การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยโควิด-19 Home Isolation ในคลินิก ARI ผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลวังเหนือ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • กาญจนา ใจดี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลวังเหนือ จังหวัดลำปาง
  • อาคม มีเมล์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลวังเหนือ จังหวัดลำปาง
  • ศิริลักษณ์ มีเมล์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลวังเหนือ จังหวัดลำปาง
  • วันเพ็ญ ทำว่อง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลวังเหนือ จังหวัดลำปาง

คำสำคัญ:

ระบบบริหารการพยาบาลผู้ป่วยโควิด-19 แบบ Home Isolation, คลินิกโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ARI

บทคัดย่อ

การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบรุนแรงหลายด้าน ทั้งระบบโครงสร้างและการบริการของโรงพยาบาล การบริหารจัดการอย่างเป็นระบบจะช่วยลดการแพร่กระจายและลดความรุนแรงของโรคได้ การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สถานการณ์การบริหารการพยาบาลผู้ป่วยโควิด-19 Home Isolation 2) พัฒนาระบบบริหารการพยาบาลผู้ป่วยโควิด-19 แบบ Home Isolationและ 3) ศึกษาผลลัพธ์การพัฒนาระบบบริหารการพยาบาลผู้ป่วยโควิด-19 แบบ Home Isolation โดยการพัฒนาระบบบริหารการพยาบาลผู้ป่วยโควิด-19 แบบ Home Isolation ในคลินิกโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ARI แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลวังเหนือ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ดำเนินการพัฒนาระบบโดยใช้กรอบแนวคิดการพัฒนา ADDIE model ได้แก่ ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ (Analysis),ระยะออกแบบและพัฒนา (Design and Development : D and D), การทดลองใช้ (Implementation : I), การประเมินผลและปรับปรุงระบบ (Evaluation : E) ศึกษาในช่วงมีนาคม- พฤษภาคม 2565 เครื่องมือวิจัยคือ ระบบบริหารการพยาบาลผู้ป่วยโควิด-19 แบบ Home Isolation ในคลินิกโรคติดเชื้อทางเดินหายใจโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ (Acute Respiratory Infection: ARI) แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลวังเหนือ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง และแบบประเมินผลลัพธ์ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยโควิด-19 แบบ Home Isolation แบบประเมินความคิดเห็นของพยาบาลผู้ใช้ระบบและแบบประเมินความพึงพอใจต่อการรับบริการของผู้ป่วยโควิด-19 แบบ Home Isolation สัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค 0.8, 0.82 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่าสถานการณ์โควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่มีการระบาดอย่างรวดเร็วในวงกว้างดังนั้นเพื่อหยุดยั้งและระงับการระบาดของโรคต้องใช้ความร่วมมือของทุกภาคส่วนโดยเฉพาะในด้านการพยาบาลในการใช้ระบบบริหารการพยาบาลผู้ป่วยโควิด-19 แบบ Home Isolation ซึ่งระบบประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 1) การพัฒนาบุคลากร 2) การจัดสิ่งสนับสนุน และ 3) การจัดบริการ ผลลัพธ์จากการจัดบริการระบบบริหารการพยาบาลผู้ป่วยโควิด-19 แบบ Home Isolation พบว่าผู้ป่วยได้รับบริการตามความเหมาะสมในระดับมากถึงมากที่สุด ส่วนใหญ่ได้รับบริการครอบคลุม 5 ประเด็น และส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการในระดับมากที่สุด ส่วนคุณภาพของการจัดบริการ คือไม่พบผู้ป่วยโควิด19 ที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลโดยไม่ได้วางแผน และไม่เกิดการติดเชื้อสะสมของบุคลากร มีการตรวจรักษาผู้ป่วยตามมาตรฐาน มีระบบป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไปสู่บุคลากร ชุมชน และสิ่งแวดล้อม

References

Department of Medical Sciences; Ministry of Public Health. (2020). Laboratory diagnosis of infectious disease coronavirus 2019 (COVID-19) SARS-CoV-2.; 2020. Retrieved March 25, 2022 from https://www3.dmsc.moph.go.th/post-view/700

Emergency Operations Center Department of Disease Control. (2021). Report on the situation of corona virus infection 2019. Retrieved March 20, 2022 from:https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no701-041264.pdf

Jnr, B. A. (2020). Use of telemedicine and virtual care for remote treatment in response to COVID-19 pandemic. Journal of medical systems, 44(7), 132.Juneam, N., Kasettath, M., Khunpradit, P., & Tansuwat, S. (2021). Management of the nursing service system Coronavirus disease 2019 (COVID-19) Lamphun Hospital. Journal of the Phrae Hospital, 29(1), 115-128. (in Thai).

Kruse, K. (2002). Introduction to instructional design and the ADDIE model. Retrieved January 10,2006, from www.e-learningguru.com/articles/art2_1.htm

Kumprasit, U. (2022). Development of Nursing Model during the COVID-19 Outbreaks : In-Patient Department, Nonthai Hospital. Regional Health Promotion Center 9 Journal. 16(1), 31-44.(in Thai)

Lester, P. E., Holahan, T., Siskind, D., & Healy, E. (2020). Policy recommendations regarding skilled nursing facility management of coronavirus 19 (COVID-19): lessons from New York state. Journal of the American Medical Directors Association, 21(7), 888-892.

Limparsert, K. (2022). Evaluation of Nursing Management for Patient Under Investigate and COVID-19 Patient,Samutsakhon Hospital. Region 4-5 Medical Journal. 41(2). 193–208. (in Thai)

Medina, M. G., Giovanella, L., Bousquat, A., Mendonça, M. H. M. D., & Aquino, R. (2020). Primary healthcare in times of COVID-19: what to do?. Cadernos de saude publica, 36, e00149720.

Ministry of Public Health. (2020). Public Health Practice Guidelines for Managing the COVID-19 Outbreak in the requirements issued under section 9 of the Royal Decree on PublicAdministration in Emergency Situations B.E. 2548, retrieved on 20 May 2020.from https://pidst.or.th/A816.html

Molenda, M. (2003). In search of the elusive ADDIE model. Performance improvement, 42(5), 34-37.

Pimsakka, R. (2021). Nursing management during the crisis of the COVID-19 Pandemic. Thai Journal of Nursing, 70(3), 64-71. (in Thai)

Sakarin, W. (2022). Development of Management Model on Food Safety Hospitals Management, Songkhla Province. Research and Development Health System Journal, 15(1), 226-240. (in Thai)

Sathira-Angkura, T., Leelawongs, S., Srisuthisak, S., Puttapitukpol, S., Yonchoho, N., & Jamsomboon, K. (2021). Development of Nursing Administration Model in the COVID-19 Outbreak Situation of Hospitals under the Ministry of Public Health. Journal of Health Science. 30(2), 320-333. (in Thai)

Siriphattrasophon, S. (2020). The COVID-19 Pandemic: Impacts on Thai Small and Mediums Enterprises and Strategies for Revival. Journal of the Association of Researchers, 25(2), 10-30. (in Thai)

Srisa-at, B. (2010). Preliminary research. Bangkok: Suwiriyasart,Sukontawat, W., Khoyun, S., Wongprakornkul, S., & Thoin, P. (2021). The Development of the flipped classroom model in teaching and learning of adults nursing subject related urinary system. Research and Development Health System Journal, 14(3), 140-151. (in Thai)

Thongngam, S., Pumool, S., & Ratanarat, R. (2020). Nursing care for patients with COVID-19 in the isolation unit, Siriraj Hospital. Siriraj Medical Bulletin, 13(3), 221-231. (in Thai)

Wang Nuea Hospital Information Center. (2021). Annual Report 2021. Lampang: Wang Nuea Hospital World Health Organization. (2022). WHO Coronavirus (CO–VID-19) Dashboard. Retrieved 2022 Oct 15 from: https://covid19.who.int/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย