ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาด้านจิตใจของผู้สูงอายุ 80 ปี ขึ้นไป ใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง

ผู้แต่ง

  • กิตติพร เนาว์สุวรรณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
  • นิศารัตน์ นรสิงห์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
  • ภาวดี เหมทานนท์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
  • จีรภา แก้วเขียว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

ปัญหาด้านจิตใจ, โรคเรื้อรัง, การรับรู้ภาวะสุขภาพ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาด้านจิตใจของผู้สูงอายุ 80 ปี ขึ้นไป ใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง

วัสดุและวิธีการ: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง คือผู้สูงอายุ 80 ปี ขึ้นไปใน 7 ในเขตจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง จำนวน 277 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามปัญหาด้านจิตใจ ด้านภาวะสุขภาพจิตใจ จำนวน 9 ข้อสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และสถิติทดสอบไคสแคว์

ผล: พบว่า การรับรู้ภาวะสุขภาพ และการมีโรคมีความสัมพันธ์กับปัญหาด้านจิตใจของผู้สูงอายุ 80ปี ขึ้นไป ใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001, .05 ตามลำดับ (c2= 24.715 และ 4.076 ตามลำดับ) ส่วนปัจจัยด้านการอาศัยอยู่ร่วมกัน และการมีผู้ดูแล ไม่มีความสัมพันธ์กับปัญหาด้านจิตใจ

สรุป: การรับรู้ภาวะสุขภาพ และการมีโรคมีความสัมพันธ์กับปัญหาด้านจิตใจของผู้สูงอายุ 80 ปี ขึ้นไปจึงควรมีการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุให้ความสำคัญกับการป้องกันโรคและการจัดการกับโรคเรื้อรัง รวมทั้งการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความเจ็บป่วย เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการรับรู้ภาวะสุขภาพตามความเป็นจริงและตระหนักถึงการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้องและต่อเนื่องเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาด้านจิตใจ

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2560. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ [14 กุมภาพันธ์ 2561].

ชมพูนุท พรหมภักดิ์. การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา; 2556.

World Health Organization. Mental health of older adults. [online]. Available from:https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/mental-health-ofolder-adults [2019 Aug 6].

Suwanmanee S, Nanthamongkolchai S, Munsawaengsub C, Taechaboonsermsak P. Factors influencing the mental health of the elderly in Songkhla, Thailand. J Med Assoc Thai 2012; 95(6): 8-15.

Nelson TD. Ageism: prejudice against our feared future self. J Soc Issues 2005; 61: 207-21.

Schoenberg NE, Lewis D. Cross-cultural ageism. In Palmore E, Branch L, Harris D, editors. The encyclopedia of ageism. Binghamton (NY): Haworth; 2005.

Börsch-Supan A. Labor market effects of population aging. Labour 2003; 17: 5-44.

ปรีชาชาญ แก้วนุ้ย. การผสมผสานทางวัฒนธรรมระว่างไทยพุทธกับไทยมุสลิมในเขตจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. สงขลา:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2556.

พงค์เทพ สุธีรวุฒิ, อมร รอดคล้าย, สุวัฒน์ วิริยพงศ์สุกิจ, สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ. วิกฤตของระบบสาธารณสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารระบบวิจัยสาธารณสุข 2550; 1: 145-55.

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, มาริสา สุวรรณราช. สภาพปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุในบริบทภาคใต้ตอนล่าง. รายงานการวิจัย (ทุนสนับสนุนการวิจัยจากสภาวิจัยแห่งชาติ); 2561.

สุทธนู ศรีไสย์. สถิติประยุกต์สำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.

สุรีย์พันธ์ วรพงศธร. การวิจัยทางสุขศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วิฑูรย์การพิมพ์, 2558.

French DJ, Sargent-Cox K, Luszcz MA. Correlates of subjective health across the aging lifespan: Understanding self-rated health in the oldest old. JAH 2012; 24:1449-69.

วิชาญ ชูรัตน์, โยธนิ แสวงดี, สุพาพร อรุณรักษ์สมบัติ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะเสี่ยงการมีปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ. วารสารประชากร 2555; 3: 87-109.

นวลจันทร์ เครือวาณิชกิจ, สมจิต นิปัทธหัตถพงศ์, ศิริพร นันทเสนีย์, เพลินตา พิพัฒน์สมบัติ, เทียมใจ ศิริวัฒนกุล, จิราพร เกสรสุวรรณ์. รายงานการวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ ตำบลโคกโคเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต; 2555.

Courtin E, Knapp M. Social isolation, loneliness and health in old age: a scoping review. Health Soc Care Community 2017; 25(3): 799-812.

Holt-Lunstad J, Smith TB, Baker M, Harris T, Stephenson D. Loneliness and social isolation as risk factors for mortality: A meta-analytic review. Perspect Psychol Sci 2015; 10(2): 227-37.

Gallo LC, de los Monteros KE, Shivpuri S. Socioeconomic Status and Health: What is the role of Reserve Capacity?. Curr Dir Psychol Sci 2009; 18(5): 269–74.

Gallo LC, Matthews KA. Understanding the association between socioeconomic status and physical health: Do negative emotions play a role?. Psychol Bull 2003; 129(1): 10-51.

Schöllgen I, Huxhold O, Schüz B, Tesch-Römer C. Resources for health: Differential effects of optimistic self-beliefs and social support according to socioeconomic status. Health Psychol 2011; 30: 326-35.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-02

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ