ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน เขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • ธีรารัตน์ บุญกุณะ อาจารย์พยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน เขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ผู้ให้ข้อมูลเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและรับผิดชอบงานการดูแลผู้ป่วยวัณโรคจำนวน 20 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ร่วมกับการใช้แบบสอบถาม โดยแนวคำถามผ่านการตรวจสอบคุณภาพเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แบบวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis)

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ส่วนใหญ่จะพบในเพศชาย และพบในกลุ่มผู้สูงอายุ สาเหตุการป่วยเป็นวัณโรคเกี่ยวเนื่องกับพฤติกรรมสุขภาพ อาชีพ และสภาพที่อยู่อาศัย การดำเนินการโรควัณโรคของพยาบาลในชุมชน จะมุ่งเน้นการคัดกรองค้นหาผู้สัมผัส เมื่อพบผู้ป่วยจะส่งต่อเพื่อการรักษา และการติดตามเยี่ยมที่บ้าน นอกจากนี้ยังมีการให้ความรู้เกี่ยวกับโรควัณโรคแก่ประชาชนในชุมชน ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของพยาบาลด้านการดูแล ป้องกันโรควัณโรคในชุมชน มี 4 ประการ ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมของชุมชน 2) การทำงานเป็นทีมและการสร้างภาคีเครือข่ายและระบบในการเฝ้าระวังการเกิดผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน 3) การให้ความร่วมมือของผู้ป่วยวัณโรคและสมาชิกในครอบครัว และ 4) การใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้า และการเข้าถึงเทคโนโลยีเครื่องมือสื่อสารช่วยในการเฝ้าระวัง และการติดตามการรักษาผู้ป่วย ส่วนปัจจัยที่เป็นปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานได้แก่ 1) การขาดแคลนบุคลากรในการปฏิบัติงานในพื้นที่ 2) การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 3) กลุ่มผู้ป่วยวัณโรคเป็นวัยชราที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง อาศัยเพียงลำพัง ขาดผู้ดูแลพบปัญหาในการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง มีทำให้มีโอกาสเป็นวัณโรคดื้อยาสูง 4) การไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วยวัณโรคและสมาชิกในครอบครัว

         การสร้างเสริมศักยภาพของคนในชุมชนให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลผู้ป่วยวัณโรค การทำงานร่วมกับภาคเครือข่าย และการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัณโรคที่ถูกต้อง จะช่วยให้การปฏิบัติงานของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

Arunotong, S. (2023). Summary report of Ministry of Public Health inspection 1/2023. Retrieved

May 2023 from http://www.chiangmaihealth.go.th/document/ 230420168198492013.pdf. (In Thai).

Dherasariskul, P., Promdit, B., & Nawamawat, J. (2018). An Evaluation of Health Mission Transferred to Local Government Organizations in Regional Health 3. The Journal of Prapokklao Hospital Clinical Medical Education Center, 35(2): 203 – 213. (In Thai).

Division of Tuberculosis. (2018). National tuberculosis control program guideline, Thailand 2018. Bangkok Thailand: Division of Tuberculosis. Department of Disease Control. Ministry of Health. (In Thai)

Division of Tuberculosis. (2021). National tuberculosis control program guideline, Thailand 2021. (2ns ed.). Bangkok Thailand: Division of Tuberculosis. Department of Disease Control. Ministry of Health. (In Thai)

Division of Tuberculosis. (2021). Summary report TB situation and surveillance in Thailand. Retrieved March 15, 2022 from https://shorturl.at/rswQT. (In Thai)

Isara, S. & Kongtaln, O. (2020). Development of Practice Guideline Surveillance Prevention and Control for Tuberculosis: Sub-District Khon Kaen Municipality, Mueang District, Khon Kaen Province. Songklanagarind Journal of Nursing, 40(2): 148 – 162. (In Thai).

Kittichantharophat, C. (2019). Risk factor associated with death among new patients with pulmonary tuberculosis in Lampang province. Academic journal of community public health, 5(3): 74 – 82. (In Thai)

Ministry of Public Health. (2022). Healthkpi. Retrieved October 15, 2022 from http://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi/index2. (In Thai).

National Health Commission Office. (2009). The National Health System charter B.E. 2552. Retrieved 15 March, 2022 from https://www.nationalhealth.or.th/sites/default/files/upload_files/ hpp_tum_ebook58_08_07_397.pdf (In Thai).

Rattanasuwan, P. (2018). TB treatment: DOT vs. VOT. Journal of Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute, 12(1): 43 – 47. (In Thai).

Thirarattanasunthon, P., Sidae, S., Kongtuk, T., Mhadar, A., Wongrit, P., & Ruksanam, B. (2021). Factors associated with self-care behaviors among new pulmonary tuberculosis cases in Thasala hospital, Nakhon Si Thammarat province. Thai journal of public health and health sciences, 4(2): 138 – 147. (In Thai).

World health organization. (2020). Global tuberculosis report 2019. Retrieved October 7, 2020 from https://www.who.int/tb/publications/global_report/en/

World health organization. (2022). Global tuberculosis report 2022. Retrieved March 20, 2023 from https://www.who.int/publications/i/item/9789240061729

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-21

ฉบับ

บท

บทความวิจัย