โมเดลความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าและความคิดฆ่าตัวตายของวัยรุ่นในระดับอุดมศึกษา
คำสำคัญ:
ความคิดฆ่าตัวตาย, ภาวะซึมเศร้า , โมเดลความสัมพันธ์ , วัยรุ่นบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าและความคิดฆ่าตัวตายของวัยรุ่นในระดับอุดมศึกษา 2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลปัจจัยความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าและความคิดฆ่าตัวตาย 3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าและความคิดฆ่าตัวตายที่สร้างขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์
วัสดุและวิธีการ : การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสัมพันธ์ทำนาย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1,534 ราย ที่ได้จากการคัดเลือกแบบแบ่งชั้น เก็บข้อมูลใช้ชุดแบบสอบถาม ประกอบด้วย 7 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่สร้างความยุ่งยากใจ แบบสอบถามทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก แบบสอบถามความเครียด แบบสอบถามการครุ่นคิดและแบบสอบถามภาวะซึมเศร้า การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง
ผล : การครุ่นคิด เหตุการณ์ในชีวิตเชิงลบ ความเครียด การสนับสนุนทางสังคม และทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกมีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าและความคิดฆ่าตัวตายและสามารถร่วมกันทำนายภาวะซึมเศร้าได้ ร้อยละ 37.40 และความคิดฆ่าตัวตายได้ ร้อยละ 18.10 และโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าและความ คิดฆ่าตัวตายแสดงให้เห็นว่าการครุ่นคิด เหตุการณ์ในชีวิตเชิงลบ ความเครียด มีอิทธิพลทางบวกต่อภาวะซึมเศร้าและความคิดฆ่าตัวตาย ส่วนการสนับสนุนทางสังคมและทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกส่งผลต่อภาวะซึมเศร้าและความ คิดฆ่าตัวตายลดลง และโมเดลเชิงโครงสร้าง มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดังนี้ ค่าความเที่ยงของการวัดของตัวแปรแฝงทุกตัวอยู่ในเกณฑ์ดีมาก โดยมีค่าน้ำหนักตัวชี้วัด ของทุกตัวแปรเชิงประจักษ์เป็นบวกและอยู่ระหว่าง 0.757 - 0.920 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 รวมทั้งมีค่าเฉลี่ย Communality ประจำกลุ่มตัวแปรหรือ Average Variance Extract อยู่ระหว่าง 0.573 - 0.847 และ Composite reliability ของทุกตัวแปรแฝงมีค่าอยู่ระหว่าง 0.872 - 0.943 และ GOF = 0.449 แสดงว่า มาตรวัดมีความเชื่อถือได้และโมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี
สรุป : จากผลศึกษาดังกล่าวสามารถนำปัจจัยที่เกี่ยวข้องมาพัฒนาเป็นโปรแกรมการป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตายในวัยรุ่นในระดับอุดมศึกษาต่อไป
References
Rungsang B. Suicidal ideation among Thai adolescents: An empirical test of a causal model [Ph.D. thesis]. Chonburi: Burapha University; 2016.
Gibbs, D. Assessing suicidal cognitions in adolescents: Establishing the reliability and validity of the Suicide Cognitions Scale [Ph.D. thesis]. Toledo: University of Toledo; 2010.
Global Burden of Disease. Global, regional, and national incidence, prevalence, and years lived with disability for 310 diseases and injuries, 1990–2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015. The Lancet 2016; 388: 1545-602.
World Health Organization. Depression and other common mental disorders: global health estimates. World Health Organization; 2015.
Hawton K, Saunders KEA, O'Connor RC. Self-harm and suicide in adolescents. Lancet 2012; 379: 2373-82.
Bridge JA, Goldstein TR, Brent DA. Adolescent suicide and suicidal behavior. J Child Psychol Psychiatry 2006; 47: 372-94.
วิมลวรรณ ปัญญาว่อง, รัตนศักดิ์ สันติธาดากุล, โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ. ความชุกของภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงฆ่าตัวตายในวัยรุ่นไทย: การสำรวจโรงเรียนใน 13 เขตสุขภาพ. วารสารสถขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2563; 28(2): 136-149.
ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ. เผยนิสิตนักศึกษา 6.4% พยายามฆ่าตัวตาย [online]. Available from: https://dmh.go.th/ news-dmh/view.asp?id=29586 [10 มกราคม 2564].
สมบูรณ์ หทัยอยู่สุข, สุพร อภินันทเวช. การฆ่าตัวตายของวัยรุ่นในประเทศไทย: อุบัติการณ์สาเหตุและการป้องกัน. เวชบันทึกศิริราช 2563; 13(1): 40-7.
Liu X, Tein JY. Life events, psychopathology, and suicidal behavior in Chinese adolescent. J Affect Disord 2005; 86: 195-203.
Blagden JC, Craske MG. Effects of active and passive rumination and distraction: a pilot replication with anxious mood. J Anxiety Disord 1996; 10: 243-52.
Robinson J, Cox G, Malone A, Williamson M, Baldwin G, Fletcher K, O'brien M. A systematic review of school-based interventions aimed at preventing, treating, and responding to suicide-related behavior in young people. Crisis. CRISIS 2013; 34(3): 164.
Kuyken W, Watkins E, Holden E, Cook W. Rumination in adolescents at risk for depression. J Affect Disord 2006; 96: 39-47.
Nolen-Hoeksema S. The role of rumination in depressive disorders and mixed anxiety/depressive symptoms. J Abnorm Psychol 2000; 109(3): 504-11
Vongsirimas N, Sitthimongkol Y, Beeber SL, Wiratchai N, Sangon S. Relationship among maternal depressive symptoms, gender differences and depressive symptoms in Thai adolescents. Thai J Nurs Res 2009; 13(3): 181-98.
Smith MJ, Alloy, BL, Abramson YL. Cognitive vulnerability to depression, rumination, hopelessness, and suicidal ideation: Multiple pathways to self-injurious thinking. Suicide Life-Threat 2006; 36(4): 443- 54.
Wilks ES, Spivey AC. Resilience in undergraduate social work students: social support and adjustment to academic stress. Soc Work Edu 2010; 29(3): 276-288.
Skärsater I, Dencker K, Bergbom I, Häggström L, Fridlund B. Women’s conceptions of coping with major depression in daily life: a qualitative, salutogenic approach. Issues Ment Health Nurs 2003; 24(4): 419-39.
กาญจนา สุทธิเนียม. การพัฒนาทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกของนิสิตครูโดยการให้การปรึกษากลุ่ม. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2561; 32(1): 17-32.
Luthans F. Hope optimism and other business asset: why psychological capital is so valuable to your company. GMJ 2007; 1-5.
Qingquan P, Zongkui Z. Psychological capital, coping style and psychological health: An empirical study from college students (ICISE2009). Proceedings of the XLII SIS scientific meeting 2009; 1: 739-742.
อาภรณ์ ศรีชัย, จิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส, ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์. ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันในครอบครัวเหตุการณ์ในชีวิตเชิงลบ ความฉลาดทางอารมณ์ กับภาวะสุขภาพจิตของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2559; 24(4): 65-76.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9 กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2554.
Zimet GD, Dahlem NW, Zimet SG, Farley GK. The multidimensional scale of perceived social support. J Pers Assess 1988; 52: 30-41.
Maybery DJ. Incorporating interpersonal events within hassle measurement. Stress Health 2003; 19: 97-100.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แบบวัดความเครียด SPST [online]. Available from: http://www.dmh.go.th/test/ stress [20 กุมภาพันธ์ 2561].
Nolen-Hoeksema S. Responses to depression and their effects on the duration of depressive episodes. J Abnorm Psychol 1991; 100: 569-82.
Stuart, GW. Principles and practice of psychiatric nursing. 9th ed. St. Louis: Elsevier Mosby; 2009.
Rungsang B, Chaimongkol N. The Prevalence of suicidal ideation among high school students in Thailand and Its potential related risk factors. Thai J Pharm Sci 2017; 12(1): 31-35.
Chaniang S, Fongkaew W, Sethabouppha H, Lirtmunlikaporn S, Schepp KG. Perceptions of adolescents, teachers and parents towards causes and prevention of suicide in secondary school students in Chiang Mai. Pac Rim Int J Nurs Res 2019; 23(1): 47-60.
Rudd MD. Cognitive therapy for sociality: An integrative, comprehensive, and practical approach to conceptualization. J Contemp Psychother 2004; 34: 59-72.
กาญจนา สุทธิเนียม, อุบล สุทธิเนียม. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2563; 34(3), 43-61.
Dallas JC, Puapan S, Vatanasin D. Factors influencing mental health status among nursing students. JFONUBUU 2015; 23(3): 1-13.
Qingquan P, Zongkui Z. Psychological capital, coping style and psychological health: An empirical study from college students [online]. Available from: http://doi.ieee computersociety.org/10.1109/ICISE.2009.860 [2017 April 21].
Chonprai C, Phattrarayuttawat S, Ngamthipwatthana T. Psychological capital and mental health in students of Chulalongkom University’s residence. Graduate Research Conference. MMP 2014; 85: 1833-42.
Estiri M, Nargesian A, Dastpish F, Sharif S. The impact of psychological capital on mental health among Iranian nurses: considering the mediating role of job burnout. Springer Plus, 2016; 5: 1377.
Hao J, Wu D, Liu L, Li X, Wu H. Association between work-family conflict and depressive symptoms among Chinese female nurses: The mediating and moderating role of psychological capital. Int J Environ Res Public Health 2015; 12: 6682-99.
Liu L, Hu S, Wang L, Sui G, Ma L. Positive resources for combating depressive symptoms among Chinese male correctional officers: perceived organizational support and psychological capital. BMC Psychiatry 2013; 13: 89.
Kan D, Yu X. Occupational stress, work family conflict and depressive symptoms among Chinese bank employees: the role of psychological capital. Int J Environ Res Public Health 2016; 13: 134.
Evan E, Hawton K, Rodham K. Factors associated with suicidal phenomena in adolescents: A systematic review of population-based studies. Clin Psychol Rev 2004; 24(8): 957-79.
An H, Ahn JH, Bhang SY. The association of psychosocial and familial factor with adolescent suicidal ideation: A population-base study. Psychiatry Res 2010; 177(3): 318-22.
Chaniang S, Fongkaew W, Stone TE, Sethabouppha H, Lirtmunlikaporn S. Development and evaluation of a suicide prevention program for secondary school students. Pac Rim Int J Nurs Res 2019; 23(3): 201-213.
วารีรัตน์ ถาน้อย, อทิตยา พรชัยเกตุ โอว ยอง, ภาศิษฏา อ่อนดี. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.วารสารสภาการพยาบาล 2555; 27(ฉบับพิเศษ): 60-76.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา