การพัฒนารูปแบบการจัดการวัณโรคในเรือนจำกลางนครพนม โดยกระบวนการมีส่วนร่วม กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลนครพนม จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • ขวัญชัย ประเสริฐยิ่ง กลุ่มงานเวชกรรมสังคม กลุ่มภารกิจด้านบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลนครพนม

คำสำคัญ:

พัฒนารูปแบบ, วัณโรคในเรือนจำ, กระบวนการมีส่วนร่วม, ภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดการวัณโรคในเรือนจำให้เป็นไปตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในเรือนจำของกระทรวงสาธารณสุข โดยอาศัยการทำงานร่วมกันของผู้วิจัย ทีมสหวิชาชีพ เจ้าหน้าที่เรือนจำ และภาคีเครือข่าย ขั้นตอนการวิจัยมี 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาบริบท ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการจัดการวัณโรค ระยะที่ 3 การทดลองและศึกษาผลการทดลอง การวิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (content analysis)

          ผลการศึกษาสถานการณ์พบว่ามี 3 ประเด็นหลัก ที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินงานได้แก่ 1) รูปแบบการดำเนินงานวัณโรคที่ยังไม่เชื่อมโยงกันของหน่วยงาน 2) บทบาทผู้เกี่ยวข้องของผู้มีส่วนร่วมที่ยังไม่มีบทบาทที่ชัดเจน 3) ระบบรายงานข้อมูลและติดตามการรักษาที่ไม่ต่อเนื่อง จึงนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการจัดการวัณโรคในเรือนจำโดยใช้กรอบแนวคิด CIPP Model เกิดนวัตกรรมขึ้นมา 4 นวัตกรรม ได้แก่ 1) TB 4Screen Model  2) One-Stop Care Model 3) การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ 4) การจัดระบบส่งต่อและให้คำปรึกษา โดยผลการพัฒนารูปแบบพบว่าผู้ต้องขังได้รับการคัดกรองร้อยละ 100 โดยการ x-ray ผู้ป่วยได้รับการรักษาและขึ้นทะเบียนตามเกณฑ์ร้อยละ 100 ไม่พบอัตราการขาดยาภายหลังเข้ารับการรักษาวัณโรค ข้อเสนอแนะควรนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นขยายผลกำหนดเป็นแนวทางการดำเนินงานวัณโรคในเรือนจำของโรงพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดดำเนินงานควบคุมวัณโรคที่มีประสิทธิภาพมีความต่อเนื่องผ่านรูปแบบการขับเคลื่อนของคณะกรรมการควบคุมวัณโรคและเรือนจำที่ทำงาน

References

Achananupap S., (2008). General medical examination. Bangkok: Moh Chao Ban Publishing House

Achananupap S., (2017). Folk Doctor Foundation. Folk Doctor Foundation Magazine. Retrieved 4 August 2022, from: www.doctor.or.th.

Bureau of Tuberculosis. (2017). National Action Plan on Anti-Tuberculosis 2017-2021. Bangkok: Graphic and Design.

Bureau of Tuberculosis. (2018). TB Control Guidelines in Thailand 2018. Bangkok: Typography and Design.

Bureau of Tuberculosis. (2019). Guidelines for driving the TB work under the performanceagreement (PA) framework and the Ministry of Public Health inspection guidelines Fiscal Year 2019. Retrieved 30 January 2021 from: https://www.tbthailand.org/documents.html

Folk Doctor Foundation. (2020). Tuberculosis. See doctor dot com Retrieved 4 August 2022, from: www.pobpad.com.

Nirattisai P.(2022). The Situation of Tuberculosis of Inmates in Prison Mueang Lampang District, Lampang Province. Journal of Health Sciences Scholarship.9(1),194-206 (in Thai)

Sinthurawit S. & Pannarat W. (2012). The development of guidelines for tuberculosis control in the community of Wanon Niwat Hospital Sakon Nakhon Province. Journal of Nurses’ association of thailand, north-eastern division. 30(3),87-94 (in Thai)

Suwannalak W., (2017). Tuberculosis. (Tuberculosis). Retrieved 4 August 2022, from: https://er.educause.edu/-/media/files/article downloads/eqm0630.pdf

Mitpanon S., Radha R. & Sivina S.,(2020). Development of prevention and control schemes Tuberculosis for new cases of pulmonary tuberculosis and household contacts in Nong Phok District Health Network Roi Et Province. Journal of Medicine and Public Health.Ubon Ratchathani University. Vol. 3 No. 3 (2020) (in Thai)

Sinthurawit P. & Pannarat W.,(2022). Guidelines for TB control in the community of Wanonniwat Hospital. Sakon Nakhon Province. Journal of the Association of Nurses. Vol. 40 No. 2 (2020) (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย