจจัยที่ต้องนำไปทบทวนเพื่อกำหนดแนวทางในการป้องกันไม่ให้ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักลดมากเกินไป ในขณะที่ปัจจัยด้านอายุมารดา (มากกว่า 30 ปี) อาจต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อหาความสัมพันธ์กับการลดลงของน้ำหนักทารกแรกเกิดต่อไป

References

1. Eidelman AI, Schanler RJ. American Academy of Pediatrics Section on Breastfeeding : breastfeeding and the use of human milk. Pediatrics 2012Feb27. [Epub ahead of print]
2. Dennis CL. The Breastfeeding Self-Efficacy Scale:Psychometric assessment of the short form. J ObstetGynecol Neonatal Nurs2003;32:734-44.
3. Dennis CL, Faux S. Development and psychometric testing of the Breastfeeding Self-Efficacy Scale.ResNurs Health1999;22: 399-409.
4. Kools EJ, Thijs C, Kester AD, et al. The motivational determinants of breast-feeding:Predictors for the continuation of breast-feeding. Prev Med2006;43:394-401.
5. Hill PD.The enigma of insufficient milk supply.MCN Am J Matern Child Nurs 1991;16:312-6.
6. กรรณิการ์ บางสายน้อย.Feeding at the breast and breastfeeding assessment.ใน: นิพรรณ วรมงคล, บรรณาธิการ. คู่มือการอบรมผู้เชี่ยวชาญการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2553.หน้า92-115.
7. รวีวรรณ นิวัตยะกุล. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการไหลของน้ำนมแม่. ใน:รวีวรรณ นิวัตยะกุล, บรรณาธิการ. การประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 1 “นมแม่...ทุนสมอง”;14-16ธันวาคม2548;โรงแรมมิราเคิลแกรนด์. กรุงเทพฯ:กรมอนามัย, 2548. หน้า 210-4.
8. จรวยพร ศรีศศลักษณ์, อภิญญา ตันทวีวงศ์.ยิ้มออกถ้วนหน้าเพราะR2Rหนุนนำ. ใน: ผู้ช่วยศาสตราจารย์จรวยพร ศรีศศลักษณ์, อภิญญา ตันทวีวงศ์, บรรณาธิการ. การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากงานประจำสู่งานวิจัย(RoutinetoResearch) R2R:เสริมพลังสร้างสรรค์และพัฒนา;2-3 กรกฎาคม 2551;โรงแรมมิราเคิลแกรนด์. กรุงเทพฯ:สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข,2551.หน้า101-22.
9. Davanzo R, Cannioto Z, Ronfani L, et.al. Breastfeeding and neonatal weight loss in healthy term infants. J Hum Lact2013; 29:45-53.
10. วรรณาพาหุวัฒนกร. แนวปฏิบัติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่มีปัญหาด้านแม่. ใน: กรรณิการ์ วิจิตรสุคนธ์, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม, นันทิยา วัฒนายุ, สุพินดา เรืองจิรัษเฐียร, สุดาภรณ์พยัคฆเรือง, บรรณาธิการ. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดพรี-วัน; 2556. หน้า 193-218.
11. มงคล เลาหเพ็ญแสง. ภาวะลิ้นติด. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ การพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ครั้งที่ 20 เรื่อง วิทยาการก้าวหน้าทางการพยาบาลเด็ก (Pediatric nursing update); 10-12 พฤษภาคม 2553; โรงแรมเรดิสัน. กรุงเทพฯ: ชมรมพยาบาลกุมารเวชศาสตร์แห่งประเทศไทย , 2553.
12. Taylor CJ, Walker J. Fluid and electrolyte management and nutritional support. In:Rickham PP, Lister J, Ivring IM, editors. Neonatal surgery.3rdedition.Stoneham, MA: Butterworth; 1990.p.37-41.
13. กรรณิการ์ วิจิตรสุคนธ์. บันได 10 ขั้นสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. ใน: กรรณิการ์ วิจิตรสุคนธ์, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม, นันทิยา วัฒนายุ, สุพินดา เรืองจิรัษเฐียร, สุดาภรณ์พยัคฆเรือง, บรรณาธิการ. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดพรี-วัน; 2556. หน้า 117-28

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/04/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ