ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน
คำสำคัญ:
ความชุก, ภาวะเปราะบาง, ปัจจัย, ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชนบทคัดย่อ
ภาวะเปราะบางในผู้สูงอายุเป็นภาวะที่ควรให้ความสำคัญในการเริ่มต้นประเมินและคัดกรองอย่างเหมาะสมเพื่อให้การป้องกันและรักษาอย่างมีคุณภาพ วิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะเปราะบางและเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุในชุมชน จำแนกตาม อายุ เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา การมีโรคประจำตัว ดัชนีมวลกาย การใช้ยาหลายชนิด ภาวะโภชนาการ และความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน ในผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในชุมชน ตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา จำนวน 150 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการคัดกรองภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุไทย แบบประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล และแบบประเมิน FRAIL scale แบบประเมินผ่านการวิเคราะห์ความเชื่อมั่นของเครื่องมือ (reliability) ด้วยวิธีการทดสอบซ้ำ (test-retest reliability) พบค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ .99, 1.00, .99 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแควร์ (Chi-square test) สถิติฟิชเชอร์ (Fisher's exact test) และสถิติทดสอบของเยทส์ (Yates’ Chi-square test)
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความชุกของการเกิดภาวะเปราะบาง ร้อยละ 10.00 และ ดัชนีมวลกาย ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน ภาวะโภชนาการ และอายุ มีความสัมพันธ์กับภาวะเปราะบาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (x2 = 10.205, p<.01; x2 = 35.972, p<.01; x2 = 5.435’ p<.05; x2 = 8.569, p<.05) ตามลำดับ การศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปพัฒนารูปแบบการคัดกรองและการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะเปราะบางได้โดยเน้นให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านอายุที่เพิ่มขึ้น ดัชนีมวลกายต่ำ มีปัญหาภาวะโภชนาการ และความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน
References
Arauna, D., Cerda, A., Garcia-Garcia, J. F., Wehinger, S., Castro, F., Mendez, D., Palomo, I. (2020). Polypharmacy Is associated with frailty, nutritional risk and chronic disease in Chilean older adults: Remarks from PIEI-ES Study. Clinical Interventions in Aging, 15, 1013-1022.
Bandeen-Roche, K., Seplaki, C. L., Huang, J., Buta, B., Kalyani, R. R., Varadhan, R., . . . Kasper, J. D. (2015). Frailty in Older Adults: A Nationally Representative Profile in the United States. The journals of gerontology. Series A, Biological sciences and medical sciences. 70(11), 1427-1434.
Boribun, N., Lerttrakarnnon, P., & Siviroj, P. (2017). Prevalence and associated factors of the frailty among community-dwelling elders in Sermngam district, Lampang province. Journal of Medicine and Health Sciences, 24(1), 45-54. (in Thai).
Chen, L.-J., Chen, C.-Y., Lue, B.-H., Tseng, M.-Y., & Wu, S.-C. (2014). Prevalence and Associated Factors of Frailty Among Elderly People in Taiwan. International Journal of Gerontology, 8(3), 114-119. doi:10.1016/j.ijge.2013.12.002
Department of older person.(2023a). Aging population statistics. Retrieved November 22, 2023, from https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/2449. (in Thai).
Department of older person.(2023b).Elderly care. Retrieved September 30, 2023, from https://www.dop.go.th/th/know/15/741. (in Thai).
Doody, P., Asamane, E. A., Aunger, J. A., Swales, B., Lord, J. M., Greig, C. A., & Whittaker, A. C. (2022). The prevalence of frailty and pre-frailty among geriatric hospital inpatients and its association with economic prosperity and healthcare expenditure: A systematic review and meta-analysis of 467,779 geriatric hospital inpatients. Ageing Research Reviews, 80, 101666. doi:10.1016/j.arr.2022.101666
Fried, L. P., Tangen, C. M., Walston, J., Newman, A. B., Hirsch, C., Gottdiener, J.,...McBurnie, M. A.; Cardiovascular Health Study Collaborative Research Group. (2001). Frailty in older adults: Evidence for a phenotype. The Journals of Gerontology, Series A: Biological Sciences and Medical Sciences, 56(3), M146–M156. doi:10.1093/gerona/56.3.m146
Gomes, C. D. S., Guerra, R. O., Wu, Y. Y., Barbosa, J. F. S., Gomez, F., Sousa, A., & Pirkle, C. M. (2018). Social and economic predictors of worse frailty status occurrence across selected countries in North and South America and Europe. Innovation in Aging, 2(3), 1-8 doi:10.1093/geroni/igy037
Guigoz, Y. (2006). The Mini Nutritional Assessment (MNA) review of the literature--What does it tell us?. Journal of Nutrition, Health and Aging, 10(6): 466-85.
He, B., Ma, Y., Wang, C., Jiang, M., Geng, C., Chang, X., Ma, B., Han, Lin. (2019). Prevalence and risk factors for frailty among community-dwelling older people in China: A systematic review and meta-analysis. The Journal of Nutrition, Health & Aging, 23(3): 1-9. doi:10.1007/s12603-019-1179-9
Hsu, H. C., & Chang, W. C. (2015). Trajectories of frailty and related factors of the older people in Taiwan. xperimental Aging Research, 41(1), 104-114. doi:10.1080/0361073X.2015.978219
Hwang, Y., & Hong, G. S. (2019). Predictors of subjective age in community-dwelling older adults in Korea. Geriatrics Nursing; 40(3):314–319.
Jaidee, S & Sasat, S. (2017). A study of frailty in older people resided in community, Bangkok. Royal Thai Navy Medical Journal, 44(3), 117-136. (in Thai).
Jenkins, N.D., Welstead, M., Stirland, L. et al. Frailty trajectories and associated factors in the years prior to death: evidence from 14 countries in the Survey of Health, Aging and Retirement in Europe. (2023). BMC Geriatrics, 23(49), 1-12. https://doi.org/10.1186/s12877-023-03736-1
Kulprateepunya, K., Nuangchaiyot, P., Kogluecha, P., Chaytaweep, K., Butsri, K., Detphon, G.,…, Klamngeo, K. (2021). Factors Affecting Frailty in The Elderly in Patum Sub-District Mueang District Ubon Ratchathani Province. Journal of Legal Entity Management and Local Innovation, 7(10), 183-194. (in Thai).
Li, Y., Liu, M., Miyawaki, C. E., Sun, X., Hou, T., Tang, S., & Szanton, S. L. (2021). Bidirectional relationship between subjective age and frailty: a prospective cohort study. BMC Geriatrics; 21(1):395, 1-9. doi: 10.1186/s12877-021-02344-1
Morarit, S., Taypa, K., Boonyod, W., & Siviroj, P. (2018). Frailty phenotype characteristics of Community-dwelling frail elderly people in a sub-district. Naresuan Phayao Journal, 11(2), 56-60. (in Thai).
National Health Security Office. Long term care handbook. Bangkok: National Health Security Office; 2016. (in Thai).
Netchan, P., Thato, R. & Sasat, S. (2019). Selected factors related to frailty older persona in public residential home. Journal of the Police Nurses, 11(1), 61-72. (in Thai).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด