ลักษณะของผู้ป่วยไร้บ้านที่รับการรักษาแบบผู้ป่วยในของสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

ผู้แต่ง

  • ธนียา วงศ์จงรุ่งเรือง สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • สุจิรา เนาวรัตน์ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • กฤตนัย แก้วยศ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยไร้บ้าน, ผู้ป่วยใน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาลักษณะของผู้ป่วยไร้บ้านที่รับการรักษาแบบผู้ป่วยในของสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

วัสดุและวิธีการ: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยไร้บ้านทุกรายที่มารับบริการแบบผู้ป่วยในของสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ที่มารับบริการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2560 – 31 ธันวาคม พ.ศ.2561 เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบเก็บข้อมูลทั่วไปและข้อมูลการรักษาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผล: พบว่าข้อมูลของผู้ป่วยไร้บ้านที่มารับบริการ ปี พ.ศ.2560 จำนวน 191 ราย และในปี พ.ศ.2561 จำนวน 70 ราย รวม 261 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพฯ ไม่มีโรคประจำตัวทางกาย ผู้นำส่งส่วนใหญ่ คือ ตำรวจ/ทหาร/เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง สถานที่พบส่วนใหญ่ คือ ที่สาธารณะ ส่วนใหญ่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภท และการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ส่วนใหญ่ญาติรับกลับบ้าน

สรุป: จากข้อมูลของผู้ป่วยไร้บ้านในเขตกรุงเทพมหานครที่มารับบริการแบบผู้ป่วยในในปี พ.ศ.2560 – พ.ศ.2561 จะสามารถเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อพัฒนาระบบการดูแลให้บริการด้านสุขภาพจิตและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยไร้บ้านให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

References

กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย.์ รายงานผลการสำรวจข้อมูลคนเร่ร่อนทั่วประเทศ ปี 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์; 2551.

Fischer SN, Shinn M, Shrout P, Tsemberis S. Homelessness, mental illness, and criminal activity: examining patterns over time. Am J Community Psychol 2008; 42(3-4): 251-65.

นิรมล รัตนะรัต. รายงานวิจัย เรื่อง โครงการพัฒนาระบบการดูแลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก้ผู้ป่วยไร้บ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ; 2560.

ชดาพิมพ์ เผ่าสวัสดิ์. สาระสำคัญในพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.2551. [online]. Available from: https://th.rajanukul.go.th/preview-3682.html [2019 Jul 1].

อนรรฆ พิทักษ์ธานิน. รายงานสถานการณ์ความไม่เป็นธรรม: คน(ทำไม)ไร้บ้าน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ; 2560.

Lauber C, Lay B, Rössler W. Homelessness among people with severe mental illness in Switzerland. Swiss Med Wkly 2005; 135: 50-6.

Lam CN, Arora S, Menchine M. Increased 30-day emergency department revisits among homeless patients with mental health conditions. West J Emerg Med 2016; 17(5): 607-12.

Abdul-Hamid WK, Bhan-Kotwal S, Kovvuri P, Stansfeld S. Homelessness and the length of stay in psychiatric wards. Int Arch Addict Res Med 2017; 3:024. doi.org/10.23937/2474-3631/1510024.

Latimer EA, Rabouin D, Cao Z, Ly A, Powell G, Aubry T, et al. Costs of services for homeless people with mental illness in 5 Canadian cities: a large prospective follow-up study. CMAJ open 2017; 5(3): 576-85.

Rezansoff SN, Moniruzzaman A, Fazel S, Procyshyn R, Somers JM. Adherence to antipsychotic medication among homeless adults in Vancouver, Canada: a 15-year retrospective cohort study. Soc Psychiatry Psychiatr Epidemiol 2016; 51(12): 1623-32.

Folsom DP, Hawthorne W, Lindamer L, Gilmer T, Bailey A, Golshan S, et al. Prevalence and risk factors for homelessness and utilization of mental health services among 10,340 patients with serious mental illness in a large public mental health system. Am J Psychiatry 2005; 162: 370-6.

Canadian Population Health Initiation of the Canadian Institute for Health Information. Mental Health, Mental Illness, and Homelessness in Canada. [online]. Available from: https://www.homelesshub.ca/sites/default/files/2.3%20CPHI%20Mental%20Health%20Mental%20Illness%20and%20Homelessness.pdf. [2019 Jul 1].

Lehman AF, Dixon LB, Kernan E, DeForge BR, Postrado LT. A Randomized trial of assertive community treatment for homeless persons with severe mental illness. Arch Gen Psychiatry 1997; 54: 1038-43.

Russolillo A, Moniruzzaman A, Parpouchi M, Currie LB, Somers JM. A 10-year retrospective analysis of hospital admissions and length of stay among a cohort of homeless adults in Vancouver, Canada. BMC Health Serv Res 2016; 16: 60.

สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. รายงานประจำปี 2560 สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. กรุงเทพฯ : สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา; 2560.

Hwang SW, Weaver J, Aubry T, Hoch JS. Hospital costs and length of stay among homeless patients admitted to medical, surgical, and psychiatric services. Med Care 2011; 49(4): 350-4.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-02

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ